สะพานลองเบียนจากข้อมูลของฝรั่งเศสที่ยังหลงเหลืออยู่

( VOVworld )-  สะพานลองเบียนเริ่มลงมือก่อสร้างในปีค.ศ.๑๘๙๘และแล้วเสร็จในปีค.ศ.๑๙๐๒  นี่เป็นสะพานเหล็กข้ามแม่น้ำห่งหรือแม่น้ำแดงโดยบริษัทเดย์เดเอปีเล( Dayde’ &Pile’)รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งเป็นสะพานที่ใหญ่ที่สุดของอินโดจีนสมัยนั้นและเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเวียดนามที่เป็นเมืองขึ้นมาเกือบ๑ศตวรรษ เอกสารเกี่ยวกับการออกแบบ การก่อสร้างและการซ่อมบำรุงสะพานลองเบียนยังคงมีความสมบูรณ์อยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ ซึ่งเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากอดีตสู่ปัจจุบันของสถาปัตยกรรมที่สวยงามแห่งนี้


( VOVworld )-  สะพานลองเบียนเริ่มลงมือก่อสร้างในปีค.ศ.๑๘๙๘และแล้วเสร็จในปีค.ศ.๑๙๐๒  นี่เป็นสะพานเหล็กข้ามแม่น้ำห่งหรือแม่น้ำแดงโดยบริษัทเดย์เดเอปีเล( Dayde’ &Pile’)รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งเป็นสะพานที่ใหญ่ที่สุดของอินโดจีนสมัยนั้นและเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเวียดนามที่เป็นเมืองขึ้นมาเกือบ๑ศตวรรษ เอกสารเกี่ยวกับการออกแบบ การก่อสร้างและการซ่อมบำรุงสะพานลองเบียนยังคงมีความสมบูรณ์อยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ ซึ่งเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากอดีตสู่ปัจจุบันของสถาปัตยกรรมที่สวยงามแห่งนี้
สะพานลองเบียนจากข้อมูลของฝรั่งเศสที่ยังหลงเหลืออยู่ - ảnh 1

แต่ละวันมีผู้คนสัญจรผ่านไปมาบนสะพานลองเบียนอย่างไม่ขาดสาย ซึ่งหลายๆคนมักจะเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า ที่มาของสะพานลองเบียนเป็นอย่างไร  วันนี้แทงเหวี่ยนขอเฉลยคำถามดังกล่าว   ปีค.ศ.๑๘๙๘ ท่านโปน ดูแมร์ ผู้สำเร็จราชการในอินโดจีนได้ให้ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำห่งหรือแม่น้ำแดงที่เชื่อมฝั่งฮานอยกับฝั่งชานเมืองคือยาเลิม ท่านได้เลือกบริษัท เดย์เดเอปีเล( Dayde’ &Pile’)เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างด้วยเงินได้รับอนุญาตเบิกจ่าย ๕ล้าน ๙แสนฟรังแต่เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็น ๖ ล้าน ๒ แสนฟรัง  นายเลฮุยต๊วนเจ้าหน้าที่ศูนย์จดหมายเหตุแห่งชาติหมายเลข ๑ เปิดเผยว่า “ นี่เป็นกิจการก่อสร้างสำคัญ  ผู้สำเร็จราชการในอินโดจีนให้ความสนใจต่อการใช้ประโยชน์ของประเทศเมืองขึ้น ดังนั้นท่านจึงสนใจพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขนส่งสินค้าจากใจกลางเขตที่ราบแม่น้ำห่งหรือแม่น้ำแดงไปยังเมืองท่าไฮฟองและจากไฮฟองไปยังฮานอย  ซึ่งขณะนั้นการขนส่งสินค้าใช้เรือข้ามฟากเพราะยังไม่มีสะพานข้ามแม่น้ำห่งแต่อย่างใด การออกแบบสะพานเพื่อทางรถไฟเป็นหลักแต่ก็ออกแบบเพื่อทางรถด้วย  มี๖บริษัทเข้าร่วมการประมูลก่อสร้างสะพานแต่บริษัท Dayde’ &Pile’ออกแบบสะพานได้ชนะการประมูล

ภายหลัง ๔ ปีสะพานได้รับการก่อสร้างเสร็จและรถไฟเที่ยวแรกจากสถานีรถไฟฮานอยที่มีผู้โดยสารพิเศษคือกษัตริย์แถ่งท้ายและท่านโปล ดูแมร์โดยสารไปยังคอสะพานเพื่อเข้าร่วมพิธีเปิดท่ามกลางการเข้าร่วมของชาวฮานอยหลายพันคน  ในโอกาสนี้ สะพานที่ใหญ่ที่สุดในอินโดจีนได้ถูกตั้งชื่อว่าโปล ดูแมร์ ซึ่งเป็นชื่อของท่านสำเร็จราชการและเป็นผู้ให้กำเนิดสะพาน ท่านโปล ดูแมร์ก็ได้อนุญาตนำเข้าดำเนินการทางรถไฟสายจากฮานอยไปยังชายแดนที่ติดกับจีนและทางรถไฟสายฮานอย-ยาเลิม  ตั้งแต่นั้นมาการสัญจรไปมาของชาวภาคเหนือได้สะดวกสบายมากขึ้นโดยเฉพาะในฤดูฝนและน้ำหลากและไม่มีคนใช้ท่าเรือข้ามฟากอีกแล้ว สะพานเหล็กโปล ดูแมร็ได้ส่งผลต่อการใช้ประโยชน์จากประเทศเมืองขึ้นของฝรั่งเศสสะดวกขึ้น ส่วนการคมนาคมระหว่างฮานอยกับจังหวัดภาคเหนือก็สะดวกมากขึ้น  ต่อมาในเดือนกรกฎาคมปีค.ศ.๑๙๔๕ นายแพทย์เจิ่นวันลาย ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการกรุงฮานอยสมัยนั้นได้เปลี่ยนชื่อสะพานมาเป็นลองเบียนจนถึงปัจจุบัน  นายหวูวันถี่นชาวฮานอยที่มีชีวิตที่ผูกพันกับสะพานลองเบียนเล่าว่า “ ในช่วงที่ประเทศทำสงครามต่อต้านศัตรูผู้รุกรานมีการติดตั้งปืนใหญ่ที่สะพานเพื่อยิงเครื่องบินของศัตรู  สะพานลองเบียนสวยและโรแมนติกและมีสถาปัตยกรรมสวยงามซึ่งมีรูปลักษณ์ของมังกร หากได้รับการซ่อมแซม สะพานลองเบียนจะเป็นสะพานที่หายากหนึ่งไม่มีสองไม่เพียงแต่ในเขตอินโดจีนเท่านั้น หากยังในภูมิภาคอีกด้วย

สะพานลองเบียนจากข้อมูลของฝรั่งเศสที่ยังหลงเหลืออยู่ - ảnh 2
สะพานลองเบียนในอดีต

ภายหลังใช้งานมาเป็นเวลา ๒๐ ปีสะพานลองเบียนได้รับการขยายกว้างขึ้นสองข้าง โดยเพิ่มถนนหนึ่งเลนและฟุตบาทบนสะพาน แต่ละเลนกว้าง ๒ เมตรและฟุตบาทสำหรับคนเดินกว้าง ๑ เมตรโดยบริษัท Dayde’ &Pile’รับเหมาก่อสร้างเช่นกัน ต่อมาในปีค.ศ.๑๙๒๔ ผู้สำเร็จราชการอินโดจีนได้ประกาศระเบียบการสัญจรไปมาบนสะพานอย่างละเอียดว่า คนเดินจะต้องเดินบนฟุตบาทแต่ต้องเดินสวนกับยานพาหนะที่อนุญาตให้วิ่งด้วยความเร็วไม่เกิน๑๕กิโลเมตรต่อชั่วโมง ห้ามเผาขยะและก่อไฟบนสะพาน สัตว์ใช้ขนส่งหรือลากที่มีคนบังคับสามารถเดินผ่านสะพานตลอด ๑๔ ชั่วโมง ส่วนฝูงสัตว์นั้นอนุญาตให้เดินผ่านสะพานตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนจนถึงเช้ามืด

นสพ.เอเวล เอโกโนมิก (Eveil Economique) รายสัปดาห์ ฉบับ ๓๘๗ ในช่วงนั้นได้เสนอข่าวเกี่ยวกับข้อเสนอก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำห่งหรือแม่น้ำแดงแห่งที่สอง อย่างไรก็ดี คนฝรั่งเศสไม่มีโอกาสแปรข้อเสนอดังกล่าวให้เป็นความจริงเพราะเหตุผลทางเศรษฐกิจและพวกเขาต้องยุติการขุดรีดประเทศเมืองขึ้นในภาคเหนือเวียดนามในปีค.ศ.๑๙๕๔  แต่ข้อคิดนี้ยังคงทรงคุณค่าต่อนักวางแผนสถาปัตยกรรมฮานอย  นายเลฮุยต๊วนเจ้าหน้าที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติหมายเลข๑เปิดเผยว่า  “ สะพานนี้ถูกก่อสร้างเพื่อการใช้ประโยชน์จากประเทศเมืองขึ้นของฝรั่งเศสแต่ก็ช่วยขยายการคมนาคมให้แก่คนเวียดนามและเราต้องอนุรักษ์ไว้  นับเป็นกิจการคมนาคมสำคัญที่ส่งผลดีต่อการขนส่งสินค้า เป็นกิจการทางประวัติศาสตร์ที่มีความหมายทางวัฒนธรรม อีกทั้งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ในปีค.ศ.๑๙๕๕ ทหารฝรั่งเศสถอนออกจากเวียดนามกลับประเทศต้องผ่านสะพานแห่งนี้เพื่อเดินทางไปยังท่าเรือไฮฟองลงเรือกลับประเทศ

ปัจจุบัน ฮานอยมีสะพานที่ทันสมัยอีกหลายแห่งเช่น เจืองเซือง ทังลอง แทงจี่ เหญิตเติน  แต่สะพานลองเบียนที่เก่าแก่มีอายุ ๒ ศตวรรษยังคงทำหน้าที่ของตนอย่างขมักเขม้นเหมือนคนเวียดนามที่ขยันทำงานคือ เป็นเส้นทางข้ามแม่น้ำห่งหรือแม่น้ำแดงของยานพาหนะต่างๆเช่นรถไฟ รถจักรยานยนต์ จักรยานและพาหนะอื่นๆ สะพานลองเบียนเป็นสะพานเชื่อมอดีตสู่ปัจจุบันที่มีคุณค่าทางจิตใจที่ขาดมิได้สำหรับคนฮานอย ./.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด