เศรษฐกิจโลกยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ

(VOVWORLD) -แม้จะมีความพยายามของรัฐบาลและองค์การระหว่างประเทศในการรับมือปัญหาเศรษฐกิจ แต่เศรษฐกิจโลกยังคงต้องเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายต่างๆ ซึ่งเศรษฐกิจใหญ่มีความเสี่ยงสูงที่จะตกเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2022  

เศรษฐกิจโลกยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ - ảnh 1การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่  G20 (Photo: Reuters)

ในการกล่าวปราศรัยในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาและเพิ่งเกิดใหม่ของโลกหรือ G20 ในระหว่างวันที่ 15 -16 กรกฎาคม ณ ประเทศอินโดนีเซีย นาง   Kristalina Georgieva  ผู้อำนวยการใหญ่กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ได้เตือนว่า ศักยภาพเศรษฐกิจโลกอาจลดลงถ้าหากอัตราเงินเฟ้อของเศรษฐกิจใหญ่ๆอยู่ในระดับสูงเหมือนในปัจจุบัน  บรรดาผู้เชี่ยวญด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศเห็นว่า คำเตือนดังกล่าวของผู้อำนวยการใหญ่  IMF แสดงให้เห็นถึงอุปสรรคและความท้าทายอย่างหนักที่เศรษฐกิจกำลังต้องเผชิญเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของเศรษฐกิจใหญ่ๆ เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา

ดัชนีที่น่ากังวล

การวิเคราะห์และรายงานระหว่างประเทศต่างเห็นว่า การปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ยืดเยื้อเป็นเวลานาน มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียของฝ่ายตะวันตกได้ทำให้ห่วงโซ่อุปทานชะงักงัน  ทำให้ราคาน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและธัญหารเพิ่มสูงขึ้น ทำให้อุปสรรคที่เศรษฐกิจต่างๆกำลังเผชิญเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ในกว่า 2 ปีที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้น ที่ประเทศสหรัฐ ซึ่งเป็นเศรษฐกิจรายใหญ่ที่สุดในโลก อัตราเงินเฟ้อได้เพิ่มสูงขึ้นในตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาแม้จะมีมาตรการรับมือต่างๆ  โดยเฉพาะการตัดสินใจเพิ่มดอกเบี้ยหลายครั้งของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED  รายงานล่าสุดของกระทรวงการคลังสหรัฐเผยว่า อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายนได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งสูงกว่าเดือนพฤษภาคมคือร้อยละ 8. 6 และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา นาง เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐเผยว่า นี่เป็นอัตราเงินเฟ้อที่ไม่สามารถยอมรับได้

สถานการณ์เศรษฐกิจในหลายประเทศยุโรปก็เลวร้ายลง โดยอัตราเงินเฟ้อของอิตาลีในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงที่สูงในรอบ 36 ปีที่ผ่านมา ส่วนอัตราเงินเฟ้อของฝรั่งเศสในเดือนมิถุนายนทำสถิติเพิ่มสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1991  โดยดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนี ซึ่งเป็นเศรษฐกิจรายใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรปหรืออียูได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.9  ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1990 และสูงกว่าเป้าหมายที่ธนาคารกลางยุโรปกำหนดไว้คือร้อยละ 2  นอกจากนี้ ค่าเงินยูโรก็อ่อนค่าลง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจเขตยูโรโซน

สำหรับจีน ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ได้รับการประเมินว่า ไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภาวะเงินเฟ้อโลกมากนัก อัตราการขยายตัวจีดีพีในไตรมาสที่ 2อยู่ที่ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว  ซึ่งต่ำว่าตัวเลขการคาดการณ์และเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลจีนได้กำหนดไว้  แต่อย่างไรก็ดี สาเหตุที่ทำให้อัตราจีดีพีของจีนอยู่ในระดับต่ำมีความแตกต่างกับเศรษฐกิจอื่นๆ เพราะในเวลาที่ผ่านมา จีนได้ปฏิบัติมาตรการล็อกดาวน์ในขอบเขตใหญ่เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ซึ่งจำกัดกิจกรรมการผลิตและการประกอบธุรกิจ แต่ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด การที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน ซึ่งเป็นเศรษฐกิจรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกอยู่ในระดับต่ำ ถือเป็นสิ่งที่น่ากังวลต่อเศรษฐกิจโลก

ศักยภาพและมาตรการ

ผู้อำนวยการใหญ่ IMF เห็นว่า อุปสรรคและความท้าทายในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจต่างๆ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่มีรายได้ต่ำ  เศรษฐกิจที่เพิ่งเกิดใหม่และกำลังพัฒนากว่าร้อยละ 30 ประเทศที่มีรายได้ต่ำร้อยละ 60 ไม่สามารถหรือมีความเสี่ยงที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้

จากสถานการณ์ดังกล่าว ผู้อำนวยการใหญ่ IMF  ได้เรียกร้องให้ประเทศต่างๆต้องทำอย่างสุดความสามารถเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ พร้อมทั้งเห็นว่า คำมั่นเกี่ยวกับการเพิ่มเงินทุนให้แก่กองทุนลดปัญหาความยากจนและการขยายตัวอย่างยั่งยืนหรือPRGT ของIMFจะได้รับการประกาศโดยเร็ว ปัจจุบัน กลุ่มจี 20 ได้ให้คำมั่นที่จะสงวนเงินกว่า 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่กองทุน PRGT ตอบสนองความต้องการได้ประมาณร้อยละ 75  ในขณะเดียวกัน นาง เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐเห็นว่า รัฐบาลต่างๆต้องจัดทำและธำรงการปฏิบัติแผนการรับมือด้านนโยบายเพื่อลดเวลาและความหนักหน่วงของภาวะ เศรษฐกิจถดถอย ลดผลกระทบต่อประชาชนและสถานประกอบการ

แต่อย่างไรก็ดี ตามจุดยืนของบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มาตรการในปัจจุบันคือ ต้องส่งเสริมความพยายามเพื่อยุติการปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครนโดยเร็วเพราะบทวิเคราะห์และรายงานต่างๆชี้ชัดว่า วิกฤตรัสเซีย-ยูเครนได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจโลก ดังนั้น ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องต้องผลักดันการสนทนาและการพบปะทางการทูตเพื่อแก้ไขปัญหาโดยเร็ว แทนการใช้มาตรการคว่ำบาตรและตอบโต้กัน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด