โอกาสให้แก่เศรษฐกิจเวียดนามเมื่อเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรีฉบับต่างๆ
(VOVWorld)-ในปี๒๐๑๕ เวียดนามได้ลงนามข้อตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอกับสาธารณรัฐเกาหลีและสหภาพเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป เสร็จสิ้นการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงเอฟทีเอกับสหภาพยุโรปหรืออียูและข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกหรือทีพีพี ซึ่งถือเป็นจุดเด่นในกิจกรรมการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลกของเวียดนามในปี๒๐๑๕ ข้อตกลงการค้าเสรีฉบับต่างๆดังกล่าวจะช่วยผลักดันการส่งออก ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและเปิดโอกาสใหม่ให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนามในเวลาที่จะถึง
(VOVWorld)-ในปี๒๐๑๕ เวียดนามได้ลงนามข้อตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอกับสาธารณรัฐเกาหลีและสหภาพเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป เสร็จสิ้นการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงเอฟทีเอกับสหภาพยุโรปหรืออียูและข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกหรือทีพีพี ซึ่งถือเป็นจุดเด่นในกิจกรรมการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลกของเวียดนามในปี๒๐๑๕ ข้อตกลงการค้าเสรีฉบับต่างๆดังกล่าวจะช่วยผลักดันการส่งออก ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและเปิดโอกาสใหม่ให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนามในเวลาที่จะถึง
ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับอียูจะช่วยให้อัตราการส่งออกเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ๔-๖ต่อปี
|
ข้อตกลงการค้าเสรีฉบับต่างๆที่เวียดนามลงนามหรือเสร็จสิ้นการเจรจาในปี๒๐๑๕เป็นข้อตกลงการค้าเสรีแบบใหม่ โดยไม่เพียงแต่เน้นถึงด้านการค้า การบริการ ลิขสิทธิ์ทางปัญญาและการลงทุนเท่านั้น หากยัง ครอบคลุมถึงปัญหาใหม่ๆเช่น สถานประกอบการภาครัฐ จัดซื้อภาคสาธารณะ ศุลกากร การพัฒนาอย่างยั่งยืนและปัญหาที่ไม่อยู่ในเชิงพาณิชย์
เนื้อหาหลักของข้อตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามลงนามหรือเสร็จสิ้นการเจรจาคือการยกเลิกภาษีศุลกากรและเปิดเสรีด้านการค้า ซึ่งสร้างโอกาสให้แก่ประเทศต่างๆที่เข้าร่วม เช่นสำหรับข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับอียูหรือEVFTAที่จะมีผลบังคับใช้ในปี๒๐๑๘ อัตราภาษีสำหรับสินค้าส่งออกร้อยละ๙๙ของเวียดนามในตลาดอียูอยู่ที่๐% ช่วยให้อัตราจีดีพีของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ๐.๕และอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ๔-๖ต่อปี เป็นอันว่า ถ้าหากเวียดนามธำรงอัตราการขยายตัวการส่งออกไปยังอียูเหมือนในปัจจุบัน จนถึงปี๒๐๒๐ มูลค่าการส่งออกของเวียดนามไปยังอียูจะเพิ่มขึ้นอีก๑หมื่น๖พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนข้อตกลงเอฟทีเอกับสาธารณรัฐเกาหลีจะเปิดตลาดให้เวียดนามส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตรและสัตว์น้ำที่ได้รับการคุ้มครองอย่างเข้มงวด ในขณะเดียวกัน คาดว่า ข้อตกลงเอฟทีเอระหว่างเวียดนามกับสหภาพเอเชีย-ยุโรปจะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าเฉลี่ยร้อยละ๑๘-๒๐ต่อปีคือจาก๔พันล้านดอลลาร์สหรัฐของปีที่แล้วขึ้นเป็น๑หมื่นล้านถึง๑หมื่น๒ล้านดอลลาร์สหรัฐในอีก๕ปีข้างหน้า ส่วนตามการคาดการณ์ของบรรดาผู้เชี่ยวชาญอิสระ ข้อตกลงทีพีพีจะช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออกของเวียดนามขึ้นอีก๖หมื่น๘ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี๒๐๒๕
สำหรับผู้ประกอบการเวียดนาม โอกาสที่ใหญ่ที่สุดจากข้อตกลงเอฟทีเอคือ การขยายตลาดเนื่องจากการปรับลดภาษีและยกเลิกกำแพงกีดกันทางการค้าในสภาวการณ์ที่กำลังซื้อยังต่ำอยู่และทักษะความสามารถของผู้ประกอบการยังมีจำกัด นาย เจืองดิ่งเตวียน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เวียดนามได้เผยว่า “พวกเรากำลังพยายามเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเวียดนามขึ้นเป็น๔หมื่นพันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะสร้างงานทำมากมาย ผลิตภัณฑ์การเกษตรจะมีศักยภาพมากมายในการส่งออก โดยเฉพาะ การส่งออกไปยังประเทศสมาชิกของทีพีพีเนื่องจากไม่ต้องแข่งขันกับประเทศที่ส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตรรายใหญ่ของโลก เช่นไทยและอินเดีย”
โรงงานของเครือบริษัทซามซุงในเวียดนาม
|
เมื่อเข้าร่วมข้อตกลงเอฟทีเอแบบใหม่ โอกาสในการดึงดูดแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศในเวียดนามก็เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ จากเครือบริษัทต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อตกลงทีพีพีและ EVFTA เมื่อเร็วๆนี้ เครือบริษัทต่างประเทศได้ลงทุนโครงการใหม่หรือขยายการผลิตในเวียดนามในด้านการผลิตเส้นใย สินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เป็นต้น นอกจากนี้ เครือบริษัทใหญ่ๆของโลก เช่น ซามซุง อินเทลและไมโครซอฟท์ เป็นต้นก็ได้ผลักดันการลงทุนในเวียดนามเพื่อผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เช่น สมาร์ทโฟน นี่ก็เป็นโอกาสใหญ่เพื่อยกระดับสถานะของเศรษฐกิจเวียดนามในอีก๕-๑๐ปีข้างหน้า
การเปิดการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป สหภาพเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป สาธารณรัฐเกาหลีและ๑๑ประเทศสมาชิกทีพีพีจะช่วยเวียดนามมีโอกาสในการปรับปรุงตลาดการส่งออกและนำเข้า นี่เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อช่วยให้เวียดนามส่งเสริมความเป็นอิสระและการพึ่งพาตนเองของเศรษฐกิจ นาย เหงวียนหงอกหว่า รองผู้อำนวยการสำนักงานอุตสาหกรรมและพาณิชย์นครโฮจิมินห์ได้เผยว่า “ข้อตกลงการค้าเสรีฉบับต่างๆได้รับการลงนาม ซึ่งเปิดโอกาสให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนาม โดยเฉพาะ การเข้าร่วมข้อตกลงทีพีพีจะช่วยเวียดนามสร้างความสมดุลย์ให้แก่ความสัมพันธ์ด้านการค้ากับตลาดอื่นๆ ลดการพึ่งพาตลาดเอเชียตะวันออก จีนและอาเซียน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ๖๐ของยอดมูลค่าการส่งออกและนำเข้าและร้อยละ๗๕ของมูลค่าการนำเข้าของเวียดนาม”
ที่สำคัญอีกประเด็นคือ การเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรีแบบใหม่ก็เป็นโอกาสเพื่อให้เวียดนามสร้างโครงสร้างเศรษฐกิจที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้น เวียดนามอาจก้าวรุดหน้าไปบนเส้นทางแห่งการปรับปรุงระเบียบเศรษฐกิจเชิงตลาด ซึ่งเป็น๑ในก้าวกระโดดเชิงยุทธศาสตร์ที่เวียดนามได้กำหนดอย่างกว้างลึกและสมบูรณ์ นาย หวูฮุยหว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์เวียดนามได้ยืนยันว่า
“ความได้เปรียบและผลประโยชน์จากข้อตกลงการค้าที่เวียดนามลงนามจะมีส่วนร่วมสำคัญให้แก่เวียดนามในการผลักดันการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก การปฏิรูปเศรษฐกิจผสานกับการเปลี่ยนแปลงใหม่รูปแบบการขยายตัวเพื่อช่วยส่งเสริมสถานะของเวียดนามในเวทีการค้าและการลงทุนที่กว้างขวางของโลก”
อาจกล่าวได้ว่า เวียดนามได้ผสมผสานอย่างกว้างลึกเข้ากับกระแสโลกอย่างไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งสร้างโอกาสใหญ่ให้แก่เวียดนาม โดยเฉพาะ ด้านเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ดี ควบคู่กับโอกาสและความได้เปรียบ เวียดนามยังต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ซึ่งบังคับให้สำนักงานบริหารและชมรมผู้ประกอบการเวียดนามต้องเตรียมความพร้อม เพิ่มทักษะความสามารถในการแข่งขันและใช้โอกาสต่างๆเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน.