“ครูบาเด๋ย” บทละครร้องก๋ายเลืองที่รวมนักแสดงก๋ายเลืองทั้ง 3 ภาค

(VOVWORLD) -ในโอกาสรำลึกครบรอบ 100 ปีวันให้กำเนิดละครร้องก๋ายเลืองเวียดนาม ศิลปินจากภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้เวียดนามได้ร่วมกันแสดงละครร้องก๋ายเลืองเรื่อง “ครูบาเด๋ย” ซึ่งสะท้อนประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งของประชาชาติเวียดนามและเป็นการรำลึกถึงคุณูปการของครูเหงียนกวางด่ายหรือมีนามว่า ครูบาเด๋ย ซึ่งเป็นปรมาจารย์ผู้ให้กำเนิดและพัฒนาละครร้องก๋ายเลืองของเวียดนาม ละครชุดนี้สร้างจากบทเขียนของรองศ.ดร. เหงียนเท้กี๋ ประธานสถานีวิทยุเวียดนามได้นำผู้ชมกลับไปสู่ประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งของประเทศและช่วยให้ผู้ชมมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับแหล่งที่มา ความงามและคุณค่าของละครร้องก๋ายเลือง
“ครูบาเด๋ย” บทละครร้องก๋ายเลืองที่รวมนักแสดงก๋ายเลืองทั้ง 3 ภาค - ảnh 1“ครูบาเด๋ย” บทละครร้องก๋ายเลืองที่รวมนักแสดงก๋ายเลืองทั้ง 3 ภาค 

บทละครเรื่อง “ครูบาเด๋ย” ได้สะท้อนการครุ่นคิดถึงคติประจำใจ “ดื่มน้ำต้องรำลึกถึงแหล่งที่มาของน้ำ” และการยกย่องสดุดีศิลปินที่มีทักษะความสามารถของประชาชาติเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปะการแสดงละครพื้นเมืองก๋ายเลืองของเวียดนาม ที่รองศ.ดร. เหงียนเท้กี๋ ประธานสถานีวิทยุเวียดนามได้ทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจในการเขียนเป็นวรรณกรรมในหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งผ่านบทกวี “เกิบแก่งหงูกุง” ซึ่งถือเป็นหัวใจละครได้เล่าเรื่องชีวิตที่ลำบากของขุนนางและครูสอนดนตรี เหงียนกวางด่าย ที่ได้ถูกศัตรูผู้รุกรานฝรั่งเศสไล่ล่าเนื่องจากสนับสนุนขบวนการ “เกิ่นเวือง”ในต้นศตวรรษที่ 20 ในกระบวนการเคลื่อนไหวนั้น เหงียนกวางด่าย ได้รับการช่วยเหลือของอ๊ายฮวา ลูกสาวสุดที่รักของเจ้าแขวง จนเกิดความรักกันแต่ก็ไม่สมหวัง ไม่สามารถเป็นคู่กันได้จนทำให้ครูบาเด๋ยได้ใช้ดนตรีเล่าเรื่องชะตากรรมของประเทศที่ถูกรุกราน ชีวิตที่แสนยากลำบาก รวมถึงความรักที่ไม่สมหวัง พร้อมทั้งความปรารถนาในการอนุรักษ์มรดกทางจิตใจ ซึ่งเป็นสมบัติอันล้ำค่าของดนตรีพื้นเมืองเพื่อสืบต่อสู่คนรุ่นหลัง

ละคร “ครูบาเด๋ย” เริ่มต้นด้วยฉากยามบ่าย ณ เมืองแหรกย้า นครไซ่ง่อนเมื่อปี 1917 หลังจากที่ขุนนางฝ่ายดนตรี เหงียนกวางด่าย ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อเสียงดนตรีพื้นเมืองเพลงก๋ายเลืองดังขึ้นท่ามกลางบรรยากาศที่เงียบสงบในสุสานได้สร้างความซาบซึ้งใจให้แก่ผู้ชม ความเคารพครูผู้มีความสามารถ รักชาติและรักดนตรีพื้นเมืองแต่ถึงต้องจากไปในขณะที่อายุยังน้อย ในการย้อนอดีต ผู้ชมได้กลับสู่ช่วงที่ครูเหงียนกวางด่าย เริ่มเดินทางไปยังภาคใต้พร้อมมรดกแห่งศิลปะที่อันล้ำค่าคือดนตรีพิธีกรรมและดนตรีชาววังเว้แล้วมาผสมผสานเข้ากับดนตรี “ฮาดโบ๋ย” และ “เดิ่นกาต่ายตื๋อ”ของภาคใต้ เพื่อสร้างเป็นศิลปะพื้นเมืองก๋ายเลืองที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ในละครนี้ นับเป็นครั้งแรกที่ผู้ชมทั่วประเทศได้ชมการแสดงร่วมของศิลปินก๋ายเหลือที่มาจาก 3 ภาคของเวียดนาม โดยตัวละครแต่ละตัวจะใช้เสียงร้องของบ้านเกิด โดยเฉพาะตัวละครครูบาเด๋ย ทำการแสดงโดยศิลปินยอดเยี่ยม 4 คนคือ แทงต๊วน ซวนวิงห์ เลตื้อและกว๋างขาย ได้สะท้อนชีวิตของครูบาเด๋ยใน 4 ช่วงที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัด แม้มีสำเนียงภาคใต้ ภาคเหนือหรือภาคกลาง แต่เมื่อเข้าบทแสดง ศิลปินทั้ง 4 คนต่างสะท้อนให้ห็นถึงความรู้สึกในใจของครูบาเด๋ยที่เศร้าสลดผ่านการร้องที่ที่ไพเราะ

ศิลปินยอดเยี่ยมเจี่ยวจูงเกียน รองผู้อำนวยการโรงละครร้องก๋ายเลืองเวียดนาม ผู้กำกับละคร ครูบาเด๋ย เผยว่า            “พวกเราไม่ตั้งเงื่อนไขคือศิลปินทั้ง 4 คนต้องทำให้ตัวละคร 4 ตัวเป็นสัญลักษณ์เดียวกัน ซึ่งศิลปิน 4 คนสามารถนำเสนอภาพลักษณ์ครูบาเด๋ยที่แตกต่างกัน อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถในชีวิตจริงของครูบาเด๋ย ซึ่งได้สร้างอารมณ์ที่แตกต่างกันและผู้ชมก็ยอมรับ”

สำหรับผู้ที่อยู่ในวงการละครก๋ายเลือง “ครูบาเด๋ย” เป็นละครที่มีหลายสิ่งที่ดีที่สุด เช่น บทละคร เวทีละคร เนื้อเรื่องและการแสดงที่ยอดเยี่ยมของศิลปินที่มาจากทั้ง 3 ภาคของเวียดนาม ผู้กำกับเจี่ยวจูงเกียนแสดงความคิดเห็นว่า            “ตัวละครต่างๆ เช่น ตัวละครอ๊ายฮวา ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวภาคใต้ที่ให้การช่วยเหลือครู ด่าย ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากและอุปสรรคในชีวิตเพื่อรอดชีวิตและดำเนินภารกิจที่ตนทุ่มเทเพื่อสร้างสรรค์ผลงานและสืบสานให้แก่คนรุ่นหลัง รวมถึงการแสดงของตัวละครอื่นๆได้สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชมมากขึ้น ศิลปินแต่ละคนแสดงในแต่ละตอนสั้นๆ ซึ่งแต่ละคนต่างพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อแสดงให้ดีที่สุด”

เพื่อให้การแสดงประสบความสำเร็จและเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม ศิลปินที่มาจากโรงละครก๋ายเลืองเวียดนามในกรุงฮานอยและโรงละครก๋ายเลืองเจิ่นหิวจางในนครโฮจิมินห์ได้มีการประสานงานอย่างกลมกลืน แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพ ความสามัคคีและความหลากหลายของวัฒนธรรมเวียดนาม

ละครก๋ายเลือง ครูบาเด่ย คือผลงานรำลึกครบรอบ 1 ศตวรรษของการให้กำเนิดและพัฒนาศิลปะการแสดงลครร้องพื้นเมืองก๋ายเลืองที่ประสบความสำเร็จในด้านศิลปะ แม้ใช้เวลาแสดง 150 นาที แต่ผู้ชมก็ไม่เบื่อเนื่องจากการแสดงมีการผสมผสานระหว่างการรำแนวใหม่ มีการนำเสนอในลักษณะของภาพยนตร์ มีหน้าจอ 3 มิติเป็นฉากหลังและเสียงไวโอลินที่ไพเราะ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด