ราชวงศ์เหงวียนปฏิบัติอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหว่างซาและเจื่องซา

( VOVworld )- ข้อมูลทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า อธิปไตยของเวียดนามเหนือทะเล เกาะแก่งและเขตดินแดนส่วนใหญ่ระบุใน Chau Banหรือหนังสือราชการและหนังสือชุดประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของราชวงศ์เหงวียนเช่น Dai Nam thuc luc  Kham dinh Viet su thong giam cuong muc และDai Nam nhat thong chi  กษัตริย์รางวงศ์เหงวียนองค์แล้วองค์เล่าได้มีแนวคิดที่เป็นเอกภาพเกี่ยวกับอธิปไตยเขตแดนและน่านน้ำทะเลจึงได้จัดทำระบบนโยบายเกี่ยวกับทะเลและเกาะแก่งตลอดจนการปฏิบัติอธิปไตยเหนือเกาะต่างๆที่อยู่ในอำนาจอธิปไตยรวมทั้งหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรสลี


( VOVworld )- ข้อมูลทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า อธิปไตยของเวียดนามเหนือทะเล เกาะแก่งและเขตดินแดนส่วนใหญ่ระบุใน Chau Banหรือหนังสือราชการและหนังสือชุดประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของราชวงศ์เหงวียนเช่น Dai Nam thuc luc  Kham dinh Viet su thong giam cuong muc และDai Nam nhat thong chi  โดยตระหนักถึงความสำคัญทั้งด้านการทหาร การคมนาคม การค้าและการใช้ประโยชน์จากแหล่งสัตว์น้ำต่างๆของทะเลและเกาะแก่ง กษัตริย์รางวงศ์เหงวียนองค์แล้วองค์เล่าได้มีแนวคิดที่เป็นเอกภาพเกี่ยวกับอธิปไตยเขตแดนและน่านน้ำทะเลจึงได้จัดทำระบบนโยบายเกี่ยวกับทะเลและเกาะแก่งตลอดจนการปฏิบัติอธิปไตยเหนือเกาะต่างๆที่อยู่ในอำนาจอธิปไตยรวมทั้งหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรสลี

ราชวงศ์เหงวียนปฏิบัติอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหว่างซาและเจื่องซา - ảnh 1
หนังสือDai Nam nhat thong chi  

ราชวงศ์เหงวียนตั้งแต่ปีค.ศ.๑๘๐๒-๑๙๔๕  แต่ก่อนหน้านั้น ๒๐๐ ปี คือตั้งแต่ปีค.ศ.๑๕๕๘ พระเจ้าเหงวียนองค์แล้วองค์เล่าเช่น พระเจ้าเหงวียนหว่าง เหงวียนฟุกเงวียน เหงวียนฟุกจูและเหงวียนฟุก

ถ่วนต่างได้บุกเบิกขยายพื้นที่ของประเทศให้กว้างออกไปจากเขตถ่วนฮว้าหรือภาคกลางตอนใต้ลงไปพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด และพื้นที่ทะเลและเกาะแก่งทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ   ต่อมาเมื่อเหงวียนแอ๊งขึ้นครองราชสมบัติของราชวงศ์เหงวียนเป็นพระองค์แรกและทรงพระฉายาว่ายาลองก็ได้สืบทอดจิตใจอดทนและพึ่งตนเองตลอดจนจิตใจแห่งบูรณภาพแห่งดินแดนและเขตแดนทะเลของพระเจ้าเหงวียนทุกองค์  พระองค์ยาลองทรงตระหนักว่า ความแข็งแกร่งของประเทศและพระราชบัลลังค์ต้องอาศัยการใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพย์สินจากทะเล  ศ.ดร.เหงวียนกวางหงอกจากสถาบันเวียดนามศึกษาและวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาเปิดเผยว่า  เมื่อขึ้นครองราชสมบัติ กษัตริย์ยาลองทรงสั่งให้รื้อฟื้นกองเรือหว่างซาและบั๊กห่ายเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบและตรวจตราบนทะเลอีกทั้งทำหน้าที่ด้านเศรษฐกิจและการค้าทางทะเลด้วย ศ.ดร.เหงวียนกวางงอกกล่าว  “ กษัตริย์ยาลองทรงประกาศยืนยันอธิปไตยของเวียดนามเหนือหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรสลี่ย์อย่างเข้มแข็ง  บรรดานักเผยแพร่ศาสนาพ่อค้าและผู้ที่เข้าใจสถานการณ์ในทะเลตะวันออกอย่างถ่องแท้สมัยนั้นได้เห็นว่า กษัตริย์ยาลองทรงปักธงหลักพรมแดนผืนแรกและไม่มีสองบนหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซล
ราชวงศ์เหงวียนปฏิบัติอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหว่างซาและเจื่องซา - ảnh 2
หนังสือเกี่ยวกับกองเรือหว่างซา

เมื่อพระมหากษัตริย์มินห์เหม่งขึ้นครองราชฯ ซึ่งเป็นพระองค์ที่สองของราชวงศ์เหงวียน ท่านได้มีการเคลื่อนไหวต่างๆมากขึ้นเพื่อยืนยันอธิปไตยของเวียดนามเหนือหมู่เกาะสองแห่งดังกล่าว  พระองค์ทรงสั่งให้หน่วยราชการไปหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลเพื่อทำการสำรวจ รังวัดและปักหลักพรมแดน ร.ศ.ดร.เหงวียนกงเหวียด รักษาการหัวหน้าสถาบันศึกษาวิจัยภาษาฮั่นนมเปิดเผยว่า  “ หนังสือChau Banหรือหนังสือราชการระบุชัดว่า หลักพรมแดนสูง ๕เมตรและกว้าง ๒๐ เซนติเมตร การปักหลักพรมแดนเพื่อยืนยันอธิปไตยของเวียดนามเหนือหมู่เกาะดังกล่าว การสำรวจและรังวัดเพื่อเขียนแผนที่และจัดตั้งหน่วยงานปกครองระดับท้องถิ่นและส่งชาวบ้านไปทำการประมง  ทั้งนี้แสดงให้เห็นการมองการณ์ไกลของราชวงศ์ศักดินาที่พัฒนารุ่งเรือง สมัยที่กษัตริ์ยมินห์เหม่งปกครองประเทศ ประเทศเวียดนามได้รับการขยายพื้นที่กว้างใหญ่ยิ่งกว่าราชวงศ์ใด้ทั้งสิ้น

ในหนังสือชุดChau Ban trieu Nguyen หรือหนังสือราชการชุดของราชวงศ์เหงวียนมีหนังสือราชการกว่า ๑๐ ฉบับของราชวงศ์มินห์เหม่งที่ระบุถึงการเคลื่อนไหวเพื่อยืนยันอธิปไตย โดยหนังสือราชการแผ่นหนึ่งที่กษัตริย์มินห์เหม่งได้ลงพระปรมาภิไธยระบุว่า ปีค.ศ.๑๘๓๐ เรือของฝรั่งเศสวิ่งผ่านพื้นที่ทะเลหว่างซาหรือพาราเซลและเกยตื้น และพระองค์มินห์เหม่งทรงสั่งให้ผู้ดูแลปากน้ำดานังทำการกู้ภัยและกู้ชีพจึงสามารถช่วยชีวิตและนำทรัพย์สินบนเรือกลับท่าเรืออย่างปลอดภัย ศ.ดร.เหงวียนกวางหงอกย้ำว่า  “ ทั้งนี้แสดงถึงความรับผิดชอบของพระองค์ในฐานะผู้กุมบังเหียนปกครองประเทศในการปฏิบัติอำนาจอธิปไตยของตนเหนือทะเลที่อยู่ภายใต้การควบคุมของท่าน”

นอกจากทรงสั่งปฏิบัติกิจกรรมกู้ภัย ช่วยชีวิตผู้ประสบภัย รังวัดและเขียนแผนที่ตลอดจนการรังวัดเส้นทางการเดินเรือด้วยพระองค์เองแล้ว กษัตริย์มินห์เหม่งยังทรงลงพระปรมาภิไธยกิจกรรมด้านจิตวิญญาณบนหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซล ศ.ดร.เหงวียนกวางหงอกเปิดเผยต่อไปว่า  “ ชาวบ้านที่โน่นประสบความยากลำบากและอันตรายมาก ท่านจึงทรงสั่งให้ตั้งศาลเจ้าเพื่อบูชาดวงวิญญาญของผู้ที่เสียชีวิต  แม้กระทั่งเรื่องเล็กๆน้อยๆเช่นการปลูกต้นไม้ท่านก็ให้ความดูแลด้วยการสั่งให้ปลูกต้นไม้เป็นสัญญาณให้เรือที่วิ่งผ่านจะมองเห็นจากไกลและสามารถหลีกเลี่ยงการถูกเกยตื้นได้  ท่านยังสั่งให้สร้างป้ายยืนยันอธิปไตย โดยสั่งให้คณะเอาแผ่นป้ายไม้ขนาดใหญ่ที่ระบุเกี่ยวกับข้อกำหนดของพระองค์นำไปยังหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซล

ราชวงศ์เหงวียนปฏิบัติอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหว่างซาและเจื่องซา - ảnh 3
หนังสือChau Banหรือหนังสือราชการของรางวงศ์เหงวียน

เมื่อกษัตริย์เถี่ยวจี่ขึ้นครองราชฯ ท่านยังจัดกิจกรรมต่างๆบนหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลอันเป็นการยืนยันอธิปไตย ท่านได้สั่งส่งกองเรือไปยังหมู่เกาะแห่งนี้  มาสมัยที่กษัตริย์ตื่อดึ๊กปกครองประเทศแม้จะเป็นช่วงเวลาที่ลำบากแต่ท่านก็ยังคงปฏิบัติอำนาจอธิปไตยของตนเหนือพื้นที่ทะเลหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรสลี่ย์ศ.ดร.เหงวียนกวางหงอกย้ำว่า  “ ปีค.ศ.๑๘๖๙ เรือจีนที่เดินทางจากฟูเจี้ยนไปยังสิงคโปร์ถูกเกยตื้นที่หว่างซา กษัตริย์ตื่อดึ๊กได้สั่งให้กระทรวงโยธาธิการทำการกู้ภัยและช่วยชีวิตคน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงจิตใจแห่งความเมตตาและความรับผิดชอบสูงของพระองค์ในการรักษาความปลอดภัยให้แก่พาหณะของต่างประเทศที่กำลังแล่นอยู่ในเขตทะเลที่อยู่ในอำนาจอธิปไตยของเวียดนาม

กษัตริย์ของราชวงศ์เหงวียนองค์แล้วองค์เล่าได้ทิ้งมรดกอันยิ่งใหญ่ไว้ให้แก่คนรุ่นหลังนั่นคือ อำนาจอธิปไตยเหนือน่านน้ำทะเล ดินแดนและประเทศเวียดนามเป็นผืนดินยาวจากเหนือจรดใต้จากจังหวัดเหนือสุดห่ายางลงไปถึงจุดใต้สุดคือแหลมก่าเมา อีกทั้งเป็นบทเรียนทางประวัติศาสตร์ให้แก่คนรุ่นหลังดั่งพวกเราให้เรียนรู้และสืบทอดตราบนานเท่านาน ./. 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด