สำรวจกลุ่มปราสาทจามที่สร้างจากอิฐที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในจังหวัดบิ่งดิ่ง
(VOVWORLD) - ปราสาทเยืองลอง ในจังหวัดบิ่งดิ่งสร้างขึ้นในราวศตวรรษที่ 12-13 ซึ่งมีสถาปัตยกรรมแบบเขมร เป็นกลุ่มปราสาทอิฐที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน
ลุ่มปราสาทจามที่สร้างจากอิฐที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
|
|
|
ปราสาทเยืองลอง ตั้งอยู่บนเนินสูงในตำบล เตยบิ่ง อำเภอ เตยเซิน จังหวัดบิ่งดิ่ง ห่างจากตัวเมืองกวีเยิน ประมาณ 50 กม. สถาปัตยกรรมของปราสาทเยืองลองได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมรและในช่วงที่วัฒนธรรม จามปา เจริญรุ่งเรืองสูงสุด
|
|
กลุ่มปราสาทนี้ถือเป็นงานสถาปัตยกรรมของจามปาที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุดในภูมิภาคภาคกลางของเวียดนาม และยังเป็นกลุ่มปราสาทอิฐที่สูงที่สุดในเวียดนาม
|
|
เช่นเดียวกับปราสาทจามอื่นๆ ในจังหวัดบิ่งดิ่ง ปราสาทเยืองลองตั้งอยู่บนเนินเขาสูงตามหลักความเชื่อของชาวเขมร
|
|
ความแตกต่างของปราสาทแต่ละหลังสะท้อนผ่านงานประติมากรรมที่แกะสลักอย่างประณีตโดยช่างฝีมือจามในอดีต หลังจากผ่านกาลเวลาหลายพันปี ฐานหินใต้ประตูยังคงสภาพสมบูรณ์
|
|
หินบนยอดปราสาทได้รับการตกแต่งอย่างประณีตด้วยลวดลายกลีบดอกบัวและรูปทรงที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ |
|
รูปทรงเต้านมของหญิงสาวที่กลมกลึงเป็นสัญลักษณ์ของเทพี อุโรชะ
|
|
ตัวปราสาทของกลุ่มปราสาทเยืองลองสร้างจากอิฐ ส่วนมุมต่างๆ ประกอบด้วยหินแกะสลักอย่างประณีต
|
|
หนึ่งในลักษณะที่สะท้อนอิทธิพลของวัฒนธรรมเขมรได้ชัดเจนคือรูปสลักพญานาค Naga ซึ่งมีทั้งพญานาค 1 เศียร พญานาค 3 เศียร และพญานาค 5 เศียร จากการค้นพบปราสาทเยืองลองเพื่อการบูรณะในปี 2006 ปี 2007 และปี 2008 นักโบราณคดีค้นพบวัตถุโบราณจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นประติมากรรมเกี่ยวกับพญานาค
|
|
อิฐที่ใช้สร้างปราสาทจามมีลักษณะพิเศษคือมีรูพรุน สามารถดูดซับน้ำได้ดี และคายความชื้นเมื่ออากาศร้อน ทำให้มีความแข็งแรงคงทนมานานหลายศตวรรษ
|
|
แม้ว่ากลุ่มปราสาทจะได้รับความเสียหายจากกาลเวลาและกิจกรรมของมนุษย์ แต่เอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมยังคงไม่เลือนหาย
|
|
ปราสาทเยืองลองได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานด้านสถาปัตยกรรมและศิลปะโดยกระทรวงวัฒนธรรมและสารสนเทศในปี 1980 และได้รับการจัดอันดับเป็นโบราณสถานแห่งชาติพิเศษโดยนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2015
|
รวบรวมโดย Nguyễn Gia/VTCnews