การเคลื่อนไหวของจีนมุ่งเบี่ยงเบนประชามติเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ “ตื๊อซา”

(VOVWORLD) - การเคลื่อนไหวของจีนมุ่งเบี่ยงเบนประชามติเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ “ตื๊อซา” คือคำยืนยันของนาย Lucio Blanco Pitlo III นักวิจัยทะเลตะวันออกและสมาชิกขององค์กรนักวิจัย “เส้นทางที่ก้าวหน้าแห่งเอเชีย – แปซิฟิกในการให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนามประจำสหรัฐเมื่อวันที่ 21 ที่ผ่านมา
การเคลื่อนไหวของจีนมุ่งเบี่ยงเบนประชามติเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ “ตื๊อซา” - ảnh 1 นาย Lucio Blanco Pitlo III

ก่อนหน้านี้ การที่กระทรวงกิจการพลเรือนจีนได้ประกาศสิ่งที่เรียกว่า “ชื่อเรียกมาตรฐาน” ของเกาะและแนวปะการังนับสิบแห่งในทะเลตะวันออกรวมถึงโครงสร้างทางกายภาพต่างๆที่อยู่ลึกเข้าไป ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวียดนาม ตลอดจนได้ประกาศสิ่งที่เรียกว่า “เขตซีซา” และ “เขตหนานซา” สังกัด “นครซานซา” เพื่อบริหารหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลส์และเจื่องซาหรือสเปรตลีย์ที่อยู่ในอธิปไตยของเวียดนามในทะเลตะวันออกต่างถูกคัดค้านจากทั้งประชามติทั้งในเวียดนามและในต่างประเทศ สำหรับปฏิบัติการล่าสุดของจีนในทะเลตะวันออก นาย Lucio Blanco Pitlo III ได้ให้ข้อสังเกตุว่า            “การกระทำดังกล่าวของจีนอาจถือเป็นแผนการยืนยันคำประกาศ “ตื๊อซา” ของตนแม้จะไม่มีอะไรสามารถแก้ตัวได้ ไม่มีโครงสร้างทางกายภาพใดๆที่ “ซานซา” ถูกระบุให้เป็นเกาะตามคำตัดสินเมื่อปี2016ของศาลอนุญาโตตุลาการที่จัดตั้งขึ้นตามภาคผนวกที่7ในกรณีที่ฟิลิปปินส์ฟ้องร้องจีนในปีเดียวกัน เช่นเดียวกันนั้น โครงสร้างทางกายภาพต่างๆในเขต “ชูซา” และ ”ตุงซา” ก็มิใช่เกาะเช่นกัน แม้แต่ “ชูซา” หรือ Macclesfield Bank ก็เป็นแนวปะการังใต้ทะเล สำหรับจีนซึ่งก็เป็นประเทศที่มีไหล่ทวีป การประกาศอธิปไตยต่อสิทธิที่ได้รับทางทะเล รวมทั้งเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปรวมทั้งการวาดเส้นฐานชายฝั่งโดยรอบโครงสร้างทางกายภาพใน “ตื๊อซา” ถือเป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับได้ และการตัดสินใจเมื่อเร็วๆนี้ของจีนก็ไม่สามารถเสริมสร้างหลักฐานเพื่อรองรับคำประกาศอธิปไตยที่มีความเปราะบางแล้วของจีนในทะเลตะวันออก”

สำหรับมาตรการเพื่อควบคุมความทะเยอทะยานของจีนในปัจจุบัน นาย Lucio Blanco Pitlo III ได้แสดงความคิดเห็นว่า ประเทศต่างๆควรใช้ช่องทางระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาคเพื่อคัดค้านปฏิบัติการล่าสุดของจีน นอกจากนั้น อาเซียนควรเรียกร้องให้จีนยุติปฏิบัติการที่จะเพิ่มความตึงเครียด สร้างความระแวงสงสัยและส่งผลกระทบต่อความคืบหน้าที่ได้บรรลุก่อนหน้านั้นในปัญหาการควบคุมการพิพาทและการสร้างสรรค์ความไว้วางใจระหว่างกันในเขตทะเลตะวันออก

ในขณะเดียวกันหนังสือพิมพ์ The Economic Times ของอินเดียฉบับวันที่ 21 เมษายนได้ลงความเห็นว่า ปฏิบัติการของจีนได้เพิกเฉยข้อเรียกร้องของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในภูมิภาค ละเมิดอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982  รวมทั้งบรรทัดฐานการปฏิบัติและกฎหมายสากล

ในวันเดียวกัน เว็บไซต์ Channel News Asia ได้อ้างคำกล่าวของนาย Bill Hayton ผู้เชี่ยวชาญขององค์กร Chatham House ของอังกฤษที่ถือว่า จีนได้อนุมัติอนุสัญญาแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982หรือ UNCLOS แต่กลับมีปฏิบัติการที่ขัดกับ UNCLOS ปี 1982 ด้วยการผลักดันการประกาศอธิปไตยในเขตที่อยู่ห่างไกลอาณาเขตของตน ส่วนหนังสือพิมพ์ Asia Timesก็ให้ข้อสังเกตว่าปฏิบัติการของจีนเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงก้าวเดินที่ก้าวร้าวของปักกิ่งในปัญหานี้

การเคลื่อนไหวของจีนมุ่งเบี่ยงเบนประชามติเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ “ตื๊อซา” - ảnh 2 นาย Grigory Loksin

สำหรับปัญหานี้ นาย Grigory Loksin ผู้เชี่ยวชาญของศูนย์วิจัยเวียดนามและอาเซียนสังกัดสถาบันตะวันออกไกลของสถาบันวิทยาศาสตร์รัสเซียได้กล่าวว่า การกระทำดังกล่าวของจีนได้ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติและอนุสัญญาแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 ซึ่งส่งผลให้สถานการณ์ในภูมิภาคนับวันซักซ้อมและตึงเครียดมากขึ้น พร้อมทั้งเผยว่าผู้นำเวียดนามได้มีนโยบายที่มีความรับผิดชอบและเหมาะสมในสภาวการณ์ปัจจุบัน เวียดนามกำลังพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของตนในทะเลตะวันออกพร้อมทั้งพยายามธำรงสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ในฐานะประธานอาเซียน 2020 เวียดนามกำลังปฏิบัติมาตรการต่างๆเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีในอาเซียนในการร่วมเสนอจุดยืนเกี่ยวกับปฏิบัติการที่ละเมิดกฎหมายสากลของจีน นอกจากนี้ในฐานะสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเวียดนามกำลังพยายามเพื่อยืนยันจุดยืนของตนในปัญหาทะเลตะวันออกเพื่อได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่างๆ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด