ศิลปะการแกะสลักและสถาปัตยกรรมศาลาประจำหมู่บ้านเวียดนาม

( VOVworld )-ศิลปะการแกะสลักและสถาปัตยกรรมศาลาประจำหมู่บ้านเวียดนามพัฒนารุ่งเรืองมากที่สุดในปลายศตวรรษที่ ๑๗ ซึ่งสามารถเห็นได้จากลวดลายสวยงามตามศาลาประจำหมู่บ้านต่างๆในเขตที่ราบภาคเหนือเช่น ศาลาประจำหมู่บ้านจูเกวี๊ยน อำเภอบาหวี่ในกรุงฮานอย ศาลาประจำหมู่บ้านเกี่ยนบ๊ายในจังหวัดไฮฟองและเหยี่ยมในจังหวัดบั๊กนินห์ ศิลปะการแกะสลักและสถาปัตยกรรมเหล่านี้ยังคงได้รับการอนุรักษ์อย่างสมบูรณ์มาตราบเท่าทุกวันนี้


( VOVworld )-ศิลปะการแกะสลักและสถาปัตยกรรมศาลาประจำหมู่บ้านเวียดนามพัฒนารุ่งเรืองมากที่สุดในปลายศตวรรษที่ ๑๗ ซึ่งสามารถเห็นได้จากลวดลายสวยงามตามศาลาประจำหมู่บ้านต่างๆในเขตที่ราบภาคเหนือเช่น ศาลาประจำหมู่บ้านจูเกวี๊ยน อำเภอบาหวี่ในกรุงฮานอย ศาลาประจำหมู่บ้านเกี่ยนบ๊ายในจังหวัดไฮฟองและเหยี่ยมในจังหวัดบั๊กนินห์ ศิลปะการแกะสลักและสถาปัตยกรรมเหล่านี้ยังคงได้รับการอนุรักษ์อย่างสมบูรณ์มาตราบเท่าทุกวันนี้

ศิลปะการแกะสลักและสถาปัตยกรรมศาลาประจำหมู่บ้านเวียดนาม - ảnh 1
ศาลเจ้าจูงเลืองในจังหวัดนามดินห์

ศาลาประจำหมู่บ้านเป็นสถานที่บูชาเจ้าพ่อหลักเมือง ผู้ที่มีคุณูปการในการสร้างชาติและปกป้องประเทศในหมู่บ้านของตนเองหรือเป็นสถานที่บูชาพระแม่บาดาลและเทพารักษ์ประจำภูเขาที่มีลักษณะแห่งนิยายปรัมปราที่ได้มีคุณูปการในการบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำเพื่อชีวิตที่ปราศจากอุทกภัยของชาวบ้าน นอกจากนี้ ศาลาประจำหมู่บ้านยังเป็นสถานที่ชุมนุมและพบปะของชุมชนในชนบท  ศาลาประจำหมู่บ้านยังคงเป็นคลังข้อมูลทางศิลปะของประเทศและคนในสมัยที่ได้รับการก่อสร้าง เป็นสถาปัตยกรรมของหมู่บ้านที่สะท้อนศิลปะการแกะสลักพื้นบ้าน นักวิจัยวิจิตศิลป์เวียดนามโบราณ จิตรกรฟานเกิ่มเถื่องเปิดเผยว่า  “ ศิลปะการแกะสลักศาลาประจำหมู่บ้านถือเป็นศิลปะพื้นบ้านเพราะมันไม่ใช่ศาสนาและไม่ได้รับคำสั่งจากทางการศักดินา แต่มาจากชีวิตในหมู่บ้าน  ลวดลายแกะสลักต่างๆสะท้อนชีวิตของชาวบ้านในศตวรรษที่ ๑๖ ๑๗และ๑๘ การแกะสลักต่างๆภายในศาลาประจำหมู่บ้านมีสองประเภทได้แก่ การแกะสลักลวดลายเช่น ดอกไม้ ใบไม้ มังกรและเมฆ ส่วนประเภทที่สองเป็นการสลักป้ายเกี่ยวกับชีวิตของคนในหมู่บ้านเช่น การล่าสัตว์ การไถนา การเตะลูกขนไก่และหญิงสาวกับชายหนุ่มพบกัน  การแกะสลักศาลาประจำหมู่บ้านเป็นภาพเกี่ยวกับการดำรงชีพต่างๆของชาวบ้าน

ศิลปะการแกะสลักตามศาลาประจำหมู่บ้านมีส่วนร่วมสะท้อนชีวิตในชนบทเวียดนามช่วงศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ โดยเฉพาะชีวิตของชาวบ้านในศตวรรษที่ ๑๗  ช่างศิลป์อาวุโสได้ถ่ายทอดชีวิตในหมู่บ้านเป็นเรื่องเป็นราวและมีชีวิตชีวามากขึ้นเช่น ภาพงานเทศกาลที่คึกคักของหมู่บ้าน สามีภรรยาพบกันหลังจากที่พลัดพรากจากกันมานาน รอยยิ้มแห่งความเพลิดเพลินในงานดื่มสุรา  จากภาพสลักในศาลาประจำหมู่บ้านเวียดนามศตวรรษที่ ๑๗ แสดงให้เห็นชีวิตของชาวบ้านสมัยนั้นเช่น การล่าสัตว์ สามีเกาขาให้เมีย การเตะลูกขนไก่ ฟันดาบและร้องเพลงพื้นบ้านทำนองแจ่ว  และยังมีภาพแกะสลักชีวิตของชนชั้นสูงเช่น คนใช้พัดพัดกระดาษให้แก่อำมาตย์ ขุนนางขี่ม้า ภาพชิงลูกและทวงหนี้

ศิลปะการแกะสลักและสถาปัตยกรรมศาลาประจำหมู่บ้านเวียดนาม - ảnh 2
ศาลาประจำหมู่บ้านดิ่นห์บ่าง

ทั้งนี้และทั้งนั้นเป็นการแกะสลักลวดลายและรูปต่างๆภายในศาลาประจำหมู่บ้าน  ส่วนสถาปัตยกรรมของศาลาประจำหมู่บ้านนั้น โครงของศาลาเป็นไม้ พื้นปูอิฐหรือไม้ ศาลาประจำหมู่บ้านทั่วไปมี ๓หรือ ๕ ห้อง หลังคาจั่วมุงกระเบื้องอิฐไล่ระดับ สี่มุมของชายคาโค้งรูปดาบปลายแหลมและงอเหมือนนกกำลังกางปีกบิน  สันหลังคาของศาลาประจำหมู่บ้านแกะสลักดอกจันทร์และดอกมะนาวนูนหรือเป็นรู และมีรูปปั้นมังกรสองตัวชมพระจันร์หรือชมพระอาทิตย์  ศ.เจิ่นเลิมเบี่ยนนักวิจัยผู้มีชื่อเสียงของเวียดนามในด้านวัฒนธรรม วิจิตศิลป์และศิลปะโบราณเปดเผยว่า   “ มังกรเป็นสัญลักษณ์ของเมฆ ดาบเป็นสัญลักษณ์ของฟ้าผ่าและฟ้าแลบ ส่วนดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และกิเลนเป็นสัญลักษณ์แห่งพลังอันแข็งแกร่งของชั้นบนสุด เป็นสัญลักษณ์แห่งสติปัญญา พลังอันแข็งแกร่งของเทพเจ้าและความบริสุทธิ์ สิ่งเหล่านี้ทำหน้าที่ตรวจสอบจิตใจของผู้มาแสวงบุญ  ส่วนกระเบื้องก็มีลวดลายที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความสูงสุด

ผลงานศิลปะแกะสลักในศาลาประจำหมู่บ้านสะท้อนความฝันและความปรารถนาของชาวนาสมัยนั้นที่มีลักษณะของศิลปะพื้นบ้าน ช่างศิลป์ได้สร้างผลงานอย่างอิสระและมีชีวิตชีวาซึ่งมาจากสิ่งที่ได้รับรู้จากชีวิตจริง ทั้งนี้ได้สร้างความโดดเด่นให้แก่ศิลปะการแกะสลักศาลาประจำหมู่บ้านที่แตกต่างกับศิลปะศาสนาอื่นๆเพราะมีลมหายใจจากชีวิต ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด