จังหวัดก่าเมาพัฒนาเครื่องหมายการค้าข้าวปลอดสารพิษ

(VOVWORLD) -จากการมีพื้นที่ปลูกข้าวร่วมกับการเลี้ยงกุ้งมากที่สุดในประเทศ จังหวัดก่าเมามีความได้เปรียบในการพัฒนาการปลูกข้าวที่ตอบสนองมาตรฐานการส่งออก ซึ่งทางจังหวัดฯได้สร้างเครื่องหมายการค้า “ข้าวปลอดสารพิษเถยบิ่ง”ที่ได้รับการรับรองจากกรมลิขสิทธิ์ทางปัญญาสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาเครื่องหมายการค้าข้าวปลอดสารพิษ จังหวัดก่าเมาได้กำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่การปลูกข้าวสะอาดร่วมกับการเลี้ยงกุ้งและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อสร้างก้าวกระโดด

จังหวัดก่าเมาพัฒนาเครื่องหมายการค้าข้าวปลอดสารพิษ - ảnh 1ในช่วงฤดูฝนทุกปี เกษตรกรอำเภอเถยบิ่งทำการปรับปรุงดินเพื่อปลูกข้าว

ครอบครัวนาย เจิ่นวันเถียด ตำบลชี้หลึก อำเภอเถยบิ่ง จังหวัดก่าเมามีพื้นที่ปลูกข้าวร่วมกับการเลี้ยงกุ้ง 1.5 เฮกตาร์ ในช่วงฤดูฝนทุกปี ครอบครัวของนาย เจิ่นวันเถียด ได้ทำการปรับปรุงดินเพื่อปลูกข้าวในพื้นที่ประมาณ 1 เฮกตาร์แต่ในเวลาต่อมา   ครอบครัวของนาย เถียด ประสบอุปสรรคในการปลูกข้าวและการเลี้ยงกุ้งเนื่องจากปัญหาดินเค็ม  เมื่อปี 2018 ครอบครัวของนาย เถียด ได้เข้าร่วมสหกรณ์การบริการ การผลิตข้าว-กุ้งชี้ลึหลึก  ซึ่งนาย เถียดได้ทำการปลูกข้าวอินทีย์เพื่อการส่งออกเหมือนสมาชิกของสหกรณ์ฯคนอื่นๆ  โดยต้องค้ำประกันมาตรฐานที่เข้มงวดตั้งแต่การปรับปรุงดิน การกำจัดศัตรูพืช ไม่ใช้ยาและปุ๋ยเคมีและปรับเปลี่ยนมาปลูกพันธุ์ข้าว ST 24 ที่มีคุณภาพสูง ภายหลังปฏิบัติมาเป็นเวลา 2 ปี การปลูกข้าวที่มีคุณภาพสูงให้ผลผลิตสูงกว่าร้อยละ 10 โดยได้มาตรฐานเพื่อส่งออกไปยังทุกตลาด  ราคาขายข้าวของครอบครัวนาย เถียด ก็สูงกว่าราคาในตลาด 500 ด่งต่อกิโลกรัมและ ปีต่อไปคือ 700 ด่งต่อกิโลกรัม นาย เจิ่นวันเถียดได้เผยว่า

“ครอบครัวผมปลูกข้าวในพื้นที่ 1 เฮกตาร์ หลังจากที่ครอบครัวผมเปลี่ยนมาปลูกข้าว ST 24 รายได้ก็เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปีก่อนๆ”

เมื่อปี 2018 สหกรณ์การบริการ การผลิตข้าว-กุ้งชี้หลึกได้รับการจัดตั้ง โดยมีสมาชิก 15 คนและพื้นที่ปลูกข้าวร่วมกับการเลี้ยงกุ้ง 50 เฮกตาร์ ในฤดูเก็บเกี่ยวข้าวแรก ทางสหกรณ์ฯมีพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน 25 เฮกตาร์เท่านั้น แต่อย่างไรก็ดี ประชาชนได้ตระหนักถึงประสิทธิภาพของรูปแบบนี้ จึงร่วมกันปฏิบัติ ในปี 2019  ทางสหกรณ์ฯมีพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์ 117 เฮกตาร์และพื้นที่ปลูกข้าวปลอดสารพิษประมาณ 700 เฮกตาร์  ในปีนี้ มี 540 ครอบครัวได้เชื่อมโยงกับสหกรณ์ฯในการปลูกข้าวอินทรีย์ โดยวางแผนการปลูกข้าวอินทรีย์ในพื้นที่ 200 เฮกตาร์เพื่อส่งออกไปยังตลาดอียู สหรัฐและญี่ปุ่น  นาย เลวันเมือ ผู้อำนวยการสหกรณ์ตำบลชี้หลึกได้เผยว่า การปลูกข้าวอินทรีย์และข้าวปลอดสารพิษไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มผลผลิตและยกระดับคุณภาพของพันธุ์ข้าวเท่านั้นหากยังเอื้อให้แก่การเลี้ยงกุ้ง จากการที่ฤดูเก็บเกี่ยวได้ผลผลิตสูง สมาชิกสหกรณ์ฯก็มีฐานะดีขึ้น ซึ่งประชาชนในท้องถิ่นได้เป็นฝ่ายรุกในการปลูกข้าวอินทรีย์และข้าวปลอดสารพิษเพื่อพัฒนา

จังหวัดก่าเมาพัฒนาเครื่องหมายการค้าข้าวปลอดสารพิษ - ảnh 2การปลูกข้าวอินทรีย์และข้าวปลอดสารพิษไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มผลผลิตและยกระดับคุณภาพของพันธุ์ข้าวเท่านั้นหากยังเอื้อให้แก่การเลี้ยงกุ้งอีกด้วย 

นอกจากสหกรณ์ชี้หลึกที่ขยายพื้นที่การปลูกข้าวปลอดสารพิษ  ในอำเถอเถยบิ่ง  สหกรณ์อื่นๆยังเชื่อมโยงกับเกษตรกรในการปฏิบัติรูปแบบนี้ บนพื้นฐานนี้ เมื่อปี 2019 กรมลิขสิทธิ์ทางปัญญาสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับรอง “ข้าวปลอดสารพิษเถยบิ่ง”ให้แก่อำเภอฯ เมื่อปี 2020 อำเภอเถยบิ่งได้ปลูกข้าวอินทรีย์ในพื้นที่ 800 เฮกตาร์จากจำนวนพื้นที่ปลูกข้าวร่วมกับการเลี้ยงกุ้งประมาณ 2 หมื่นเฮกตาร์  จนถึงปี 2025 อำเภอเถยบิ่งจะมีพื้นที่การปลูกข้าวอินทรีย์ประมาณ 5,000 เฮกตาร์ในจำนวนพื้นที่การปลูกข้าว 21,000 เฮกตาร์ที่ได้รับการรับรองการปลูกข้าวอินทรีย์

ปัจจุบัน สำนักงานที่เกี่ยวข้องของอำเภอเถยบิ่งกำลังปฏิบัติแผนการพัฒนาพื้นที่การปลูกข้าวปลอดสารพิษผสานกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อส่งเสริมจุดแข็งของท้องถิ่น นาย เหงวียนหว่างเลิม หัวหน้าแผนกการเกษตรและพัฒนาชนบทอำเภอเถยบิ่งได้เผยว่า

“เพื่อธำรงเครื่องหมายการค้า “ข้าวปลอดสารพิษเถยบิ่ง” พวกเราได้จัดทำมติเกี่ยวกับการปลูกข้าวอินทรีย์ผสานกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชน เรียกร้องให้สถานประกอบการลงนามสัญญาในการจำหน่ายข้าวและการผลิตตามห่วงโซ่  สำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทางอำเภอฯได้สร้างสรรค์หมู่บ้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว”

จังหวัดก่าเมามีพื้นที่ปลูกข้าวร่วมกับการเลี้ยงกุ้งประมาณ 4 หมื่นเฮกตาร์ โดยส่วนใหญ่อยู่ที่อำเภอเถยบิ่ง ในเวลาที่ผ่านมา ทางการท้องถิ่นและประชาชนได้ให้ความสนใจสร้างเครื่องหมายการค้า “ข้าวปลอดภัยเถยบิ่ง” ในการพัฒนารูปแบบการปลูกข้าวนี้ เกษตกรได้ผสานกับการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม กุ้งกุลาดำและปู ในเวลาที่จะถึง  จะเน้นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่สะอาดเพื่อสร้าง “ผืนดินที่สะอาด”และมุ่งสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด