การเกษตรที่ยั่งยืนเป็นหนึ่งในเสาหลักของยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเวียดนาม

(VOVWORLD) - เอกอัครราชทูต เยืองหายฮึง ได้เสนอเนื้อหาที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆเพื่อให้ FAO และหุ้นส่วนระหว่างประเทศพิจารณาและสนับสนุนประเทศสมาชิก 
การเกษตรที่ยั่งยืนเป็นหนึ่งในเสาหลักของยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเวียดนาม - ảnh 1เอกอัครราชทูต เยืองหายฮึง กล่าวปราศรัยต่อที่ประชุม (VNA)

เมื่อบ่ายวันที่ 5 กรกฎาคม ในการประชุมครบองค์ระดับรัฐมนตรีขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือ FAO ครั้งที่ 43 ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี นาย เยืองหายฮึง เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำอิตาลี ผู้แทนถาวรเวียดนามประจำ FAO และ หัวหน้าคณะผู้แทนเวียดนามในการประชุมปีนี้ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่สำคัญโดยระบุถึงข้อเสนอของเวียดนามในการปฏิบัติโครงการพัฒนาระบบอาหารเพื่อมีส่วนร่วมต่อการค้ำประกันความมั่นคงทางอาหาร

เอกอัครราชทูต เยืองหายฮึง ได้เสนอเนื้อหาที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆเพื่อให้ FAO และหุ้นส่วนระหว่างประเทศพิจารณาและสนับสนุนประเทศสมาชิก 1 คือ สนับสนุนประเทศต่าง ๆ ในการปฏิบัติตามกรอบโครงการแห่งชาติ และการปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรและอาหารตามแนวทางแห่งการปรับตัว ครอบคลุมและยั่งยืน เวียดนามมีความประสงค์ที่จะร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมการค้าการเกษตรเพื่อเป็นพื้นฐานให้แก่ความมั่นคงด้านอาหารในระดับภูมิภาคและโลก 2 คือผลักดันกระบวนการพัฒนาการเกษตรสีเขียวและดิจิทัลการให้การสนับสนุนทางการเงิน เทคโนโลยีและการสร้างความสามารถให้แก่ประเทศกำลังพัฒนามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาไปสู่ระบบอาหารที่มีคุณค่าที่หลากหลาย ยั่งยืนมากขึ้น และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3 คือส่งเสริมการประสานงานและการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและน้ำอย่างยั่งยืน รวมถึงทรัพยากรน้ำข้ามพรมแดน ทรัพยากรทางทะเลและความร่วมมือใต้-ใต้

สำหรับความพยายามของเวียดนาม เอกอัครราชทูต เยืองหายฮึง ย้ำว่า การเกษตรที่ยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหารเป็นหนึ่งในเสาหลักของยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเวียดนามในช่วงปี 2021-2030 ซึ่งให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการพัฒนาการเกษตรเชิงนิเวศ เทคโนโลยีขั้นสูง การเกษตรที่ปล่อยมลพิษต่ำ การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศควบคู่กับการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบท ระบบอาหารของเวียดนามกำลังมุ่งสู่การเข้าถึงที่หลากหลายภาคส่วนและวัตถุประสงค์ รวมถึงการเดินหน้าเปลี่ยนเป็นผู้สรรอาหารที่โปร่งใส มีความรับผิดชอบและยั่งยืน มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งต่อความมั่นคงทางอาหารของโลก ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างชาญฉลาด ปกป้องทรัพยากร ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ การดำรงชีวิตที่ยั่งยืนและค้ำประกันสวัสดิการสังคม โดยเฉพาะสำหรับคนจนและกลุ่มเปราะบาง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด