การอนุรักษ์เอกสารข้อมูลทางวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของศาลเจ้ากรุงเก่าเว้

( VOVworld ) - จังหวัดเถื่อเทียนเว้มีโบราณสถานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ขึ้นชื่อของประเทศ ซึ่งโดดเด่นคือสิ่งปลูกสร้างต่างๆรวม ๓๐๐ แห่งอาทิเช่น กำแพง ราชวังและฮวงซุ้ยของกษัตริย์ราชวงศ์เหงวียนและศาลเจ้าที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกรับรองเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก  เฉพาะในพื้นที่กรุงเก่าเว้มีศาลเจ้าถึง ๕๐ แห่งที่ยังคงได้รับการรักษาให้อยู่ในสภาพดั้งเดิม

     ( VOVworld ) จังหวัดเถื่อเทียนเว้มีศาลเจ้าเก่าแก่ ๑๕๐ แห่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ศิลปะและสถาปัตยกรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่เก็บรักษาเอกสารข้อมูลทางวัฒนธรรมที่มีค่าซึ่งสะท้อนถึงช่วงเวลาการบุกเบิกและสร้างหมู่บ้านของชาวเวียดในภาคกลาง
การอนุรักษ์เอกสารข้อมูลทางวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของศาลเจ้ากรุงเก่าเว้ - ảnh 1
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเยืองโหน


จังหวัดเถื่อเทียนเว้มีภูมิประเทศเป็นป่าเขาสลับซับซ้อนทำให้จังหวัดตั้งอยู่ในชัยภูมิที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยเมื่อปีคศ. ๑๕๕๘ เจ้าเหงวียนหว่างได้เลือกสถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของราชธานี  ตลอดระยะเวลากว่า ๔๐๐ ปีจังหวัดเถื่อเทียนเว้ได้กลายเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของระบอบศักดินา  ดังนั้นจึงมีโบราณสถานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ขึ้นชื่อของประเทศ ซึ่งโดดเด่นคือสิ่งปลูกสร้างต่างๆรวม ๓๐๐ แห่งอาทิเช่น กำแพง ราชวังและฮวงซุ้ยของกษัตริย์ราชวงศ์เหงวียนและศาลเจ้าที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกรับรองเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก  เฉพาะในพื้นที่กรุงเก่าเว้มีศาลเจ้าถึง ๕๐ แห่งที่ยังคงได้รับการรักษาให้อยู่ในสภาพดั้งเดิม

หมู่บ้านกือแจ๊ง อำเภอเฮืองถุ๋ย อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเว้ได้รับการก่อสร้างเมื่อปีคศ. ๑๕๕๘ ถือเป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัด หมู่บ้านนี้ได้ผ่านช่วงเวลาต่างๆทางประวัติศาสตร์และได้รับการบูรณะซ่อมแซมมาหลายต่อหลายครั้งแต่ก็ยังคงรักษาเอกสารข้อมูลทางประวัติศาตร์ คำกลอนคู่และรูปปั้นเจ้าพ่อหลักเมืองไว้ได้มาจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะเหลทูเต๊หรือพิธีรำลึกครบรอบวันที่บรรพบุรุษบุกเบิกและสร้างหมู่บ้าน  สำหรับชาวบ้านกือแจ๊งนั้นศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเป็นสัญลักษณ์อันศักดิสิทธิ์ที่ผูกพันธ์พวกเขากับบ้านเกิดอย่างเหนียวแน่น  นายเหงวียนหงอกเก๊ต ชาวบ้านกือแจ๊งกล่าวว่า “ ผมเกิดที่หมู่บ้านกือแจ๊งแต่ต้องจากหมู่บ้านไปทำงานในพื้นที่อื่น  ทุกครั้งเมื่อกลับมาที่นี่ผมรู้สึกมีความสุขที่เห็นชาวบ้านได้ช่วยกันบูรณะปฏิสังขรสถานที่บูชาของหมู่บ้านให้สวยงามยิ่งขึ้น ทุกๆปีเมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนเจ็ดชาวบ้านแม้จะอยู่แห่งหนใดก็จะกลับมาร่วมพิธีบวงสรวงรำลึกถึงบุญคุณของบรรพบุรุษ

นอกจากศาลเจ้าพ่อหลักเมืองของหมู่บ้านกือแจ๊งแล้วจังหวัดเถื่อเทียนเว้ที่ยังมีสถานที่อีกหลายแห่งที่ยังคงรักษาร่องรอยของพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งขุนนางและข้อมูลที่เขียนด้วยภาษาฮั่นนมที่มีคุณค่ายิ่งเกี่ยวกับการต่อสู้บุกเบิกที่ดินขยายพื้นที่ของประเทศการต่อสู้กับศัตรูจากภายนอกการพัฒนาวัฒนธรรมประวัติศาสตร์และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอาทิเช่น ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเยืองโหน ตำบลฟู้เยือง อำเภอฟู้วางที่ได้รับการก่อสร้างในสมัยของกษัตริย์เลแท๊งตงที่ยังคงเก็บรักษาพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ๒๒ ชุด โดยเฉพาะศาลเจ้าพ่อหลักเมืองของหมู่บ้านหมีเหลย ตำบลหวิงหมี อำเภอฟู้หลกมีอายุกว่า ๔๕๐ ปี ซึ่งยังคงเก็บรักษาเอกสารฮั่นนมประมาณ ๑๐๐๐ แผ่นที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ โดยเอกสารฉบับหนึ่งที่เขียนด้วยภาษาฮั่นก่อนหน้านี้ ๒๕๐ ปีได้ยืนยันถึงอธิปไตยของเวียดนามเหนือหมู่เกาะหว่างซาหรือปาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรสลี  นับเป็นสำเนาการร้องเรียนของแคว้นอานบั่งและหมู่บ้านหมีเหลยเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน คศ. ๑๗๕๙ สมัยรัชการแก๋งฮึงเกี่ยวกับการพิพาทเรื่องเบี้ยเลี้ยงให้แก่กองเรือบริการหมู่เกาะหว่างซา  สาระในเอกสารฉบับนี้แสดงให้เห็นว่า ก่อนหน้านี้ ๒๕๐ ปี กษัตริย์ราชวงศ์เหงวียนได้ส่งทหารไปประจำในหมู่เกาะหว่างซาหรือปาราเซล ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้ระบุเอกสารเหล่านี้เข้าไปในเอกสารชุดเกี่ยวกับอธิปไตยของเวียดนามเหนือหมู่เกาะหว่างซาหรือปาราเซล ส่วนหมู่บ้านหมีเหลยได้รับการรับรองเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมระดับชาติเมื่อเดือนมิถุนายนคศ.๑๙๙๖

การอนุรักษ์เอกสารข้อมูลทางวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของศาลเจ้ากรุงเก่าเว้ - ảnh 2
เอกสารเกี่ยวกับอธิปไตยของเวียดนามเหนือหมู่เกาะหว่างซาที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองหมีเหลย
( หนังสือพิมพ์เดิ๊ตเวียด )


ผ่านระยะต่างๆทางประวัติศาสตร์และต้องอยู่กับธรรมชาติมาหลายร้อยปีเอกสารข้อมูลที่เขียนด้วยภาษาฮั่นนมของศาลเจ้ากรุงเก่าเว้จึงเสื่อมโทรมตามกาลเวลา สำนักงานวัฒนธรรมการกีฬาและการท่องเที่ยวเถื่อเทียนเว้ได้เก็บรักษาเอกสารข้อมูลเหล่านี้ไว้ รวมทั้งร่วมกับนักวิจัยและหอสมุดต่างๆทั่วประเทศคัดเลือกแปลและเรียบเรียงเป็นหนังสือ  นับตั้งแต่ปี ๒๐๐๙ มาจนถึงปัจจุบันหอสมุดของจังหวัดเถื่อเทียนเว้สามารถรวบรวมเอกสารที่เขียนด้วยภาษาฮั่นนมได้กว่า ๗ หมื่นหน้ากระดาษซึ่งได้มีการจัดทำสำเนาเป็น E-book ( อีบุค) เพื่อสะดวกแก่การเก็บรักษาและค้นหา./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด