การอนุรักษ์เพลงทำนองวี้และหยัมให้เป็นมรดกของมนุษยชาติตลอดกาล
Phuong Thuy-Thu Hoa -  
( VOVworld )-หลังจากที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติจากองค์การยูเนสโก งานที่ทางการจังหวัดเหง่อานและห่าติ่งซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดเพลงทำนองวี้และหยัมต้องลงมือทำทันทีคือการอนุรักษ์เพลงพื้นเมืองสองประเภทดังกล่าวให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน แต่งานอนุรักษ์ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะบรรยากาศการแสดงของเพลงวี้และหยำคือสวนหม่อนและท่าน้ำได้หายไปอย่างสิ้นเชิงตามแนวโน้มการพัฒนาชนบทเป็นตัวเมือง แต่ก็ยังมีสโมสรเพลงวี้และหยัมตามหมู่บ้านตำบลที่มีส่วนช่วยอนุรักษ์เพลงประเภทนี้ให้แก่คนรุ่นหลังสืบสานต่อไป
( VOVworld )-หลังจากที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติจากองค์การยูเนสโก งานที่ทางการจังหวัดเหง่อานและห่าติ่งซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดเพลงทำนองวี้และหยัมต้องลงมือทำทันทีคือการอนุรักษ์เพลงพื้นเมืองสองประเภทดังกล่าวให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน แต่งานอนุรักษ์ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะบรรยากาศการแสดงของเพลงวี้และหยำคือสวนหม่อนและท่าน้ำได้หายไปอย่างสิ้นเชิงตามแนวโน้มการพัฒนาชนบทเป็นตัวเมือง แต่ก็ยังมีสโมสรเพลงวี้และหยัมตามหมู่บ้านตำบลที่มีส่วนช่วยอนุรักษ์เพลงประเภทนี้ให้แก่คนรุ่นหลังสืบสานต่อไป
คุณเจิ่นถิ่เฮืองเข้าร่วมสโมสรเพลงพื้นเมืองกวิ่งเหิ่ว อำเภอกวิ่งลิว จังหวัดเหง่อานมาครบ ๑๐ ปีพอดี คุณเฮืองคุยว่า เธอมีเวลาว่างไม่มากนักเพราะต้องทำไร่ทำนาโดยหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จก็ต้องปลูกข้าวโพธ ดูแลสวนถั่วลิสงและสวนมันเทศและมันฝรั่ง ดังนั้นการที่ให้สโมสรดำเนินกิจกรรมโดยไม่ถูกทิ้งช่วงนั้นเป็นความพยายามของสมาชิกทุกคน คุณเฮืองทั้งฝึกร้องเพลงทำนองวี้และหยัมทั้งสะสมและจดคำร้องให้แก่รุ่นลูกรุ่นหลาน คุณเฮืองกล่าวว่า “ ดิฉันเข้าร่วมสโมสรเพราะความหลงไหลในเพลงทำนองวี้และหยัม และอีกเหตุผลคือ เห็นพี่ๆรุ่นก่อนเข้าร่วมและฝึกร้องอย่างสนุกสนาน ครอบครัวของดิฉันต้องทำงานหนักมากเพราะมีเครื่องจักรกล กำลังเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มและมีสระด้วย ซึ่งความตรากตรำนั้นทำให้ดิฉันอยากเดินตามรุ่นพี่ๆซึ่งเป็นการส่งเสริมให้กำลังใจดิฉันด้วย จากการให้กำลังใจของรุ่นพี่และความหลงไหลของตัวเอง ดิฉันจึงพยายามฝึกร้องให้ไพเราะ ”
คุณฝ่ามถี่หงอกแอ๊ง ครูโรงเรียนมัธยมต้นวินห์เติน เมืองวินห์ จังหวัดเหง่อานคุยว่า เธอรักเพลงทำนองวี้และหยัมตั้งแต่เด็ก เมื่อมีการเผยแพร่เพลงพื้นเมืองเข้าโรงรียนในปีค.ศ.๑๙๙๘ เธอได้สอนเกี่ยวกับเพลงประเภทนี้ให้แก่เด็กนักเรียนเพื่อให้เด็กมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเพลงพื้นเมืองประเภทนี้ คุณหงอกกล่าวว่า “ไม่เพียงแต่เฉพาะครูดนตรีสอนดนตรีพื้นเมืองเท่านั้น หากครูสอนวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ก็สามารถสอนเกี่ยวกับที่มาของเพลงพื้นเมืองได้ ครูดนตรีเผยแพร่เกี่ยวกับหัวใจของเพลงพื้นเมืองและวิธีการร้อง เสียงร้องที่หวานซึ้งและอ่อนนุ่มให้แก่เด็กๆทำให้พวกเขาเข้าใจและซึมซับความดีเลิศในเพลงวี้และหยัมของบรรพบุรุษ ”
งานมหกรรมร้องเพลงพื้นเมืองทำนองวี้และหยัม
ความรักเพลงพื้นเมืองทำนองวี้และหยัมไม่มีเฉพาะผู้อาวุโสและวัยกลางคนเท่านั้น หากคนรุ่นใหม่อีกด้วย ครอบครัวของคุณเหงวียนถิ่งาที่รักการร้องเพลงพื้นเมืองมาหลายชั่วคนและได้เข้าร่วมสโมสรเพลงพื้นเมืองตำบลหงอกเซิน อำเภอแทงเจือง จังหวัดเหง่อาน คุณงาเปิดเผยว่า “ ดิฉันหลงไหลเพลงพื้นเมืองตั้งแต่เด็ก เมื่อเข้าร่วมการฝึกศิลปะการบันเทิงของหมู่บ้านดิฉันมักจะฝึกร้องเพลงพื้นเมือง ปัจจุบัน ดิฉันกำลังเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยคุรุศาสตร์และจะประกอบอาชีพครูในภายภาคหน้าแต่ยังคงหลงไหลเพลงทำนองวี้และหยัมและจะรักเพลงประเภทนี้ตลอดไป ”
เพลงพื้นเมือง โดยเฉพาะเพลงพื้นเมืองทำนองวี้และหยัมของจังหวัดเหง่อานและห่าติ่นห์มีพลังชีวิตเพราะขบวนการวัฒนธรรมและศิลปะมวลชนโดยเฉพาะสโมสรวี้และหยัมในพื้นที่ ทั้งนี้และทั้งนั้นทำให้เพลงทำนองวี้และหยัมได้เข้าสู่แต่ละครอบครัวและโรงเรียนแต่ละแห่ง ปัจจุบันที่จังหวัดเหง่อานและห่าติ่นห์มีสโมสรเพลงพื้นเมืองกว่า ๘๐ แห่งและศิลปินอาวุโสประมาณ ๒,๐๐๐ ท่าน ซึ่งมีศิลปินร้องเพลงพื้นเมืองทำนองวี้และหยัม ๑๐๐ ท่านได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นศิลปินพื้นเมืองอาวุโสของเวียดนาม นายฝ่ามเตี๊ยนหยุง รองผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดเหง่าอานเปิดเผยว่า สโมสรเหล่านี้ได้ช่วยเผยแพร่การร้องเพลงพื้นเมืองสู่ท้องถิ่นทุกแห่งจนกลายเป็นแหล่งอนุรักษ์เพลงพื้นเมืองทำนองวี้และหยัมของเหง่อานและห่าติ่ง นายหยุงกล่าวว่า “ ปัจจุบันพวกเรากำลังฟื้นฟูบรรยากาศและส่วนจัดแสดงตลอดจนทำนองดนตรีโบราณโดยการยกระดับคุณภาพเครือข่ายสโมสรตามหมู่บ้านตำบล ซึ่งการร้องและแสดงต้องอยู่ในบรรยากาศของมัน อีกทั้งมีรายการแสดงเพลงพื้นเมืองทำนองโบราณต้นฉบับแต่ยกระดับให้เป็นศิลปะชั้นสูง ”
สมัยก่อน หนุ่มสาวของจังหวัดเหง่อานและห่าติ่งมักจะร้องเพลงพื้นเมืองทำนองวี้และหยัมริมฝั่งแม่น้ำ โดยฝ่ายชายอยู่ฝั่งหนึ่งส่วนฝ่ายหญิงอยู่อีกฝั่งหนึ่งแล้วร้องโต้ตอบกัน มาปัจจุบันชาวบ้านของสองจังหวัดดังกล่าวจะได้พบกันทุกๆสองปีในงานมหกรรมเพลงพื้นเมืองโดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเป็นโอกาสพบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้ซึ่งกันและกันตลอดจนเรียนรู้ทำนองใหม่ๆที่เพิ่งค้นพบ เพลงพื้นเมืองวี้และหยัมมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติจะมีโอกาสเผยแพร่สู่ชุมชนมากขึ้นโดยเฉพาะบรรดาผู้ที่รักวัฒนธรรมและดนตรีชาวต่างชาติ อีกทั้งมีโอกาสเรียนรู้กระบวนการอนุรักษ์มรดกอย่างเป็นระบบและทันสมัยของโลก อย่างไรก็ดี พลังชีวิตที่แท้จริงที่การันตีว่าเพลงวี้และหยัมจะคงอยู่นานเท่านานก็คือการอนุรักษ์ของชุมชน ./.
Phuong Thuy-Thu Hoa