ศักยภาพหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศในหมู่บ้าน เกี่ยว ในเจื่องเซินดง

(VOVWORLD) - หมู่บ้านเกี่ยวในตำบล ยางมาว อำเภอ กรงบง จังหวัดดั๊กลัก ตั้งอยู่ใกล้เส้นทางดงเจื่องเซินแห่งตำนานและเชิงเขาของอุทยานแห่งชาติ จือยางซิง มีเงื่อนไขที่สะดวกเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว ด้วยความได้เปรียบด้านประวัติศาสตร์ ระบบนิเวศและวัฒนธรรม หมู่บ้านเกี่ยวกำลังได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศชนบทใหม่ ควบคู่กับวัฒนธรรมชนเผ่าเมอนง
ศักยภาพหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศในหมู่บ้าน เกี่ยว ในเจื่องเซินดง - ảnh 1บ้านพื้นเมืองในหมู่บ้านเกี่ยว 

 

ในตลอดกว่า ๑ ปีที่ผ่านมา นาย อีเกน บีย้า ในหมู่บ้านเกี่ยว ตำบล ยางมาว อำเภอ กรงบง ได้เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศชนบทใหม่ ควบคู่กับวัฒนธรรมของชนเผ่าม้ง นาย อีเกน เผยว่า ทุกวัน เขาต้องดูแลพื้นที่ปลูกกาแฟ ๑ เฮกตาร์ ไม้ผลกว่า ๔๐๐ ต้นเพื่อพัฒนาฟาร์มท่องเที่ยว จนถึงขณะนี้ สวนผลไม้และสวนกาแฟของเขาได้เติบโตงอกงามและกำลังออกผล เมื่อสวนไม้ผลพัฒนาอย่างยั่งยืนจะมีสถานประกอบการเปิดให้บริการทัวร์เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมและศึกษาค้นคว้า “ไม้ผลเหมาะปลูกในเขตดินปนทรายของที่นี่ ทางตำบลและอำเภอแนะนำให้พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการเกษตรควบคู่กับวัฒนธรรม ดังนั้น ผมได้เข้าร่วม พวกเขาจะพานักท่องเที่ยวมาเที่ยวที่นี่ ซึ่งจะสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน พวกเรารู้สึกปลื้มปิติยินดีมาก การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศควบคู่กับชนบทใหม่จะนำผลประโยชน์มาสู่ชาวบ้านมากมาย”

ในโครงการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศและชนบทใหม่ ที่หมู่บ้านเกี่ยว นอกจากการพัฒนาสวนไม้ผลแล้ว ทางท้องถิ่นยังเน้นอนุรักษ์คุณค่าด้านวัฒนธรรมของชนเผ่าม้ง นับตั้งแต่ปฏิบัติโครงการตั้งแต่ต้นปี ๒๐๑๙ การทอผ้าลายพื้นเมืองในหมู่บ้านได้ดำเนินไปอย่างคึกคัก ซึ่งเป็นสัญญาณที่น่ายินดีเพื่อส่งเสริมและรักษาอาชีพทอผ้าลายพื้นเมืองของชาวบ้าน ควบคู่กันนั้น ทางท้องถิ่นยังเน้นลงทุน ก่อสร้างถนนถาวรในชนบท กิจการสาธารณะ ซ่อมแซมบ้านพื้นเมือง เปิดชั้นเรียนสอนการตีฆ้องและรักษาเทศกาลวัฒนธรรมของชนเผ่าม้งในเขตเตยเงวียน นาย อีดราย เมอ ดรัง ประธานคณะกรรมการประชาชนตำบล ยางมาว ได้เผยว่า ปัจจุบัน มี ๘๑ ครอบครัวจากจำนวน ๙๐ ครอบครัวในหมู่บ้านเกี่ยวเข้าร่วมโครงการ ครอบครัวได้รับการช่วยเหลือด้านพันธุ์พืชและปุ๋ยเพื่อพัฒนาสวนไม้ผลในพื้นที่เกือบ ๑๒๐ เฮกตาร์ นอกจากนั้นทางท้องถิ่นยังให้การช่วยเหลือชาวบ้านซ่อมแซมบ้านพื้นเมืองเพื่อเปิดให้บริการที่พักแก่นักท่องเที่ยว “พวกเรากำลังเน้นพัฒนาสวนไม้ผลและส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชนเผ่าม้งในหมู่บ้านเกี่ยวและตำบล ซึ่งเพื่อปฏิบัติงานนี้ พวกเรากำลังประสานกับสำนักงานวัฒนธรรมและการสื่อสารของอำเภอเพื่อฟื้นฟู้วัฒนธรรมต่างๆ เช่นการทอผ้าลายพื้นเมือง คณะตีฆ้อง จัดงานเทศกาลบุญข้าวใหม่ การร้องเพลงพื้นเมือง เออา ไรและเล่นกีตาร์ เป็นต้น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่เราต้องอนุรักษ์และส่งเสริม”

หมู่บ้านเกี่ยวได้รับการก่อตั้งในช่วงกลางศตวรรษที่ ๒๑ โดยชาวบ้านทั้งหมดคือชนเผ่าเมอนง มีพื้นที่ประมาณ ๖ พัน ๕ ร้อยเฮกตาร์ เลียบตามเส้นทางดงเจื่องเซินและเทือบเขา จือ ยาง ซิง ที่สง่างาม และอยู่ในใจกลางเขตโบราณสถานทางประวัติศาสตร์การปฏิวัติของจังหวัดดั๊กลัก

ศักยภาพหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศในหมู่บ้าน เกี่ยว ในเจื่องเซินดง - ảnh 2เส้นทางดงเจื่องเซินตัดผ่านหมู่บ้านเกี่ยว 

นาง เหงียนถิเฟืองเฮี้ยว รองผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดดั๊กลักเผยว่า ด้วยความได้เปรียบด้านธรรมชาติ คนและประวัติศาสตร์ หมู่บ้านเกี่ยวมีศักยภาพในการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศชนบทใหม่ ควบคู่กับวัฒนธรรมพื้นเมืองของท้องถิ่น “เส้นทางคมนาคม ระบบนิเวศ เอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าเมอนงในหมู่บ้านเกี่ยวคือสิ่งที่สะดวกเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวตามโครงการนี้ ในช่วงปี ๒๐๒๐ ถึงปี ๒๐๒๕ สำหรับการวางผังการพัฒนาการท่องเที่ยวที่จังหวัดดั๊กลัก พวกเราจะให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการประชาชนจังหวัดให้ระบุหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เกี่ยว เข้าในโครงการพัฒนากลายเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวสำคัญของท้องถิ่น ซึ่งจะสร้างรายได้ให้แก่ชนกลุ่มน้อยและอนุรักษ์คุณค่าวัฒนธรรมที่นี่”

ทุกปี จังหวัดดั๊กลักต้อนรับนักท่องเที่ยวกว่า ๘ แสน ๑ หมื่นคน เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๑๒ ต่อปี ปัจจุบัน รูปแบบการท่องเที่ยวของท้องถิ่นประกอบด้วย การเที่ยวชมอุทยานแห่งชาติ เขตอนุรักษ์ธรรมชาติ ฟาร์ม สวนไม้ผลและการท่องเที่ยวโฮมเสตย์ เป็นต้น การประสบความสำเร็จในการปฏิบัติรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชนบทใหม่ควบคู่กับวัฒนธรรมดั่งเช่นหมู่บ้านเกี่ยวจะสร้างความหลากหลายด้านผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวให้แก่ท้องถิ่น สร้างงานทำและรายได้ให้แก่ชนกลุ่มน้อย ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมืองและผลักดันการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในท้องถิ่น./.   

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด