เรื่องราวการส่งท้ายความหลังต้อนรับสิ่งใหม่ๆในวันส่งท้ายปีเก่า

( VOVworld )-เทศกาลตรุษเต็ตตามจันทรคติเป็นเทศกาลตามประเพณีของชาติที่สำคัญที่สุดของคนเวียดนาม โดยชาวเวียดนามถือว่า เมื่อตรุษเต็ตเวียนมาสิ่งใหม่ๆก็จะมาแทนสิ่งเก่าๆ ด้วยเหตุนี้ ในวันส่งท้ายปีเก่า ทุกบ้านจะปฏิบัติประเพณีคืออำลาความหลังและต้อนรับสิ่งใหม่ๆ



( VOVworld )-เทศกาลตรุษเต็ตตามจันทรคติเป็นเทศกาลตามประเพณีของชาติที่สำคัญที่สุดของคนเวียดนาม โดยชาวเวียดนามถือว่า เมื่อตรุษเต็ตเวียนมาสิ่งใหม่ๆก็จะมาแทนสิ่งเก่าๆ ด้วยเหตุนี้ ในวันส่งท้ายปีเก่า ทุกบ้านจะปฏิบัติประเพณีคืออำลาความหลังและต้อนรับสิ่งใหม่ๆ
เรื่องราวการส่งท้ายความหลังต้อนรับสิ่งใหม่ๆในวันส่งท้ายปีเก่า - ảnh 1
ถาดผลไม้ ๕ อย่างที่ขากไม่ได้ในตรุษเต็ต

ช่วงเวลาสุกดิบระหว่างปีเก่ากับปีใหม่เป็นช่วงเวลาที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยชาวเวียดนามทุกคนให้อภัยกันในสิ่งที่ไม่ดีในปีที่ผ่านมาเช่นการมีปากมีเสียงกันและความขัดแย้งกันเพื่อรับสิ่งที่ดีๆในปีใหม่ ขนบธรรมเนียมนี้ได้ปฏิบัติกันมาแต่บรรพบุรุษจนกลายเป็นวัฒนธรรมของคนเวียดนามทุกวันนี้  นักประวัติศาสตร์เซืองจูงก๊วกกล่าวถึงขนบธรรมเนียมนี้ว่า  “ ตรุษเต็ตมีความหมายของการเริ่มต้น ส่วนคืนวันที่ ๓๐ ตรุษเต็ตมีความหมายของคืนไล่สิ่งชั่วร้ายและเป็นช่วงเวลาคาบเกี่ยวจากวันนี้สู่วันรุ่งขึ้น ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของฟ้าและดิน การเปลี่ยนแปลงของเทวดาและการเปลี่ยนแปลงในตัวมนุษย์ มนุษย์มีอายุเพิ่ม ๑ ปี มีความทรงจำเพิ่มขึ้นและกำลังมุ่งสู่อนาคต วินาทีนั้นยังเป็นสัญญาณบ่งบอกอนาคตด้วย

ก่อนเทศกาลตรุษเต็ตครึ่งเดือน ทุกบ้านเริ่มทำความสะอาดบ้านเช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน ทำความสะอาดประตูบ้าน สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ และกระจกหน้าต่าง ทาสีบ้านและบานประตู  อันเป็นการทิ้งสิ่งเก่าๆและไล่โชคร้ายออกจากบ้านเพื่อต้อนรับสิ่งใหม่ๆดีๆของปีใหม่ ทั้งนี้คือขนบธรรมเนียมส่งท้ายความหลังต้อนรับสิ่งใหม่ๆ  นายเหงวียนฮึงลอง ข้าราชการครูที่เกษียรอายุราชการเห็นว่า  “ ขนบธรรมเนียมดังกล่าวมาจากความประสงค์และความฝันของคนเวียดนามคือ เมื่อถึงสิ้นปี ทุกคนต่างประสงค์ว่า ความโชคร้ายและสิ่งที่ไม่ดีของปีที่ผ่านมาจะผ่านพ้นไปกลายเป็นอดีต  และต้อนรับสิ่งที่ดีๆและใหม่ๆพร้อมกับความโชคดีมาสู่ทุกบ้าน

เรื่องราวการส่งท้ายความหลังต้อนรับสิ่งใหม่ๆในวันส่งท้ายปีเก่า - ảnh 2
หิ้งบูชาและอาหารไหว้บรรพบุรุษในวันส่งท้ายปีเก่า

นอกจากจัดบ้านให้สะอาดเรียบร้อยแล้ว ยังต้องตบแต่งบ้านให้สวยงามกว่าวันธรรมดาเพื่อรับความสุขและโชคลาภเข้าบ้านในปีใหม่ประเพณีของชาติ คุณป้าเหงวียนถิ่งา อาศัยในเขต ๑ นครโฮจิมินห์เปิดเผยว่า  “ เมื่อตรุษเต็ตเวียนมา ป้าทำความสะอาดบ้าน จัดบ้านให้สวยงาม ซื้อไม้ประดับและต้นเหมยมาประดับบ้าน ซึ่งทางภาคเหนือเขามักจะประดับบ้านด้วยดอกท้อ ป้าซื้อของขวัญมอบให้แก่ญาติ ป้ายังซื้อผลไม้ ๕ อย่างเพื่อจัดถาดผลไม้ไหว้บรรพบุรุษและเตรียมของเซ่นไหว้ในวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ซื้ออาหารทำกับข้าวเพื่องานพบปะสมาชิกทุกคน  การจ่ายนั้นประกอบด้วยการเลือกของวัญให้แก่ญาติและเตรียมอาหารใน ๓ วันตรุษเต็ต

ในช่วงวันใกล้ตรุษเต็ต ผู้ชายต้องทำหน้าที่ตบแต่งหิ้งบูชาบรรพบุรุษ  ส่วนผู้หญิงเตรียมอาหารและเครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ทั้งนี้เพื่อแสดงความสำนึกของลูกหลานต่อบุญคุณของบรรพบุรุษ ดร.ดินห์เฟืองซุย นักวิจัยวัฒนธรรมพื้นบ้านเห็นว่า  “ ความหมายสำคัญของประเพณีไหว้บรรพบุรุษคือ การรายงานเกี่ยวกับผลสำเร็จในหนึ่งปีที่ผ่านมา จากนั้นลูกหลานจะร่วมกันรับประทานอาหาร  ประเพณีเซ่นไหว้บรรพบุรุษเป็นประเพณีที่ดีงามของคนเวียดนามที่อนุรักษ์มาถึงทุกวันนี้เพื่อเป็นการย้ำเตือนให้ลูกหลานทราบเกี่ยวกับรากเหง้าคือ มีบรรพบุรุษ มีปู่ย่าตายายและพ่อแม่จึงมีลูกหลานในทุกวันนี้ และได้รับบุญกับความสำเร็จดั่งทุกวันนี้

เรื่องราวการส่งท้ายความหลังต้อนรับสิ่งใหม่ๆในวันส่งท้ายปีเก่า - ảnh 3
อั่งเปา

เย็นวันส่งท้ายปีเก่าบรรยากาศในทุกบ้านจะสนุกคึกครึ้นเพราะสมาชิกทุกคนมาพร้อมหน้าเพื่อร่วมรับประทานอาหารกันเพื่อคุยกันเกี่ยวกับเรื่องดีเรื่องเศร้าและเรื่องทำมาหากินในหนึ่งปีที่ผ่านมา  ท่ามกลางอากาศหนาวเย็นและกลิ่นหอมของควันธูป สมาชิกทุกคนในครอบครัวนั่งกินข้าวกันและเล่าเรื่องทำมาหากินกับปู้ย่าตายายและพ่อแม่  ส่วนทุกท่านได้เตือนลูกหลานถึงสิ่งที่ต้องทำในปีใหม่และอภัยให้แก่กัน นำสิ่งดีๆและความโชคดีเข้ามาในปีใหม่ ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด