โครงการ “ดนตรีสายไหม” การค้นพบเอกลักษณ์ของเครื่องดนตรีพื้นเมือง

 (VOVworld)- ภายหลังได้ทุ่มเทความพยายามเพื่อค้นหาต้นแบบของเครื่องดนตรีพื้นเมืองต่างๆ กลุ่มดงกิงหญากโก๋ ได้เปิดตัวเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย16ชนิดที่ได้รับการฟื้นฟูตามแบบดั้งเดิมโดยทำจากไม้และไผ่ ส่วนสายพิณทำจากเส้นไหมธรรมชาติ ซึ่งเป็นวัสดุที่คนโบราณได้ใช้สำหรับเครื่องดนตรีที่เป็นพิณสายเมื่อหลายร้อยปีก่อน นี่เป็นผลงานของโครงการ “ดนตรีสายไหม” ของกลุ่มที่ได้ประสานกับสำนักงานสนับสนุนการพัฒนาสวิสเซอร์แลนด์เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ดนตรีสายไหม หนึ่งในเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของเครื่องดนตรีพื้นเมืองเวียดนาม


(VOVworld)- ภายหลังได้ทุ่มเทความพยายามเพื่อค้นหาต้นแบบของเครื่องดนตรีพื้นเมืองต่างๆ กลุ่มดงกิงหญากโก๋ ได้เปิดตัวเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย16ชนิดที่ได้รับการฟื้นฟูตามแบบดั้งเดิมโดยทำจากไม้และไผ่ ส่วนสายพิณทำจากเส้นไหมธรรมชาติ ซึ่งเป็นวัสดุที่คนโบราณได้ใช้สำหรับเครื่องดนตรีที่เป็นพิณสายเมื่อหลายร้อยปีก่อน นี่เป็นผลงานของโครงการ “ดนตรีสายไหม” ของกลุ่มที่ได้ประสานกับสำนักงานสนับสนุนการพัฒนาสวิสเซอร์แลนด์เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ดนตรีสายไหม หนึ่งในเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของเครื่องดนตรีพื้นเมืองเวียดนาม

โครงการ “ดนตรีสายไหม” การค้นพบเอกลักษณ์ของเครื่องดนตรีพื้นเมือง - ảnh 1
บรรยากาศงานแแสดงเครื่องดนตรีพื้นเมือง(FB Dongkinhnhacco)

เสียงดนตรีที่ท่านกำลังรับฟังอยู่นั้นเป็นเสียงพิณที่มีสายเป็นเส้นไหมพร้อมการแสดงของศิลปินประชาชน ซวนแหวก ในการเปิดงานนิทรรศการ “เครื่องดนตรีพื้นเมือง” ที่จัดขึ้น ณ ศูนย์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมย่านโบราณฮานอย ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการบริหารย่านถนนโบราณฮานอยและกลุ่มดงกิงหญากโก๋  ไม่มีเครื่องขยายเสียงหรือปรับแต่งเสียงแต่ลีลาคำร้องพร้อมเสียงดนตรีพื้นเมืองที่แสดงออกมานั้นก็สามารถทำให้ผู้ชมซาบซึ้งใจเป็นอย่างมาก นักดนตรีหวูเญิดเติน หัวหน้ากลุ่มดงกิงหญากโก๋เผยว่า เส้นไหมคือวัสดุที่สร้างเป็นเสียงดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของเอเชียตั้งแต่ยุคโบราณและเส้นพิณสายไหมก็ได้พัฒนาคู่กับประวัติศาสตร์ของดนตรีเวียดนามตั้งแต่เริ่มแรก  แต่เนื่องจากความผันผวนของประวัติศาสตร์และการปรากฎของวัฒนธรรมตะวันตกได้ทำให้การใช้เส้นไหมเป็นสายพิณตามประเพณีมีการเปลี่ยนแปลงและถูกหลงลืม ดังนั้นศิลปินในกลุ่มจึงมีแนวคิดที่จะฟื้นฟูความเป็นเอกลักษณ์นี้“สิ่งแรกที่เราอยากฟื้นฟูคือวัตถุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีโบราณ โดยเฉพาะพิณสายของเวียดนาม เพราะพวกเราเห็นว่าตั้งแต่อดีต บรรพบุรุษของเราได้ใช้แค่ไผ่และไม้ทำเป็นเครื่องดนตรีแล้วใช้เส้นไหมเป็นสายพิณและได้เล่นดนตรีประเภทนี้มาเป็นร้อยๆปี ปัจจุบัน เครื่องดนตรียุคใหม่นั้นมักจะทำด้วยเครื่อง ใช้สายกีต้าร์และมีการเชื่อมกับระบบปรับแต่งขยายเสียง ดังนั้นเราจึงอยากค้นคว้าเพื่อฟื้นฟูสิ่งที่ดีเลิศนี้ของบรรพชน”

โครงการ “ดนตรีสายไหม” การค้นพบเอกลักษณ์ของเครื่องดนตรีพื้นเมือง - ảnh 2
ศิลปินซวนแหวกในการแสดงดนตรี(FB dongkinhnhacco)

เส้นทางการศึกษาค้นคว้าเพื่อฟื้นฟูเครื่องดนตรีตามแบบโบราณนั้นก็ประสบอุปสรรคไม่น้อยเพราะเดี๋ยวนี้ไม่มีที่ไหนใช้เส้นไหมเป็นสายพิณ ดังนั้นสมาชิกของกลุ่มศิลปิน ดงกิงหญากโก๋ จึงต้องค้นหาข้อมูลตามหนังสือโบราณที่มีการบรรยายเกี่ยวกับเครื่องดนตรีโบราณ ศิลปิน ซวนแหวก เผยว่า“ตอนแรกการปั่นเส้นไหมนั้นลำบากมาก เพราะปั่นแล้วก็ขาด ซึ่งไม่รู้ว่าต้องปั่นอย่างไรและเส้นไหมต้องหนาเท่าไหร่ถึงจะใช้งานได้ ทำไปทำมาเป็นเดือนเป็นปีเราก็ทำได้สำเร็จ โดยใช้วิธีการปั่นด้ายไหมแบบดั้งเดิม”

โครงการ “ดนตรีสายไหม” การค้นพบเอกลักษณ์ของเครื่องดนตรีพื้นเมือง - ảnh 3
ดนตรีพื้นเมืองที่ใช้เส้นไหมเป็นสาย(FB dongkinhnhacco)
เครื่องดนตรีสายไหมให้โทนเสียงที่คมชัดและไพเราะ ระดับเสียงต่ำกว่าสายไนล่อนแต่ฟังแล้วรู้สึกเป็นธรรมชาติดี การใช้พิณสายไหมยากกว่าพิณอื่นๆเพราะสายพิณที่เป็นไหมหนักกว่าสายทั่วไปต้องใช้แรกดีดมากขึ้น ดังนั้นผู้เล่นดนตรีสายไหมก็ต้องมีความหลงไหลทุ่มเทและรักดนตรีเพื่อที่จะสามารถสร้างเป็นอารมณ์ในการเล่นได้“สายไหมต่างกับสายธรรมดาตรงที่ความหนาและน้ำหนักของเส้นสาย ดังนั้นคนเล่นก็ต้องใช้แรงมากขึ้น แต่พิณสายไหมจะออกโทนเสียงที่ต่ำแต่ชัดแจ๋วไพเราะ ซึ่งผู้ที่ได้ฟังแล้วต้องชมว่าเสียงดนตรีสายไหมฟังดีกว่าดนตรีทั่วไป แต่สิ่งที่เรารู้สึกดีใจที่สุดคือความสำเร็จในการปั่นด้ายไหมให้เป็นอุปกรณ์เพื่องานศิลปะพื้นเมือง

ปัจจุบันนี้ โครงการดังกล่าวของกลุ่มดงกิงหญากโก๋ สามารถฟื้นฟูเครื่องดนตรีโบราณสายไหมได้6ชนิด โดยเป็นพิณแบบภาคเหนือที่ทำด้วยมือทุกขั้นตอนและใช้วัสดุหลักคือไม้ ไม้ไผ่และเส้นไหม ซึ่งนับเป็นผลสำเร็จเบื้องต้นของโครงการนี้ในกระบวนการฟื้นฟูเครื่องดนตรีโบราณ อันเป็นการมีส่วนร่วมที่เป็นรูปธรรมต่อการอนุรักษ์และพัฒนาคุณค่าวัฒนธรรมที่ดีเลิศของเวียดนามในกระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด