หมู่บ้านต่างๆ ในจังหวัดบิ่งเยืองปรับตัวเข้ากับกระแสการพัฒนาใหม่อย่างรวดเร็ว

(VOVWORLD) -เพื่อธำรงและพัฒนาหมู่บ้านศิลปาชีพ โรงงานผลิตต่างๆในจังหวัดบิ่งเยืองได้ปรับตัวเข้ากับกระแสการพัฒนาใหม่ และเชื่อมโยงกับแนวโน้มต่าง ๆ ด้วยการพัฒนารูปแบบ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็วและทันการณ์เพื่อสามารถใช้โอกาสพัฒนาใหม่ สอดคล้องกับตลาดที่หลากหลายทั้งภายในและต่างประเทศ ซึ่งกระบวนการนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากทางการจังหวัดบิ่งเยืองเพื่อช่วยรักษาหมู่บ้านศิลปาชีพต่างๆ
หมู่บ้านต่างๆ ในจังหวัดบิ่งเยืองปรับตัวเข้ากับกระแสการพัฒนาใหม่อย่างรวดเร็ว - ảnh 1สถานประกอบการในหมู่บ้านที่ทำอาชีพพื้นเมืองต่างๆ ในจังหวัดบิ่งเยืองได้ปฏิบัติตามแนวทางใหม่ ๆ เพื่อสามารถคงอยู่และพัฒนาต่อไป

ในช่วงสองปีที่ผ่านมา บรรยากาศการผลิตในโรงงานผลิตเซรามิกต่างๆ ในจังหวัดบิ่งเยืองไม่คึกคักเหมือนเมื่อก่อนเนื่องจากใบสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงหลังวิกฤตโควิด – 19 ดังนั้น เจ้าของโรงงานจึงเกาะติดสถานการณ์ความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม พร้อมทั้งลงทุนด้านเครื่องจักรที่ใช้เทคโนโลยี 4.0 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่สินค้า ยกตัวอย่างเช่น บริษัทเซรามิก มิงลอง 1 บริษัทเซรามิก เกื่องฟาดและบริษัทเซรามิก เฟือกหวูลอง เป็นต้น ซึ่งการแนะนำผลิตภัณฑ์ทั้งในรูปแบบโดยตรงและออนไลน์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์และระบบอี – คอมเมิร์ซต่างๆ ได้ช่วยให้บริษัทเหล่านี้สามารถอยู่รอดได้อย่างเข้มแข็งในตลาดที่ยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 และสถานการ์ความผันผวนในทั่วโลก

นาย เหงียนแถ่งเหลิบ รองผู้อำนวยการบริษัท จักสานแถ่งหลก จำกัด เผยว่า ปัจจุบันทางบริษัทฯ ได้แนะนำราคา รูปแบบและคุณภาพของสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งลูกค้าก็ให้การตอบรับที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงนี้

            “คำสั่งซื้อผ่านอี – คอมเมิร์ซมีเสถียรภาพมาก ปัจจุบัน เรากำลังส่งออกสินค้าไปยังตลาดออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและบางประเทศยุโรป เช่น เดนมาร์ค ถึงแม้ว่าสถานการณ์โลกจะผันผวน แต่บางประเทศยังคงซื้อผลิตภัณฑ์ของเรา เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากลูกค้าชาวยุโรป พวกเขาใช้ผลิตภัณฑ์ของเราประมาณ 1 ปีแล้วก็ซื้อใหม่ ดังนั้น เรายังคงสามารถส่งออกสินค้าได้อย่างมั่นคง”

นอกจากนี้ สถานประกอบการในหมู่บ้านที่ทำอาชีพพื้นเมืองต่างๆ ในจังหวัดบิ่งเยือง เช่น ลงรักขัดเงา แกะสลักไม้ รองเท้าแตะไม้และงานประติมากรรม เป็นต้น ต่างก็ปฏิบัติตามแนวทางใหม่ ๆ เพื่อสามารถคงอยู่และพัฒนาต่อไปในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจโลกประสบปัญหาและใบสั่งซื้อลดลง ซึ่งได้เปลี่ยนวิธีการผลิตและประกอบธุรกิจ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปรับเปลี่ยสู่ยุคดิจิทัลตั้งแต่การบริหารไปจนถึงการผลิต โดยเฉพาะการขายของและการประกอบธุรกิจ ซึ่งหนึ่งในมาตรการแก้ไขของจังหวัดบิ่งเยืองเพื่อธำรงและพัฒนาหมู่บ้านศิลปาชีพต่างๆอย่างยั่งยืนคือการสอดแทรกเข้าในแผนการพัฒนาการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นแนวทางที่ถูกต้องที่ไม่เพียงแต่ช่วยขยายตลาดและเปิดโอกาสส่งเสริมการพัฒนาการผลิตสินค้าของหมู่บ้านศิลปาชีพเท่านั้น หากยังมีส่วนร่วมอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมที่เก่าแก่ของหมู่บ้านศิลปาชีพเหล่านี้อีกด้วย ศิลปิน ดิงกงเถียว ชาวบ้านในหมู่บ้านลงรักขัดเงาแห่งหนึ่งกล่าวว่า

            “เรามีความปรารถนาว่า ภาครัฐและทางการจังหวัดจะช่วยเชื่อมโยงกับนักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเยอะ ก็จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของเรามากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้อาชีพนี้พัฒนาต่อไป”

นาย เหงียนแทงฟอง รองผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดบิ่งเยืองได้เผยว่า ทางสำนักงานฯ ได้มอบหมายหน้าที่ให้ศูนย์ส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยวจัดโปรแกรมประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวรับทราบเกี่ยวกับหมู่บ้านศิลปาชีพเหล่านี้มากขึ้น โดยในปี 2022 บริษัทนำเที่ยวได้จัดทัวร์พานักท่องเที่ยวมาเที่ยวหมู่บ้านเหล่านี้

            “ทางสำนักงานเสนอให้สำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทผลักดันการรับรองผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านเหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์ OCOP แล้วนำมาประชาสัมพันธ์ในงานแสดงสินค้าและเว็บไซต์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเพื่อช่วยให้สินค้าต่างๆของหมู่บ้านศิลปาชีพในจังหวัดบิ่งเยืองได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างจังหวัด”

จากการเป็นฝ่ายรุกในการปรับเปลี่ยนเพื่อปรับตัวเข้ากับกระแสการพัฒนาใหม่ พร้อมกับการปฏิบัติมาตรการสนับสนุนต่างๆ หมู่บ้านศิลปาชีพรวม 32 แห่งโดยมีอาชีพพื้นเมือง 9 อย่างในจังหวัดบิ่งเยืองกำลังได้รับการอนุรักษ์และพัฒนา ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยธำรงคุณค่าด้านวัฒนธรรมพื้นเมืองเท่านั้น หากยังมีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของท้องถิ่นอีกด้วย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด