ชนเผ่าจามในจังหวัดนิงห์ถวน พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนควบคู่กับการส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติ

(VOVWORLD) - การให้บริการการท่องเที่ยวชุมชนเป็นรูปแบบที่ชนเผ่าจามในท้องถิ่นต่างๆ ของจังหวัด นิงห์ถ่วน มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี โดยผู้มาเยือนจะได้สัมผัสกับวิถีชาวบ้าน มีโอกาสได้พักอยู่ในบ้านโบราณ พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนที่นี่

หมู่บ้านจาม ต๊วนตู๊ ตำบล อานหาย อำเภอ นิงห์เฟือก เป็นจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากมีบริการที่แปลกใหม่และหลากหลาย รวมถึงมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับประเทศคือเนินทราย นามเยือง โดยในหมู่บ้านมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมดกว่า 500 ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ซึ่งที่ผู้เดินทางมาเยือนหมู่บ้าน ต๊วนตู๊ ไม่เพียงแต่มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมการแสดงศิลปะวัฒนธรรมพร้อมสัมผัสกับวิถีชีวิตประจำวันของชาวบ้าน เช่น การปลูกผักออร์แกนิค หรือให้อาหารแพะและแกะเท่านั้น หากยังได้มีโอกาสดื่มด่ำกับธรรมชาติที่สดชื่นและเพลิดเพลินไปกับการถ่ายภาพที่เนินทราย นามเยือง อีกด้วย

นาง หวูถิเฮือง สมาชิกของชมรมถ่ายภาพ ยูหมุก ในกรุงฮานอย ได้กลับมาเยือนหมู่บ้านแห่งนี้เป็นครั้งที่สองแล้ว แต่ยังคงมีความประทับใจไม่น้อยกับทัศนียภาพที่สวยงามรวมทั้งภาพสาวจามในชุดอ๊าวหญ่ายตลอดจนกิจกรรมการปลูกผักและให้อาหารสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

“เนินทรายแห่งนี้มีทิวทัศน์ที่สวยงามยิ่ง ซึ่งได้สร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจ พวกเราอยากเก็บภาพเหล่านี้ไว้เพื่อเผยแพร่ความสวยงามของจังหวัดนิงห์ถ่วนให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นต่อไป”

ชนเผ่าจามในจังหวัดนิงห์ถวน พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนควบคู่กับการส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติ - ảnh 1สาวจามบนเดินเนินทราย นามเกือง

สำหรับหมู่บ้านจาม เหิวดึ๊ก ตำบล เฟื้อกเหิว อำเภอ นิงห์เฟื้อก จังหวัด นิงห์ถ่วน ถือเป็นแหล่งกำเนิดของวัฒนธรรมจาม โดยชาวจามที่นี่ได้อนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมดั้งเดิม เช่น ความเชื่อด้านศาสนา งานเทศกาลและประเพณีต่างๆ  นอกจากนี้ ที่นี่ยังมีการรวมตัวของกลุ่มช่างทำเครื่องดนตรีพื้นเมือง ได้แก่ กลองคีนัง กลองพารานึง และปี่ซารานาย ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศจำนวนมากที่มาศึกษาและเรียนรู้ ทั้งนี้ ครอบครัวชาวจามจำนวนมากได้ใช้ประโยชน์จากจุดแข็งดังกล่าวในการพัฒนาบริการด้านการท่องเที่ยว เช่น การออกแบบโปรแกรมทัวร์และสร้างบ้านพักโฮมสเตย์ ปัจจุบัน ในหมู่บ้านจามกว่า 20 แห่งในจังหวัดได้มีการเปิดสถานที่พัก การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หรือการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ เป็นต้น นางเหงวียน ถิ ลาน นักท่องเที่ยวจากนครโฮจิมินห์ ได้เผยว่า

“เมื่อเดินทางถึง ฟานราง ดิฉันได้ไปพักกับครอบครัวของชาวบ้านที่นี่ ซึ่งทำให้ฉันได้สัมผัสความรู้สึกใหม่ๆเพราะเป็นครั้งแรกที่ได้พูดคุยกับชาวจามและได้เห็นขั้นตอนการปลูกผักที่เรากินกันทุกวัน”

ส่วนนางโจว ถิ ถวี่ เวิน  ไกด์นำเที่ยวของหมู่บ้าน ต๊วนตู๊ และนางแบบภาพถ่ายศิลปะของหมู่บ้าน เผยว่า ในทุกๆ เดือน เธอเป็นไกด์ดูแลกลุ่มนักท่องเที่ยวราว 10 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ถึง 10 คน โดยเธอมีรายได้ 3 แสนถึง 4 แสนด่งต่อชั่วโมงจากในการพานักท่องเที่ยวชมชมสถานที่ต่างๆ เข้าร่วมกิจกรรมปลูกผัก เยี่ยมชมฟาร์มแกะ และถ่ายรูปที่เนินทราย ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 ถึง 3 ชั่วโมง นางเวินเผยว่า

“ทำอะไร ลูกค้าก็ชอบไปหมด แต่ตัวเราต้องมีความรู้ การถ่ายภาพต้องมีจุดเด่นและสะท้อนวัฒนธรรมจาม เช่น พิธีฉลองบรรลุนิติภาวะของชาวจามที่นับถือศาสนาบานี งานเทศกาลที่พระปรางค์ หรือเทศกาลเกต เป็นต้น ตัวฉันเองทำงานด้วยใจรักเพื่อหารายได้เลี้ยงดูครอบครัว”

ชนเผ่าจามในจังหวัดนิงห์ถวน พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนควบคู่กับการส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติ - ảnh 2บ้านจามโบราณใน แค๊งห์ลี ฟาร์มสเตย์  

สำหรับ แค๊งห์ลี ฟาร์มสเตย์ ของครอบครัวนาง ด่างถิลี ที่ตั้งขึ้นเมื่อกว่า 2 ปีก่อน ได้ดึงดูดนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากเนื่องจากบรรยากาศที่ร่มรื่นของบ้านชาวจามแบบดั้งเดิมพร้อมด้วยบริการอาหารท้องถิ่นต่างๆ เช่น แกงโบ่ย เนื้อแพะนึ่งเสิร์ฟพร้อมผัก ซุปไก่ เป็นต้น นางซาลีเผยว่า

“แขกที่มาเยือนชอบทานอาหารท้องถิ่นของชาวจามที่ครอบครัวดิฉันทำเท่านั้น รวมถึงบรรยากาศที่ร่มรื่นบวกกับวิวธรรมชาติที่รายล้อม เรายังได้พาพวกเขาไปเที่ยวหลายๆ ที่ ซึ่งหากไม่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดในช่วงที่ผ่านมา แหล่งท่องเที่ยวของชาวจามน่าจะพัฒนามากกว่านี้”

ด้วยกระแสที่นักท่องเที่ยวต้องการค้นหาคุณค่าทางธรรมชาติ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับเอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นเมือง ในอนาคตอันใกล้นี้ เชื่อว่า การท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ของชนเผ่าจามจะมีการพัฒนาอย่างเข้มแข็ง พร้อมสร้างงานทำและรายได้ให้แก่ชาวบ้านด้วยการให้บริการนักท่องเที่ยว รวมถึงการฟื้นฟูการผลิตงานหัตถกรรมพื้นบ้านและอาหารพื้นเมือง ซึ่งจะมีส่วนช่วยรักษาและส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ อีกทั้งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด