การฉกฉวยปัญหาสิทธิมนุษยชนเพื่อละเมิดสิทธิแห่งชาติคือสิ่งที่ผิดกฎหมาย

(VOVWORLD) - การใช้ปัญหาสิทธิมนุษยชนมาเป็นโล่บังหน้าในการนำเสนอข่าวที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์ในเวียดนามเพื่อสร้างความแตกแยกและความขัดแย้ง ทำการยุยงปลุกปั่นเพื่อให้เกิดปัญหาทางการเมืองคือแผนกุศโลบายเก่าๆของฝ่ายที่เป็นอริเพื่อแทรกแซงกิจการภายในและมุ่งสู่การทำลายระบอบการเมืองของประเทศต่างๆ แต่การฉกฉวยปัญหาสิทธิมนุษยชนเพื่อละเมิดสิทธิแห่งชาติของเวียดนามเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
การฉกฉวยปัญหาสิทธิมนุษยชนเพื่อละเมิดสิทธิแห่งชาติคือสิ่งที่ผิดกฎหมาย - ảnh 1การฉกฉวยปัญหาสิทธิมนุษยชนเพื่อละเมิดสิทธิแห่งชาติคือสิ่งที่ผิดกฎหมาย (http://daidoanket.vn) 

ข้อมูลสถิติของกระทรวงกลาโหมระบุว่า ในปี  2019 กรณีการใช้คารมใส่ร้ายป้ายสีปัญหาสิทธิมนุษยชนในเวียดนามได้เพิ่มขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวคือแทรกแซง ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายเพื่อมุ่งเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองในเวียดนาม

เวียดนามให้ความสนใจต่อการพัฒนาสิทธิมนุษยชนอยู่เสมอ

กฎบัตรสหประชาชาติระบุว่า สิทธิมนุษยชนคือสิ่งที่มีค่าโดยทั่วไปและประชาชนทุกประเทศต่างมีความปรารถนาที่จะได้รับการค้ำประกันสิทธิมนุษยชน ผลสำเร็จในการปฏิบัติสิทธิมนุษยชนในปัจจุบันมาจากการต่อสู้ของประชาชาติต่างๆ โดยสิทธิการตัดสินใจอนาคตของชาติตนถูกระบุเป็นข้อแรกในอนุสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ ส่วนในภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่และการผสมผสานในทุกด้านของเวียดนามในตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมานั้น สิทธิและคุณค่าของมนุษย์ต่างมีบทบาทเป็นศูนย์กลาง เป็นเป้าหมายและเป็นพลังพื้นฐานในการจัดทำนโยบายต่างๆเพื่อการพัฒนา นาย หวูทูห่ง จากสมาคมคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแต๊นต์กรุงฮานอย นาย เหงวียนวันสางจากคริสตจักรต่าโจว์ในกรุงฮานอยและนายหว่างวันดิ่งจากคริสตจักรบวนเมถวดได้กล่าวยืนยันถึงสิทธิเสรีภาพด้านความเชื่อและการนับถือศาสนาและการค้ำประกันสิทธิมนุษยชนในเวียดนามว่า

"พวกเรารู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งที่พรรคและรัฐให้ความสนใจและสนับสนุนการประกอบศาสนากิจอยู่เสมอ"

"ภายใต้การชี้นำของพรรคและรัฐและการสนับสนุนจากทางการท้องถิ่น ผู้นับถือศาสนาคริสต์ได้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การปรับเปลี่ยนพื้นที่เกษตรที่สร้างผลผลิตสูงขึ้น ซึ่งทำให้ประชาชนรู้สึกปลื้มปิติยินดีและมีความเชื่อมั่นต่อแนวทางของพรรคและรัฐมากขึ้น"

"พวกเรามีความปลื้มปิติยินดีเพราะพรรคและรัฐได้สร้างความเชื่อมั่นและนำความผาสุกมาให้แก่ประชาชนทั่วประเทศ"
สถานการณ์ที่เป็นจริงแสดงให้เห็นว่า สิทธิมนุษยชนในเวียดนามได้รับการค้ำประกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เพียงแต่ประชาชนทั่วประเทศได้รับทราบและเข้าถึงเท่านั้น หากยังได้รับการชื่นชมจากชาวต่างชาติที่พำนักในเวียดนามอีกด้วย เช่น สิทธิการเข้าถึงข้อมูลและการบริการทางอินเตอร์เน็ตอย่างเสรี เอกอัครราชทูตปาเลสไตน์ Saadi Salama ซึ่งพำนักอาศัยและทำงานในเวียดนามมา 20ปีได้ให้ข้อสังเกตว่า

"ผมได้ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆในหลายประเทศจึงสามารถยืนยันได้ว่า การพัฒนาอินเตอร์เน็ตและการบริการต่างๆที่สร้างความสะดวกในการดำเนินชีวิตให้แก่ประชาชนเวียดนามได้แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลเวียดนามให้ความสนใจผลักดันการผสมผสาน สร้างความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรกับทุกประเทศ การเป็นประเทศที่ใฝ่สันติภาพ ให้ความเคารพกฎหมายสากล ต้องการกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าเพื่อการพัฒนามนุษย์"

ข้อมูลสถิติล่าสุดปรากฎว่า ประชาชนเวียดนามร้อยละ70 ได้ใช้บริการทางอินเตอร์เน็ตทุกวันเพื่อทำงาน เพื่อการเรียนรู้ หรือ เพื่อความบันเทิง แม้กระทั่งการปฏิบัติสิทธิมนุษยชนต่างๆ เช่น สิทธิพลเรือนและการเมืองผ่านการแสดงความคิดเห็นต่อร่างเอกสารด้าน นโยบายและกฎหมาย เป็นต้นและจนถึงปัจจุบัน เวียดนามก็ได้ปฏิบัติงานด้านการเผยแพร่นโยบายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอย่างทั่วถึงและได้ปฏิบัติการปกป้องสิทธิมนุษยชนควบคู่กับการพัฒนาด้านอื่นๆอย่างมีประสิทธิภาพ เวียดนามเป็นประเทศแรกที่ให้สัตยาบันอนุสัญญาเกี่ยวกับการต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อสตรีและสิทธิของเด็ก หลังการอนุมัติรัฐธรรมนูญปี2013 เวียดนามได้เน้นปรับปรุงระบบกฎหมาย ระเบียบการและนโยบายต่างๆให้มีความสมบูรณ์ ด้วยการประกาศใช้ร่างกฎหมายและประมวลกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนฉบับแก้ไขและเพิ่มเติมกว่า100 ฉบับ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายนปี 2019 สภาแห่งชาติได้อนุมัติประมวลกฎหมายแรงงานฉบับแก้ไขที่มีข้อกำหนดใหม่ที่ค้ำประกันสิทธิของผู้ใช้แรงงาน สอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การแรงงานสากลหรือไอแอลโอในขั้นพื้นฐาน ซึ่งทั้งนี้ถือเป็นตัวอย่างเพื่อยืนยันว่า รัฐบาลเวียดนามได้ค้ำประกันสิทธิมนุษยชน ให้ความเคารพสิทธิในการดำรงชีวิตและผลประโยชน์ของประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดทำและปฏิบัตินโยบายต่างๆอย่างเคร่งครัดถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างสรรค์สิทธิมนุษยชน

การฉกฉวยปัญหาสิทธิมนุษยชนเพื่อละเมิดสิทธิแห่งชาติเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย       
สถานการณ์ที่เป็นจริงแสดงให้เห็นว่า ข้อกล่าวหาและการบิดเบือนความจริงเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในเวียดนามคือสิ่งที่ไร้มูลความจริง  การที่องค์การระหว่างประเทศและรัฐบาลบางประเทศเสนอรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่ไม่ถูกต้องในเวียดนามแสดงให้เห็นว่า พวกเขามีความเข้าใจผิดและมีมุมมองที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเวียดนาม นาย เลหว่ายจุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้วิเคราะห์ว่า
"ในการสนทนารายงานแห่งชาติว่าด้วยการปกป้องและผลักดันสิทธิมนุษยชนตามกลไกตรวจสอบทั่วไปประจำปีหรือ UPR รอบที่ 3  ณ สภาสิทธิมนุษยชน ผู้แทนส่วนใหญ่ได้ชื่นชมผลงานในด้านนี้ของเวียดนาม แต่ก็ยังมีตัวแทนบางประเทศที่ยังแสดงทัศนะในลักษณะบิดเบือนสถานการณ์ในเวียดนามเนื่องจากไม่มีข้อมูลที่ถูกต้องหรือมีเป้าหมายอื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายมาก" 
รัฐบาลเวียดนามพร้อมรับฟังทัศนะที่แตกต่างและให้ความเคารพต่อการแสดงความคิดเห็นจากประชามติ แต่เวียดนามจะไม่ยอมรับการอ้างอิงปัญหาต่างๆเพื่อปฏิเสธผลสำเร็จและนโยบายที่ได้รับการชื่นชมจากประชาชน ซึ่งการใช้ปัญหาสิทธิมนุษยชนมาเป็นโล่บังหน้าเพื่อละเมิดสิทธิแห่งชาติเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย มีเป้าการแทรกแซงกิจการภายในของเวียดนามอย่างอุกอาจและเดินสวนทางกับแนวโน้มการขยายความเข้าใจ สร้างสรรค์สันติภาพและการพัฒนาระหว่างประชาชาติต่างๆในโลก.


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด