50 ปีอาเซียน-โอกาสผลักดันการค้าของเวียดนาม
Nguyen Yen/VOV5 -  
(VOVWORLD) - ปี 2017 อาเซียนฉลองครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งและ 22 ปีเวียดนามเป็นสมาชิกขององค์การที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ นับตั้งแต่กลายเป็นสมาชิกของอาเซียนอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1995 มูลค่าการค้าต่างตอบแทนระหว่างเวียดนามกับประเทศสมาชิกอาเซียนได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเมื่อปี 1994 มูลค่าการส่งออกของเวียดนามไปยังอาเซียนคิดเป็นร้อยละ 22 ภายหลัง 1 ปีที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อปี 1995 มูลค่าการส่งออกสินค้าของเวียดนามไปยังอาเซียนได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6 โดยบรรลุกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(Photo: Internet)
|
โครงสร้างการส่งออกสินค้าของเวียดนามไปยังอาเซียนนับวันเปลี่ยนแปลงตามแนวทางที่น่ายินดีโดยได้รับการยกระดับทั้งด้านคุณภาพและมูลค่า เวียดนามได้ส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าอุตสาหกรรมหลายรายการ เช่นชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป สินค้าการเกษตรแปรรูปด้วยมูลค่าสูงและยั่งยืน แทนการส่งออกสินค้าที่ยังไม่ได้รับการแปรรูปและวัตถุดิบเหมือนเมื่อก่อน ซึ่งเพื่อบรรลุผลงานนี้ เวียดนามได้ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนอนุมัติข้อตกลงหลายฉบับเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การแลกเปลี่ยนการค้า การลงทุนและการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจ นาย เหงียนก๊วกหยุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและหน้าหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสเวียดนามในอาเซียนได้แสดงความเห็นว่า ในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีได้ช่วยให้เวียดนามบรรลุผลงานสำคัญในหลายด้าน “เวียดนามได้เข้าร่วมกระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจอาเซียนนับตั้งแต่เขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA ได้รับการก่อตั้ง อาเซียนคือหุ้นส่วนการค้าที่จัดสรรสินค้าใหญ่เป็นอันดับ 3 ให้แก่สถานประกอบการเวียดนามและเป็นแหล่งเงินเอฟดีไอที่สำคัญ โดยมียอดเงินจดทะเบียนประมาณ 6 หมื่น 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เวียดนามเป็นสะพานเชื่อมด้านการลงทุนต่างๆของบริษัทข้ามชาติที่มีสำนักงานในอาเซียน โครงการลงทุนของประเทศต่างๆ รวมทั้งอาเซียนเน้นในภาคการผลิต แปรรูปและประดิษฐ์คิดค้น อาเซียนได้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญ ช่วยให้เวียดนามรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในเวลาที่ผ่านมา”
นาย เหงียนก๊วกหยุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและหน้าหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสเวียดนามในอาเซียน |
ในทางเป็นจริง การเป็นสมาชิกอาเซียนได้ทำให้เงินลงทุนจากอาเซียนและมูลค่าการค้าระหว่างเวียดนามกับอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะหลังจากเออีซีได้รับการก่อตั้งเมื่อปลายปี 2015 ที่น่าสนใจคือด้านภาษี โดยอาเซียนได้วางกระบวนการยกเลิกการกีดกันทางการค้าและกำแพงภาษีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนให้อยู่ที่ร้อยละ 0-5 ผ่านข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA และข้อตกลงการค้าสินค้าอาเซียนหรือ ATIGA ท่าน มานพชัย วงศ์ภักดี เอกอัครราชทูตไทยประจำเวียดนามได้เผยว่า “ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเมื่อประชาคมเศรษฐกิจเกิดขึ้น การค้าและการลงทุนระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะที่เวียดนาม การลงทุนที่เกิดขึ้นจากประเทศอาเซียนอยู่อันดับ topten มี 10 อันดับแรก มีทั้งสิงคโปร์ มาเลเซียและไทย ถึง 3 อันดับที่อยู่ใน 10 อันดับต้น เขาเรียกว่า เป็นสิ่งบ่งชี้ที่ดี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการประสานเข้าเป็นเนื้อเดียวกันของระบบการผลิตในอาเซียนเข้าเป็นด้วยกัน โดยเฉพาะกับไทย จะเห็นว่า การค้าเพิ่มขึ้นมาก ปัจจุบัน การค้าขายระหว่างเวียดนามกับไทยไม่เหมือน 30 ปีก่อน ปัจจุบันมีการลงทุน การฝึกอบรมคนของแต่ละฝ่าย เวียดนามก็เริ่มไปลงทุนในประเทศไทยแล้ว มีบริษัท Vietjet ได้เข้าไปแล้ว ไปจดทะเบียนถึง 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐและจ้างพนักงานไทยถึง 300 คน ซึ่งเป็นพัฒนาการที่น่าจับตามอง ที่ 20 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเราเห็นว่า มีเฉพาะฝ่ายไทยมาลงทุนที่นี่ ตอนนี้เราเห็นว่ามีการลงทุนจากทั้งสองฝ่าย”
พิธีเปิดตัวเส้นทางบินตรงเวียดนาม-ไทยของสายการบิน Vietjet Air เมื่อปี 2013 |
ในฐานะสมาชิกอาเซียน เวียดนามมีโอกาสได้รับนโยบายและสิทธิพิเศษเกี่ยวกับระเบียบราชการ การลงทุนและภาษีในอาเซียน ดังนั้น สถานประกอบการเวียดนามมีข้อสะดวกมากมายในการขยายการลงทุนไปยังประเทศสมาชิกอาเซียน โดยที่สิงคโปร์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของเวียดนามในอาเซียน รองจากไทย ปัจจุบัน บริษัท FPT คือนักลงทุนเวียดนามรายใหญ่ที่สุดโดยมียอดเงินลงทุนอยู่ที่ 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐและเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเวียดนามที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ เวียดนามยังติด 1 ใน 5 ประเทศที่มียอดเงินลงทุนมากที่สุดในกัมพูชา โดยมีโครงการเกือบ 200 โครงการ ธนาคารลงทุนและพัฒนากัมพูชาหรือบีไอดีซีสังกัดธนาคารลงทุนและพัฒนาเวียดนามหรือบีไอดีวีเป็นหนึ่งในสถานประกอบการเวียดนามที่ลงทุนมากที่สุดในกัมพูชาโดยมีสาขา 9 แห่ง นาย โด๋เวียดหุ่ง รองผู้อำนวยการใหญ่บีไอดีซีได้เผยว่า“จนถึงขณะนี้ บีไอดีซีมียอดเงินทุน 760 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติด 1 ใน 10 ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในกัมพูชา การประกอบธุรกิจของบีไอดีซีในตลอดกว่า 7 ปีที่ผ่านมาได้รับการช่วยเหลือเป็นอย่างมากจากรัฐบาลทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะสถานทูตและทูตพาณิชย์ในกัมพูชา”
พิธีเปิดตัวสาขาของธนาคารบีไอดีซีในกัมพูชา |
ที่น่าสนใจ ในปี 2018 เมื่อเวียดนามยกเลิกภาษีนำเข้าจากอาเซียนลงเหลือ 0% คาดว่า มูลค่าการค้าระหว่างเวียดนามกับอาเซียนจะเพิ่มมากขึ้น โดยผู้บริโภคจะมีโอกาสเข้าถึงผลิตภัณฑ์ภายในกลุ่มในราคาถูกเนื่องจากไม่ถูกเก็บภาษี เช่นภาษีสำหรับรถยนต์ที่นำเข้าจากไทยและอินโดนีเซีย นาย Suryana Sastradiredja ทูตพาณิชย์อินโดนีเซียประจำเวียดนามได้เผยว่า “ปี 2017 ความต้องการของเวียดนามเกี่ยวกับหน่วยงานอุตสาหกรรมรถยนต์อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะอะไหล่รถยนต์และจักรยานยนต์ของอินโดนีเซีย ในไตรมาสแรกปี 2017 ได้บรรลุกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนำผลประโยชน์มาสู่ทั้งเวียดนามและอินโดนีเซีย โดยเฉพาะในขณะที่ประชาคมอาเซียนได้รับการจัดตั้งทำให้เกิดเขตการค้าเสรีและยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ในปีนี้”
ตามการประเมินของนาย เลเลืองมิงห์ เลขาธิการอาเซียน มูลค่าการค้าต่างตอบแทนระหว่างเวียดนามกับอาเซียนในช่วงปี 2006-2016 ได้เพิ่มขึ้น 120% คิดเป็นร้อยละ 11 ของมูลค่าการค้าของเวียดนาม นอกจากนั้น เอฟดีไอจากอาเซียนที่ไหลเข้าเวียดนามเมื่อปี 2016 ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 อยู่ที่ 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับกับปี 2006 ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงความสำเร็จในการผสมผสานและการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจอาเซียนของเวียดนาม ซึ่งช่วยให้เวียดนามและประเทศสมาชิกอาเซียนสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนที่นับวันเข้มแข็งมากขึ้น ร่วมกันมุ่งสู่การปฏิบัติวิสัยทัศน์อาเซียน 2025.
Nguyen Yen/VOV5