สตรีชนเผ่าที่อาศัยในเทือกเขาเจื่องเซินกับงานฝีมือทอผ้าลวดลายพื้นเมือง
Tan Sy-Lan Anh -  
( VOVworld ) สำหรับชนเผ่าเกอ ตู แว และต่าเหรี่ยงที่อาศัยอยู่บนเทือกเขาเจื่องเซินนั้น ผู้ชายจะแสดงถึงความเป็นชายฉกรรจ์ผ่านการทำงานที่ต้องใช้แรงกายและความแข็งแรงเช่น ใช้สิ่วเจาะไม้ให้เป็นรูเพื่อปลูกบ้านและสลักลวดลายต่างๆ ส่วนสตรีทำงานฝีมือที่ต้องใช้ความละเอียดและประณีตโดยเฉพาะการทอผ้าลวดลายพื้นเมืองที่สวยงาม ซึ่งแสดงให้เห็นจากชุดแต่งกายพื้นเมืองประจำชนเผ่า
( VOVworld ) สำหรับชนเผ่าเกอ ตู แว และต่าเหรี่ยงที่อาศัยอยู่บนเทือกเขาเจื่องเซินนั้น ผู้ชายจะแสดงถึงความเป็นชายฉกรรจ์ผ่านการทำงานที่ต้องใช้แรงกายและความแข็งแรงเช่น ใช้สิ่วเจาะไม้ให้เป็นรูเพื่อปลูกบ้านและสลักลวดลายต่างๆ ส่วนสตรีทำงานฝีมือที่ต้องใช้ความละเอียดและประณีตโดยเฉพาะการทอผ้าลวดลายพื้นเมืองที่สวยงาม ซึ่งแสดงให้เห็นจากชุดแต่งกายพื้นเมืองประจำชนเผ่า
สตรีชนเผ่าเกอตูทอผ้าลวดลายพื้นเมือง
เราได้มีโอกาสชมการแข่งขันทอผ้าลวดลายพื้นเมืองของอำเภอนาม ยาง จังหวัดกว่างนามทางภาคกลางตอนใต้ของประเทศและมีความชื่นชมฝีมือของสตรีชนเผ่าเกอ ตู แวและต่าเหรี่ยง ๒๔ คนซึ่งมีฝีมือยอดเยี่ยมในการทอผ้าพื้นเมืองจาก ๑๒ ตำบลที่เข้าร่วม การแข่งขันที่ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ อำเภอเขตเขานาม ยางซึ่งเปิดโอกาสให้สาวชนเผ่าได้พบปะสังสรรค์และเรียนรู้ประสบการณ์ในการทอผ้าพื้นเมืองของกัน และเป็นการอนุรักษ์และพัฒนาอาชีพศิลปะหัตถกรรมของชนเผ่าที่อาศัยบนเทือกเขาเจื่องเซินอีกทางหนึ่งด้วย คุณ กอร์ เลินที่อาศัยอยู่ที่ตัวเมืองเจิ้น แถ่ง อำเภอนาม ยาง จังหวัดกว่างนามคุยกับพวกเราว่า “ ดิฉันรู้สึกมีความสุขมากเพราะได้รับเลือกเข้าร่วมการแข่งขันและเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆจากเพื่อนๆของตำบลอื่นๆ ทั้งนี้ทำให้ดิฉันสามารถทอเสื้อและกระโปรงได้สวยขึ้น ”
ที่อำเภอนาม ยาง พ่อแม่มักจะสอนอาชีพทอผ้าของบรรพบุรุษให้แก่ลูกสาวตั้งแต่ยังเด็ก แม้ปัจจุบัน อาชีพทอผ้าลวดลายพื้นเมืองจะไม่พัฒนารุ่งเรืองเหมือนเมื่อก่อนแต่ยังคงเป็นงานที่ขาดไม่ได้ในชีวิตของสตรีชนเผ่า ผู้สูงอายุที่สืบสานอาชีพนี้ยังคงครุ่นคิดวิธีการอนุรักษ์และฟื้นฟูอาชีพทอผ้าพื้นเมืองของชนเผ่าตนให้อยู่ตราบนานเท่านาน ท่านเซอ เริม ถิ่ ญูง นายกสมาพันธ์สตรีอำเภอนาม ยาง เปิดเผยว่า “ อาชีพนี้ได้รับการฟื้นฟูแล้ว มันเหมือนลมหายใจในชีวิตของสตรี เหมือนการทำไร่ทำนา การอนุรักษ์อาชีพทอผ้าพื้นเมืองคือการอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่า ”
กระเป๋าสะพายงานฝีมือของสตรีชนเผ่าเกอ ตู
อำเภอนาม ยางมี ๑๒ ตำบลแต่มีกี่ทอถึง ๖,๐๐๐ เครื่องที่สตรีเกอ ตู แว และต่าเหรี่ยงเป็นเจ้าของ โดยเฉพาะมีหมู่บ้านกง โหซ่น ตำบลซวยและหมู่บ้านทอผ้าลวดลายพื้นเมืองซา รา ตำบลต่า บฮิงยังคงอนุรักษ์อาชีพทอผ้าดั้งเดิมและมีชาวบ้านประกอบอาชีพนี้มากที่สุด เมื่อมาหมู่บ้านซา รา เราได้ยินเสียงลูกกระสวยซึ่งสร้างบรรยากาศที่ครึกครื้นให้ทั้งหมู่บ้าน มีบ้านหลังหนึ่งไว้สำหรับช่างทอผ้าในช่วงทำงาน ผ้าถูกทอเสร็จก็ติดลูกปัด เสร็จแล้วส่งไปยังโรงเย็บเพื่อเย็บเป็นกระโปรง ผ้าเตี่ยว ผ้าห่ม กระเป๋าและสินค้าฝีมือต่างๆอีกมากมาย ผ้าลวดลายพื้นเมืองของชนเผ่าเกอ ตูเป็นงานฝีมือและผลิตแบบครบรงจรตั้งแต่การปลูกต้นไม้เพื่อเป็นวัตถุดิบเช่น ต้นฝ้ายและต้นด้ายไปจนถึงการสาวด้าย ย้อมผ้า ทอผ้า สร้างลวดลาย ติดลูกปัดและปักไปจนถึงการเย็นเป็นผลิตภัณฑ์ ส่วนกี่ทอนั้นก็ทำจากไม้ไผ่อย่างเรียบง่าย ชาวบ้านได้จัดตั้งสหกรณ์ที่มีสมาชิกกเป็นสตรีในพื้นที่เพื่อเผยแพร่ผลิตภัณฑ์จากผ้าลวดลายพื้นเมืองให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย สหกรณ์ดำเนินกิจการหลักคือ ทอผ้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าลวดลายพื้นเมืองตลอดจนประกอบธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งตัวอย่างของหมู่บ้านทอผ้าลวดลายพื้นเมืองซา รา ของชนเผ่าเกอ ตูได้รับการขยายผลไปยังตำบลอื่นๆภายในอำเภอนาม ยาง ดร. เจิ่น เติ้น หวิ่ง นักวิจัยวัฒนธรรมเกอ ตู จังหวัดกว่างนาม เปิดเผยว่า “ จุดเด่นของอาชีพทอผ้าลวดลายพื้นเมืองของชนเผ่าเกอ ตูคือ ยังคงอนุรักษ์อาชีพทอผ้าดั้งเดิมตามกระบวนการครบวงจรตั้งแต่การปลูกฝ้าย สาวด้าย ย้อมผ้า ทอผ้าและเย็บชุดประจำชนเผ่าสีสันฉูดฉาดและมีเอกลักษณ์ของชนเผ่าหนึ่งที่อาศัยบนเทือกเขาเจื่องเซิน ”
ในหลายปีที่ผ่านมา ทางอำเภอเขตเขานาม ยาง จังหวัดกว่าง นามได้ดำเนินมาตรการอนุรักษ์และพัฒนาอาชีพทอผ้าพื้นเมืองหลายมาตรการ ซึ่งการจัดการแข่งขันทอผ้าลวดลายพื้นเมืองเป็นมาตรการใหม่เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ชุดสวยงามในงานเทศกาลเก็บเกี่ยวข้าวและเทศกาลอื่นๆของหมู่บ้าน ./.
Tan Sy-Lan Anh