ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งชื่นชมรายงานของรัฐบาล

(VOVworld) – รายงานของรัฐบาลได้ประเมินภาพรวมเกี่ยวกับเศรษฐกิจ-สังคมเวียดนามในเวลาที่ผ่านมา ตลอดจนแนวทางที่เหมาะสมในเวลาที่จะถึง 

ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งชื่นชมรายงานของรัฐบาล - ảnh 1
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งชื่นชมรายงานของรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ

(VOVworld) – จากการรับชมรับฟังพิธีเปิดการประชุมรัฐสภาครั้งที่ 10 สมัยที่ 13 ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์และวิทยุ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหลายคนในกรุงฮานอยได้ชื่นชมและเห็นพ้องกับรายงาน “สถานการณ์เศรษฐกิจ-สังคมปี 2015 และระยะ 5 ปีในช่วงปี 2011-2015 แนวทาง หน้าที่ 5 ปีในช่วงปี 2016-2020และปี 2016” ที่นายกรัฐมนตรีเสนอโดยแสดงความเห็นว่า รายงานของรัฐบาลได้ประเมินภาพรวมเกี่ยวกับเศรษฐกิจ-สังคมเวียดนามในเวลาที่ผ่านมา ตลอดจนแนวทางที่เหมาะสมในเวลาที่จะถึง นาย เหงียนดึกเลือง ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจากเมือง เอียนบ๊าย ได้แสดงความเห็นว่า “รายงานของรัฐบาลได้เกาะติดสถานการณ์ที่เป็นจริงของประเทศ พวกเรามีความปลื้มปิติยินดีต่อผลสำเร็จของประเทศในเวลาที่ผ่านมาและเชื่อมั่นว่า ภายใต้การบริหารของรัฐบาล เศรษฐกิจสังคมของประเทศจะพัฒนามากขึ้นและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจะดีขึ้นเช่นกัน”
ส่วนนาย เหงียนเท้เดียบ อุปนายกสมาคมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเวียดนาม-เยอรมนี เห็นว่า รายงานของรัฐบาลได้ประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของเศรษฐกิจเวียดนามในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาและปี 2015 อย่างถูกต้อง นาย เหงียนเท้เดียบ ได้แสดงความเห็นพ้องว่า “ผมคิดว่า การขยายตัวจีดีพีในปี 2016 ที่รัฐบาลเสนอคือร้อยละ 6.7  เป็นการประเมินเศรษฐกิจของประเทศอย่างถูกต้อง เพราะปัจจุบัน เศรษฐกิจมหภาคได้พัฒนาอย่างมีเสถียรภาพ  โดยเฉพาะอุตสาหกรรมบางแขนงกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว อสังหาริมทรัพย์ก็มีการขยายตัว ระบบธนาคารกำลังได้รับการเสริมสร้างเป็นอย่างดี นโยบายเศรษฐกิจมหภาคได้รับการปฏิบัติเข้าสู่ชีวิต ดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่จะบรรลุเป้าหมายของปี 2016 คือมีการขยายตัวร้อยละ 6.7 ”
ส่วนนาย เหงียนมิงฟอง ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจได้แสดงความเห็นว่า รัฐบาลได้วางหน้าที่ที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้สูงในการปฏิบัติ มีหลายข้อที่เป็นก้าวกระโดดในระยะต่อไป นาย เหงียนมิงฟองได้แสดงความเห็นว่า “ต้องเน้นแก้ไขการปรับปรุงโครงสร้างสถานประกอบการภาครัฐ โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทใหญ่ๆ ตลอดจนแก้ไขแนวทางการพัฒนาและรูปแบบการบริหารของเศรษฐกิจภาคนี้ 2คือแรงกดดันของหนี้สาธารณะซึ่งเห็นได้ว่า  ถึงเวลาแล้วที่ต้องมีมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อควบคุมหนี้สาธารณะให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ตลอดจนแก้ไขปัญหาหนี้เสียเพื่อไม่ให้กลับเป็นหนี้อีก”.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด