จังหวัดฟู้เถาะอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรมนามธรรม

(VOVWORLD) -จังหวัดฟู้เถาะตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม เป็นท้องถิ่นเดียวที่มีมรดกวัฒนธรรมนามธรรมที่เป็นตัวแทนของมนุษยชาติสองรายการที่ได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโก้ คือ ความเลื่อมใสสักการะบูชาบรรพกษัตริย์หุ่งและการร้องเพลงทำนองพื้นเมืองซวาน ดังนั้นควบคู่กับท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศ จังหวัดฟู้เถาะก็กำลังพยายามอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าของมรดกเหล่านี้เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณของบรรพบุรุษ
จังหวัดฟู้เถาะอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรมนามธรรม - ảnh 1การร้องเพลงซวานในจังหวัดฟู้เถาะ

การร้องเพลงทำนองซวานคือศิลปะการแสดงพื้นเมืองที่มีความผูกพันอย่างใกล้ชิดกับความเลื่อมใสสักการะบูชาบรรพกษัตริย์หุ่งเพราะเป็นพิธีกรรมเพื่อสักการะบูชาเทพเจ้าและกษัตริย์ ซึ่งจัดขึ้นที่โบราณสถานบูชาบรรพกษัตริย์หุ่ง การที่ยูเนสโก้ให้การรับรองมรดกสองรายการนี้ได้สะท้อนความพยายามในการส่งเสริมปฏิบัติของชาวบ้านจังหวัดฟู้เถาะและชาวบ้านในท้องถิ่นต่างๆที่มีสถานที่สักการะบูชาบรรพบุรุษเพื่อร่วมกันอนุรักษ์ นายเหงียนดั๊กถวี ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดฟู้เถาะยืนยันว่า            “คุณค่าทางจิตใจของมรดกสองอย่างนี้ถือเป็นพลังขับเคลื่อนต่อชุมชนในการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมและจิตใจแห่งความสามัคคีชนในชาติ พร้อมทั้งดึงดูดการเข้าร่วมของประชาชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยว”

จากการเป็นท้องถิ่นเดียวที่มีมรดกวัฒนธรรมนามธรรมที่เป็นตัวแทนของมนุษยชาติสองรายการ จังหวัดฟู้เถาะกำลังปฏิบัติกิจกรรมอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกอย่างยั่งยืนผ่านรูปแบบที่หลากหลาย เช่น สอดแทรกการร้องเพลงทำนองพื้นเมืองซวานในหลักสูตรการเรียน สอนการร้องเพลงซวานในชุมชน โดยเฉพาะให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการถ่ายทอดและเผยแพร่ในหมู่คนรุ่นใหม่ โดยในหมู่บ้านที่เป็นแหล่งกำเนิดของศิลปะการร้องเพลงทำนองซวานนี้ ศิลปินทุกคนกำลังพยายามสืบทอดมรดกนี้ให้แก่คนรุ่นหลังเพื่อให้คงอยู่ในชุมชนตลอดไป ศิลปิน เลซวนหงู หมู่บ้านฟู้ดึ๊ก ตำบล กิมดึ๊ก จังหวัดฟู้เถาะเผยว่า            “ผมเกิดในครอบครัวที่มีพ่อเป็นศิลปินร้องเพลงซวานอาวุโส จึงได้เรียนร้องเพลงซวานตอนอายุประมาณ 8-9 ขวบ วันนี้ ผมก็มาสอนให้เด็กๆรุ่นต่อไปเพื่อสานต่อการอนุรักษ์มรดกนี้ โดยเราเน้นการสอนในช่วงปิดเทอมฤดูร้อนเพราะเด็กๆไม่ต้องไปโรงเรียนเนื่องจากถ้าเด็กๆไปโรงเรียนก็จะมีเวลาเรียนร้องเพลงซวานน้อยลง”

นอกจากสนับสนุนชุมชนและบุคคลในการอนุรักษ์ สอนการร้อง วิจัยรวบรวมข้อมูลต่างๆรวมทั้งพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับมรดกนี้ผ่านการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์แล้ว ทางการปกครองทุกระดับยังอำนวยความสะดวกในการเปิดเวทีจัดแสดงศิลปะและสืบทอดมรดกนี้ให้แก่คนรุ่นหลังอีกด้วย นางเหงียนถิเติม ประธานคณะกรรมการประชาชนตำบลกิมดึ๊ก นครเวียดตรี จังหวัดฟู้เถาะได้เผยว่า            “นับตั้งแต่ที่ได้รับการฟื้นฟูมาจนถึงปัจจุบัน ศาลเจ้าหลายแหล่น ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของเพลงทำนองพื้นเมืองซวาน ได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์และสถานที่ท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณของนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ ศาลเจ้าหลายแหล่นสะท้อนลักษณะที่โดดเด่นของมรดกสองแห่ง ซึ่งเป็นจุดนัดพบของนักท่องเที่ยวในวันสักการะบุชาบรรพกษัตริย์หุ่งและเทศกาลวิหารหุ่ง”

ในฐานะประเทศสมาชิกของยูเนสโก้ เวียดนามมีความรับผิดชอบในการอนุรักษ์มรดกแห่งนี้ตามคำมั่นของรัฐบาลในอนุสัญญาสหประชาชาติปี 2003 เกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมนามธรรม จากการจัดกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมต่างๆ การอนุรักษ์มรดกเหล่านี้ได้ประสบประสิทธิภาพ กลายเป็นสัญลักษณ์ด้านวัฒนธรรมเชิงจิตวิญญาณและส่งเสริมจิตใจแห่งความสามัคคีชนในชาติของชาวเวียดนาม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด