การสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในถิ่นปฏิวัติเตินจ่าว

(VOVworld) - ตำบลเตินจ่าว อำเภอเซินเยือง จังหวัดเตวียนกวางเป็นถิ่นปฏิวัติ เป็นโบราณสถานทางประวัติศาสตร์แห่งการปฏิวัติเดือนสิงหาคมปี 1945 ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ   และเป็นหนึ่งใน 3 ตำบลตัวอย่างในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ที่ได้รับการสนับสนุนจากประธานประเทศ เจืองเติ๊นซาง ในการระดมพลังต่างๆเพื่อปฏิบัติโครงการแห่งชาติว่าด้วยการสร้างสรรค์ชนบทใหม่
(VOVworld) - ตำบลเตินจ่าว อำเภอเซินเยือง จังหวัดเตวียนกวางเป็นถิ่นปฏิวัติ เป็นโบราณสถานทางประวัติศาสตร์แห่งการปฏิวัติเดือนสิงหาคมปี 1945 ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ   และเป็นหนึ่งใน 3 ตำบลตัวอย่างในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ที่ได้รับการสนับสนุนจากประธานประเทศ เจืองเติ๊นซาง ในการระดมพลังต่างๆเพื่อปฏิบัติโครงการแห่งชาติว่าด้วยการสร้างสรรค์ชนบท ใหม่
การสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในถิ่นปฏิวัติเตินจ่าว - ảnh 1
ห้องวัฒนธรรมตำบลเตินจ่าว (Photo: baotuyenquang.com)
      เตินจ่าวเป็นตำบลเขตเขา ฉะนั้นจึงประสบความยากลำบากมากในการพัฒนาเศรษฐกิจและการปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่  แต่อย่างไรก็ดี โดยความพยายามฟันฝ่าความลำบากทำให้ประชาชนในตำบลเตินจ่าวได้บรรลุมาตรฐานทั้งหมด 19 มาตรฐานของการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ซึ่งมีมาตรฐานหลักๆคือ การวางผังพัฒนา การคมนาคม ระบบชลประทาน การไปรษณีย์ รูปแบบการผลิต การศึกษา สาธารณสุข วัฒนธรรม การเมือง ความมั่นคง และความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคม  ทั้งนี้ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้รับการปรับปรุงและโฉมใหม่ของเขตชนบทมีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีมากขึ้น  โดยได้มีถนนคอนกรีตที่เข้าถึงทุกซอกทุกซอย บ้านไม้ยกพื้นของชนเผ่าไตได้รับการซ่อมแซมและสร้างใหม่ โรงงานผลิตและบริษัทที่มีกิจกรรมบริการด้านการท่องเที่ยวมีลูกค้ามาอุดหนุนจำนวนมาก และมีกิจกรรมการบันเทิง การออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างสนุกสนานตามศูนย์วัฒนธรรมของหมู่บ้านต่างๆในตำบล  นับตั้งแต่ปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ทางการตำบลตระหนักได้ดีว่า นี่เป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่ต้องการการสนับสนุนจากประชาชนทุกคน ดังนั้นจึงได้มีแนวทางส่งเสริมบทบาทเป็นแกนหลักของประชาชนอย่างแข็งขัน รวมทั้งการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ให้ประชาชนรับรู้และแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง  ทั้งนี้ทำให้โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในตำบลเป็นอย่างยิ่ง นาย เบ๊วันหาย กรรมการคณะกรรมการปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ของตำบลเตินจ่าวเล่าให้ฟังว่า “เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติโครงการเป้าหมายแห่งชาติว่าด้วยการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ก่อนอื่นต้องช่วยให้ประชาชนมีความเข้าใจดีถึงปัญหาต่างๆในท้องถิ่นและมาตรการแก้ไขอย่างเป็นขั้นตอน รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้เกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบในการสร้างสรรค์ถิ่นเกิดและการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ที่ไม่เพียงแต่ทำผลประโยชน์มาให้แก่ครอบครัวและชุมชนในตำบลเท่านั้น หากยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศอีกด้วย”
  หนึ่งในมาตรฐานที่สำคัญที่สุดในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่คือการพัฒนาการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน โดยทางการตำบลเตินจ่าวได้เน้นพัฒนาจุดแข็งของท้องถิ่น ประยุกต์ใช้มาตรการต่างๆเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวและพืช ให้ประชาชนกู้เงินเพื่อพัฒนาการผลิต ถ่ายทอดและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาฟาร์มเกษตรและสวนผลไม้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน  โดยโครงการแปรรูปและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาและการพัฒนาปศุสัตว์เชิงพาณิชย์ได้ประสบผลที่น่ายินดีและช่วยสร้างฐานะให้แก่เกษตรกรในตำบล  นาย ฝุ่งวันมินห์ หนึ่งในเกษตรกรที่ได้รับการช่วยเหลือในการพัฒนาปศุสัตว์จากทางการท้องถิ่นได้เผยว่า “ครอบครัวผมยากจนมาก แต่หลังจากได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อพัฒนาปศุสัตว์ ก็สามารถสร้างบ้านใหม่ได้  นอกจากนี้ ผมยังได้เข้าร่วมการฝึกอบรมเกี่ยวกับเทคนิคการปลูกพืชและการปศุสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างฐานะและสามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้”
  จากเป้าหมายปรับปรุงโครงสร้างแรงงาน ทางการตำบลเตินจ่าวได้มีการวางผังที่ดินเพื่อพัฒนาสาขาอาชีพต่างๆ เช่น การค้าและการบริการ การผลิตสินค้าหัตถกรรม การพัฒนาศูนย์ฝึกสอนอาชีพในตำบลและประสานงานกับศูนย์ฝึกสอนอาชีพอื่นๆในการฝึกสอนและพัฒนาสาขาอาชีพใหม่ๆ การยกระดับฝีมือแรงงานให้แก่เกษตรกร เพิ่มอัตราแรงงานในด้านอุตสาหกรรมและการบริการเพื่อสร้างพื้นฐานให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
  หนึ่งในมาตรฐานที่สำคัญของการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ก็คือการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการก่อสร้างถนนชนบท  มีหลายครอบครัวได้บริจาคที่ดินเพื่อก่อสร้างถนน และกิจการต่างๆด้านวัฒนธรรมและสวัสดิการสังคม  นาย เหงวียนวันหว่า ประธานคณะกรรมการประชาชนตำบลเตินจ่าวกล่าวว่า “สิ่งที่โดดเด่นของโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในตำบลคือโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนาค่อนข้างสมบูรณ์ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการพัฒนาการผลิต  นอกจากนี้ แนวทางพัฒนาการผลิตของประชาชนก็มีการเปลี่ยนแปลงตามแนวทาที่เน้นผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสนองความต้องการของตลาด”
  ทั้งนี้และทั้งนั้น ทำให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรในตำบลเตินจ่าวในปี 2014 ได้เพิ่มขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงที่เพิ่งปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่เมื่อปี 2012 คือ จาก 8 ล้าน 2 แสนด่งต่อคนต่อปี เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 16 ล้านด่งต่อคนต่อปี  ซึ่งมีส่วนร่วมกระตุ้นให้ถิ่นปฏิวัติเตินจ่าวนับวันเจริญพัฒนายิ่งขึ้นในอนาคต.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด