ผลสำเร็จของการผสมผสานทำให้แผนการทำลายเวียดนามประสบความล้มเหลว
Thu Hoa -  
(VOVWORLD) - การปฏิบัติยุทธศาสตร์ “การผันแปรอย่างสันติ” ในหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มอิทธิพลที่เป็นอริได้ใช้ทุกวิถีทางและแผนการเคลื่อนไหว รวมทั้งการฉกฉวยการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกเพื่อทำลายความมั่นคงของประเทศและระบอบสังคมนิยมในเวียดนาม แต่ทุกความพยายามนี้ได้ประสบความล้มเหลวเนื่องจากผลสำเร็จแห่งการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกของเวียดนาม
(Photo:Vietnamplus) |
จากการตระหนักได้ดีว่า ในยุคปัจจุบัน ต้องปฏิบัติตามแนวทางผสมผสานเข้ากับกระแสโลก ดังนั้นพรรคและรัฐเวียดนามได้พยายามปฏิบัติทุกมาตรการในการชี้นำและบริหารเพื่อพัฒนา ขยายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งการผลักดันการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลก จากการปฏิบัติแนวทางที่เสมอต้นเสมอปลายนี้ กระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกของเวียดนามกำลังบรรลุผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในหลายด้าน
ความสัมพันธ์ร่วมมือของเวียดนามได้รับการขยายไปทั่วโลก
สำหรับความสัมพันธ์ร่วมมือทวิภาคี ปัจจุบัน เวียดนามมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับกว่า ๑๗๐ ประเทศ มีความสัมพันธ์ด้านการค้าและการส่งออกสินค้ากับกว่า ๒๓๐ ตลาดของประเทศและดินแดน เวียดนามได้ลงนามข้อตกลงการค้าทวิภาคีกว่า ๙๐ฉบับและข้อตกลงส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนเกือบ ๖๐ ฉบับ ข้อตกลงต่อต้านการเก็บภาษีซ้ำซ้อน ๕๔ ฉบับและข้อตกลงความร่วมมือด้านวัฒนธรรมทวิภาคีกับประเทศและองค์กรระหว่างประเทศหลายฉบับ เวียดนามมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกประเทศใหญ่ รวมทั้ง ๕ ประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประเทศในกลุ่มจี๘ ยกระดับความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับจีนให้กลายเป็นความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในทุกด้าน เพิ่มเนื้อหาของความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับรัสเซีย สถาปนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับญี่ปุ่น อินเดีย สาธารณรัฐเกาหลี อังกฤษและสเปน จำนวนสำนักงานตัวแทนของเวียดนามในต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นเป็น ๙๑ แห่งโดยมีสถานทูต ๖๕ แห่ง สถานกงสุลใหญ่ ๒๐ แห่ง มีคณะผู้แทนถาวรประจำองค์การระหว่างประเทศ ๔ คณะและสำนักงานตัวแทนเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ๑ แห่ง
สำหรับความร่วมมือพหุภาคีและภูมิภาค เวียดนามมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสถาบันการเงินระหว่างประเทศหลายแห่ง เช่นธนาคารพัฒนาเอเชีย กองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก กระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลกของเวียดนามได้รับการผลักดันและพัฒนาขึ้นสู่ขั้นสูงใหม่ผ่านการเข้าร่วมองค์การเศรษฐกิจและการค้าระดับภูมิภาคและโลก ลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจพหุภาคี เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 1995 เวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกของอาเซียนและเข้าเป็นสมาชิกของเขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA เมื่อวันที่ 1 มกราคมปี 1996 ซึ่งถือเป็นก้าวกระโดดในการปฏิบัติกระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลกของเวียดนาม ต่อจากนั้น เมื่อปี 1996 เวียดนามได้เป็นหนึ่งในประเทศที่ริเริ่มก่อตั้งฟอรั่มความร่วมมือเอเชีย-ยุโรปหรือ ASEM และเมื่อปี 1998 เวียดนามได้เป็นสมาชิกของฟอรั่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเอเชีย แปซิฟิกหรือเอเปก โดยเฉพาะกระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลกของเวียดนามมีก้าวเดินสำคัญเมื่อเวียดนามได้เป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกหรือ WTO เมื่อวันที่ 11 มกราคมปี 2007 ภายหลัง 11 ปีของการเจรจาเพื่อเข้าร่วมองค์การนี้
ส่งเสริมบทบาทประเทศสมาชิกในองค์การเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ในฐานะประเทศสมาชิกขององค์การเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่างๆ เช่น WTO ASEAN APEC เวียดนามได้พยายามปฏัติบัติคำมั่นต่างๆอย่างเข้มแข็งและสมบูรณ์ และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในกรอบองค์การนี้อย่างเข้มแข็ง หลังจากเข้าเป็นสมาชิก WTO เวียดนามได้ทำการปรับปรุงนโยบายการค้าตามแนวทางที่โปร่งใสและเสรีภาพมากขึ้น การปฏิรูปนี้สะท้อนให้เห็นจากคำมั่นพหุภาคีในด้านกฎหมายและกลไกการบริหาร ตลอดจนคำมั่นเปิดกว้างตลาดสินค้าและการบริการ ในฐานะประเทศสมาชิกของ WTO เวียดนามพยายามเข้าร่วมการเจรจาต่างๆอย่างเข้มแข็งในกรอบ WTO ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องถึงเวียดนาม เช่น การเกษตร อุตสาหกรรม ลิขสิทธิ์ทางปัญญา การอุปถัมภ์ด้านสัตว์น้ำและโครงการให้การช่วยเหลือการค้าของ WTO สำหรับเวียดนาม อาเซียนคือหุ้นส่วนการค้าและการลงทุนรายใหญ่ที่สุด การปฏิบัติคำมั่นผสมผสานที่กว้างลึกเพื่อสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี 2015ได้มีส่วนร่วมที่เป็นรูปธรรมให้แก่การปรับปรุงบรรยากาศกฎหมายภายในประเทศ อำนวยความสะดวกให้แก่การผลิต ประกอบธุรกิจ ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ตลอดจนเป็นพื้นฐานเพื่อให้เวียดนามเข้าร่วมกรอบความร่วมมือทวิภาคีและพหุภาคีอื่นๆ ในกรอบเอเปก เวียดนามได้รับการประเมินว่าคือหนึ่งในสมาชิกที่คล่องตัว มีส่วนร่วมมากมายและเข้มแข็งให้แก่ฟอรั่มเอเปก ในกรอบอาเซม เวียดนามได้มีข้อเสนอ ปฏิบัติข้อคิดริเริ่มหลายข้อและกิจกรรมของอาเซม ที่น่าสนใจคือการจัดการสัมมนาสำคัญๆของอาเซมประสบความสำเร็จ จนถึงปัจจุบันเวียดนามได้เข้าร่วมการสถาปนาข้อตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอรุ่นใหม่ 6 ฉบับกับ 15 ประเทศ ประกอบด้วย เขตการค้าเสรีอาเซียน เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน เขตการค้าเสรีอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี เขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย ข้อตกลงการค้าที่เวียดนามได้ลงนาม ประกอบด้วย ส่วนข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจเวียดนาม-ญี่ปุ่น ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-ชิลี ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-อียูและข้อตกลงการค้าเสรีซีพีทีพีพี
ดังนั้น ในตลอดกว่า 30 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศ เวียดนามไม่เพียงแต่ขยายความสัมพันธ์ด้านการทูตกับหลายประเทศเท่านั้น หากยังได้ผสมผสานเข้ากับกระแสโลกในทุกด้านอีกด้วย โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ นอกจากนั้น เวียดนามยังสะท้อนให้เห็นว่า เป็นสมาชิกที่ได้พยายาม ปฏิบัติคำมั่นต่างๆอย่างเคร่งครัดและสมบูรณ์ เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆบนเวทีโลกอย่างเข้มแข็ง ผลสำเร็จแห่งการผสมผสานของเวียดนามในหลายปีที่ผ่านมาคือภาพลักษณะที่ดีงามเพื่อทำให้แผนการใช้การผสมผสานเพื่อทำลายเวียดนามประสบความล้มเหลว.
Thu Hoa