เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงสร้างสรรค์เครื่องหมายการค้าให้แก่ผลไม้เพื่อการส่งออก

(VOVWORLD) - จากความได้เปรียบเนื่องจากเป็นพื้นที่ปลูกผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ  ในเวลาที่ผ่านมา เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้เน้นสร้างสรรค์เขตจัดสรรวัตถุดิบและพัฒนาพื้นที่ปลูกผลไม้เพื่อตอบสนองความต้องการของหุ้นส่วนนำเข้าต่างๆ ด้วยพื้นที่ปลูกผลไม้ราว 370,000 เฮกตาร์ ท้องถิ่นต่างๆ ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกำลังเน้นสร้างสรรค์เครื่องหมายการค้าเพื่อสนับสนุนการส่งออก
 
 
เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงสร้างสรรค์เครื่องหมายการค้าให้แก่ผลไม้เพื่อการส่งออก - ảnh 1สวนผลไม้ Trạng Tí Garden ทำการส่งออกลำใย (โฟโต Kim Anh.)

ด้วยพื้นที่ปลูกลำไยเกือบ 70 เฮกตาร์ ในตำบลเท้ยฮึง อำเภอเก่อด๋อ นครเกิ่นเทอ สวนผลไม้ Trạng Tí Garden ที่มีสมาชิก 11 คนกำลังพัฒนาเขตปลูกผลไม้ที่ตอบสนองเงื่อนไขต่างๆ ของสถานประกอบการที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐและออสเตรเลีย นาย เจิ่นเฟือกเซิน สมาชิกของสวนเผยว่า

เราให้ความสนใจถึงการพัฒนาคุณภาพ ถ้าหากผลิตภัณฑ์ของเรามีคุณภาพดี เราก็ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องตลาด ดังนั้น เราจึงพัฒนาสวนผลไม้ตามมาตรฐาน VietGap เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของเราขีดความสามารถในการแข่งขัน เราปรับปรุงเทคโนโลยีในการปลูกและปฏิบัติตามแนวทางการปลูกผลไม้ที่ปลอดสารพิษ รวมถึงมาตรฐานต่าง เพื่อสามารถส่งออกไปยังตลาดที่มีเงื่อนไขเข้มงวด

พื้นที่ปลูกผลไม้ของนครเกิ่นเทอกำลังได้รับการขยายและตอบสนองมาตรฐานต่างๆ ในการส่งออก นายเจิ่นท้ายเงียม รองผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทนครเกิ่นเทอเผยว่า ทางการท้องถิ่นกำลังระดมแหล่งลงทุนต่างๆ เพื่อพัฒนาพื้นที่ปลูกผลไม้ให้กลายเป็นเขตปลูกผลไม้เฉพาะถิ่น โดยปฏิบัติขั้นตอนการปลูกอย่างยั่งยืนและร่วมมือกับสถานประกอบการรักษาความมีเสถียรภาพในการจำหน่ายสินค้าให้ได้

 “ ในหลายปีมานี้ การเชื่อมโยงในการจำหน่ายผลไม้ที่นครเกิ่นเทอมีขึ้นอย่างคึกคัก โดยผลไม้หลายชนิดมีราคาสูง เช่น ทุเรียน ลูกน้ำนมและลำใย ได้รับความนิยมจากสถานประกอบการเป็นอย่างมาก ดังนั้น เมื่อพื้นที่ปลูกผลไม้เหล่านี้มีรหัสแล้ว สถานประกอบการต่างๆ ก็อยากร่วมมือกันเพื่อสร้างสรรค์เขตจัดสรรวัตถุดิบให้แก่การส่งออกไปยังตลาดต่างๆ”

ปัจจุบัน เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมีพื้นที่ปลูกผลไม้ราว 370,000 เฮกตาร์ โดยจังหวัดเตี่ยนยางมีพื้นที่ปลูกผลไม้มากที่สุด คือกว่า 80,000 เฮกตาร์ ส่วนท้องถิ่นที่เหลือ คือ  เกิ่นเทอ อานยาง เห่ายาง หวิงลองและด่งทาป มีพื้นที่ปลูกผลไม้ตั้งแต่ 25,000 - 50,000 เฮกตาร์

เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงสร้างสรรค์เครื่องหมายการค้าให้แก่ผลไม้เพื่อการส่งออก - ảnh 2นาย เลแทงตุ่ง รองอธิบดีกรมเพาะปลูกสังกัดกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบท (หนังสือพิมพ์การเกษตร)

นาย เลแทงตุ่ง รองอธิบดีกรมเพาะปลูกสังกัดกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเผยว่า เขตที่ปลูกผลไม้เฉพาะถิ่นกำลังร่วมมือกับเกษตรกรและสถานประกอบการเพื่อจำหน่ายและส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยจังหวัดต่างๆ ในเขตแม่น้ำโขงได้ผลักดันให้เกษตรกร สหกรณ์และสถานประกอบการร่วมมือกันเพื่อตอบสนองมาตรฐานต่างๆของประเทศที่นำเข้าและสร้างความมีเสถียรภาพในการจำหน่าย นาย เลแทงตุ่ง ย้ำว่า

“เมื่อก่อน เราส่งออกตามฤดูกาล แต่ปัจจุบัน เราปลูกตามรูปแบบหมุนเวียนและเก็บผลผลิตส่งออกทุกเดือนมีแค่เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงของเราในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถทำได้แบบนี้ ปัจจุบันนี้เราปลูกผลไม้ตามรูปแบบนี้ได้ร้อยละ 30-45 ส่วนที่เหลือยังปลูกตามฤดูกาล ทางไทยก็มาเรียนรู้ประสบการณ์นี้ของเวียดนามเพื่อปลูกทุเรียน ส่วนเราเองก็สามารถปลูกผลไม้ตามรูปแบบนี้ได้เกือบทุกชนิดแล้ว”

ปัจจุบันนี้ ผลไม้ของเวียดนามได้ส่งออกไปยัง 60 ตลาดทั่วโลก โดยบางชนิดสามารถยืนยันเครื่องหมายการค้าในตลาดต่างๆ เช่น จีน สหรัฐ ออสเตรเลีย ยุโรป ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้มีส่วนร่วมเป็นอย่างมากต่อการส่งออกผลไม้ของเวียดนามโดยมูลค่าการส่งออกผลไม้ของเวียดนามใน 8 เดือนที่ผ่านมาได้บรรลุกว่า 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละกว่า 30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนเมื่อเร็วๆ นี้ นาย เฮื้อยะตุ้ง โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีนเผยว่า จีนเป็นตลาดนำเข้าสินค้าการเกษตร โดยเฉพาะผลไม้ของเวียดนามมากที่สุด

“ผลไม้ชนิดต่างๆ ของเวียดนาม เช่น ทุเรียนและแก้วมังกรได้รับความนิยมจากผู้บริโภคของจีนมาก โดยสินค้าการเกษตรที่นำเข้าจากเวียดนามคิดเป็น 1ใน5 ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าการเกษตรของจีน

สัญญาณที่น่ายินดีจากการส่งออกผลไม้ไปยังตลาดที่มีเงื่อนไขเข้มงวดต่างๆ ได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงใหม่ที่น่ายินดีของหน่วยงานปลูกผลไม้ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อตอบสนองเงื่อนไขของหุ้นส่วนนำเข้าต่างๆ จากความได้เปรียบในด้านการเกษตร ท้องถิ่นหลายแห่งกำลังวางผังเขตปลูกผลไม้อีกครั้งเพื่อพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกผลไม้ตามมาตรฐาน VietGap ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ ควบคู่กันนั้น ก็มียุทธศาสตร์เพื่อดึงดูดนักลงทุนในด้านการผลิตและแปรรูปผลไม้เป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและเชิงลึกมากขึ้น ช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่หน่วยงานปลูกผลไม้ในท้องถิ่นและยืนยันเครื่องหมายการค้าผลไม้เวียดนามด้วย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด