โครงการสามัคคีคืนน้ำสู่แม่น้ำด้วยการคืนรากแก้วสู่ดินที่จังหวัดจันทบุรี
(VOVWorld) – ในสภาวการณ์ที่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกำลังเป็นไปอย่างซับซ้อน ทางการและประชาชนในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังพยายามแสวงหาและปฏิบัติมาตรการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คณะผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนามได้เดินทางไปเยือนจังหวัดจันทบุรี ทางภาคตะวันออกของไทย เพื่อศึกษาวิธีรักษาความชุ่มชื่นในดินด้วยการใช้ใบไม้แห้งคลุมผิวดินนอกเหนือจากการสร้างเหมืองฝายหรือระบบส่งน้ำซึ่งเป็นหนึ่งในเทคนิคที่โครงการสามัคคีคืนน้ำสู่แม่น้ำด้วยการคืนรากแก้วสู่ดินกำลังร่วมกับพี่น้องชาวจังหวัดจันทบุรีปฏิบัติอยู่ในขณะนี้
(VOVWorld) – ในสภาวการณ์ที่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกำลังเป็นไปอย่างซับซ้อน ทางการและประชาชนในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังพยายามแสวงหาและปฏิบัติมาตรการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คณะผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนามได้เดินทางไปเยือนจังหวัดจันทบุรี ทางภาคตะวันออกของไทย เพื่อศึกษาวิธีรักษาความชุ่มชื่นในดินด้วยการใช้ใบไม้แห้งคลุมผิวดินนอกเหนือจากการสร้างเหมืองฝายหรือระบบส่งน้ำซึ่งเป็นหนึ่งในเทคนิคที่โครงการสามัคคีคืนน้ำสู่แม่น้ำด้วยการคืนรากแก้วสู่ดินกำลังร่วมกับพี่น้องชาวจังหวัดจันทบุรีปฏิบัติอยู่ในขณะนี้
|
น้ำตกพริ้ว(Photo:tourdulichthailan.net.vn) |
นายพิสิทธิ์ ประสม เจ้าของสวนผลไม้บนพื้นที่กว่า๕๐เฮกตาร์ที่กำลังใช้สามง่ามเกลี่ยใบไม้แห้งกล่าวว่า เขาใช้ใบไม้แห้งคลุมผิวดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน ซึ่งเป็นวิธีการที่ชาวสวนในจังหวัดจันทบุรีทำกันซึ่งช่วยลดปริมาณน้ำที่ใช้ในการดูแลสวนซึ่งสิ่งนี้ก็เป็นคำตอบให้แก่คำถามในใจของพวกเราเมื่อก้าวเท้าเข้าสวนแทบทุกแห่งในจังหวัดจันทบุรีที่ต่างก็มีใบไม้แห้งคลุมผิวดิน นายพัศพงค์ ชินอุดมพงศ์ นายกสมาคมคืนรากแก้วสู่ดินซึ่งเป็นเจ้าของโครงการแนะนำให้คณะผู้สื่อข่าวของเราทราบว่า โครงการสามัคคีคืนน้ำสู่แม่น้ำด้วยการคืนรากแก้วสู่ดินได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและสำนักพระราชวัง โดยเริ่มปฏิบัติเมื่อปี๑๙๙๖ ในสภาวการณ์ที่จังหวัดต่างๆของไทย รวมทั้งจังหวัดจันทบุรีที่ขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงในช่วงหน้าแล้งจนแม่น้ำและน้ำตกพลิ้วแห้งขอด ในกระบวนการปฏิบัติโครงการก็ให้ความสำคัญต่อการประชาสัมพันธ์ผ่านการเสวนาและสัมมนาเพื่อยกระดับความรู้และจิตสำนึกของชุมชน โดยเฉพาะ เยาวชน ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและปลูกป่า เทปภาษาไทย
จุดเด่นของโครงการนี้คือ การปลูกไม้ยืนต้นแซมกับต้นผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสมซึ่งจะได้ประโยชน์สองอย่าง ๑คือ เมื่อไม้ยืนต้นโตแล้ว รากจะช่วยพยุงดินและน้ำทำให้ดินมีความชุ่มชื้นและต้นผลไม้สามารถเจริญเติบโตได้ดี ๒คือ สามารถตัดเอาไม้ยืนต้นที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจไปจำหน่ายได้ซึ่งในตอนแรก ประชาชนมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของไม้ยืนต้นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตผลไม้ แต่หลังการทดลองช่วงหนึ่งก็ได้รับคำตอบในข้อกังวลเหล่านี้ นายพิสิทธิ์ ประสมเจ้าของสวนกล่าวว่า เทปภาษาไทย
ในหลายปีที่ผ่านมา โครงการนี้ได้เกิดประสิทธิผลอย่างจริงจัง จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการนับวันยิ่งเพิ่มขึ้น ปริมาณน้ำที่ใช้ในการรดสวนผลไม้ลดลงครึ่งหนึ่ง มีส่วนช่วยลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภค นายพัศพงค์ ชินอุดมพงศ์ กล่าวว่า ควรขยายผลโครงการนี้ไปยังท้องถิ่นต่างๆ เทปภาษาไทย
เมื่อมาเยือนจังหวัดจันทบุรี พวกเราได้เห็นวิธีการดูแลสวนไม้ผลของชาวท้องถิ่นที่นี่นั่นคือ นำเหล้ามาผสมกับหัวกรองบุหรี่เพื่อป้องกันแมลงซึ่งเราไม่ทราบว่า วิธีการนี้มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เช่นไรแต่คนที่นี่ใช้วิธีนี้มากันนานแล้วเพื่อรักษาปริมาณและ คุณภาพของผลไม้ พร้อมทั้งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและแหล่งน้ำเพื่อรักษาสีเขียวของสวนผลไม้ มาที่นี่ พวกเราจึงเข้าใจได้ว่า ทำไมจันทบุรีจึงได้รับฉายาว่า เมืองแห่งผลไม้ ./.
Thu Phương