FTA แนวทางใหม่ให้แก่ความสัมพันธ์เวียดนาม-อียู

(VOVworld) – การเจรจารอบที่ 6 เกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีหรือ FTA ระหว่างเวียดนามกับสหภาพยุโรปหรืออียูได้เสร็จสิ้นลงเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศเบลเยี่ยม ตามความเห็นของทั้งสองฝ่าย ในภาพรวมของการเจรจาครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้กำหนดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเสร็จสิ้นการเจรจาในเดือนกันยายนนี้ซึ่งถือเป็นก้าวเดินที่น่ายินดีที่จะเปิดแนวทางใหม่ให้แก่ความ สัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับอียูในเวลาที่จะถึง

(VOVworld) – การเจรจารอบที่ 6 เกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีหรือ FTA ระหว่างเวียดนามกับสหภาพยุโรปหรืออียูได้เสร็จสิ้นลงเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยมโดยมีการแบ่งเป็น 12 กลุ่มเจรจาเกี่ยวกับด้านต่างๆ ตามความเห็นของทั้งสองฝ่าย ในภาพรวมของการเจรจาครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้กำหนดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเสร็จสิ้นการเจรจาในเดือนกันยายนนี้ซึ่งถือเป็นก้าวเดินที่น่ายินดีที่จะเปิดแนวทางใหม่ให้แก่ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับอียูในเวลาที่จะถึง

FTA แนวทางใหม่ให้แก่ความสัมพันธ์เวียดนาม-อียู - ảnh 1
การเจรจารอบที่ 6 เกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีหรือ FTA ระหว่างเวียดนามกับสหภาพยุโรป

ตามความเห็นของหัวหน้าคณะเจรจาเวียดนามและอียู ถึงแม้ยังมีปัญหาที่ยังคั่งค้างอยู่ เช่น การเปิดตลาดการบริการและการใช้จ่ายของรัฐบาล แต่ในการเจรจาครั้งนี้ ด้วยความเชื่อมั่นทางการเมืองในระดับสูง ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุเสียงพูดเดียวกัน ค้ำประกันความสมดุลแบบบูรณาการระหว่างผลประโยชน์ของเวียดนามกับผลประโยชน์ของอียู ถึงแม้การลงนาม FTA ยังคงต้องขึ้นอยู่กับปัญหาด้านเทคนิคและทางนิตินัยในเวลาที่จะถึง แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงที่การเจรจาข้อตกลง FTA เวียดนาม-อียูจะเสร็จสิ้นลงภายในปีนี้ซึ่งจะช่วยเปิดระยะแห่งความร่วมมือในระดับที่สูงขึ้นระหว่างสองฝ่ายอย่างแน่นอน
เขตการค้าเสรีเต็มไปด้วยความต้องการด้านผลประโยชน์

เมื่อเดือนสิงหาคมปี2012 เวียดนามและอียูได้เริ่มเจรจาข้อตกลง FTA ครั้งแรกโดยภายหลัง 2 ปีที่ผ่านมาพร้อมกับ 6 รอบเจรจาโดยตรง ปัญหาที่ยากที่สุดเพื่อมุ่งการบรรลุเขตการค้าเสรีก็ได้รับการหารืออย่างตรงไปตรงมาและค้ำประกันความสมดุลแบบบูรณาการระหว่างผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย นาย Francs Jensen เอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะตัวแทนอียูประจำเวียดนามได้ย้ำว่าปัญหาสำคัญคือ ทั้งสองฝ่ายต้องกำหนดความต้องการและร่วมกันแลกเปลี่ยนความต้องการนี้เกี่ยวกับเขตการค้าเสรีในอนาคต แน่นอนว่า ในกระบวนการเจรจา อียูตระหนักได้ดีว่า เวียดนามยังคงเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา
เวียดนามเป็นหุ้นส่วนที่ 3 ในอาเซียนที่อียูเจรจาข้อตกลง FTA ส่วนอียูก็คือหุ้นส่วนสำคัญรายแรกที่เวียดนามเจรจา FTA การลงนาม FTA จะสร้างโอกาสให้แก่ทั้งสองฝ่าย สำหรับเวียดนาม FTA จะช่วยยกเลิกกีดกันทางการค้า ยกเว้นภาษี อำนวยความสะดวกให้แก่การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร่วมทั้งการส่งออก โดยปัจจุบัน สินค้าส่งออกของเวียดนามไปยังอียูที่ได้รับการยกเว้นภาษีอยู่ที่ร้อยละ 42 ถ้าหาก FTA ได้รับการลงนาม อัตรานี้จะอยู่ที่ร้อยละ 90% นอกจากนั้น  อียูจะผลักดันการรับรองระเบียบเศรษฐกิจเชิงตลาดของเวียดนามโดยเร็วและอำนวยความสะดวกให้แก่เวียดนามในการต่อสู้กับการคุ้มครองทางการค้า เช่น ภาษีต่อต้านการขายทุ่มตลาด ส่วนสำหรับอียู FTA จะช่วยให้นักลงทุนอียูมีบรรยากาศการประกอบธุรกิจที่โปร่งใสและเปิดเผยมากขึ้น โดยเฉพาะในด้านที่อียูมีจุดแข็ง นาย Francs Jensen เอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะตัวแทนอียูประจำเวียดนามได้แสดงความเห็นว่าการเจรจา FTA จะนำผลประโยชน์มาสู่ทั้งเวียดนามและอียู ทั้งสองฝ่ายต่างเป็นหุ้นส่วนที่ดีของกัน ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายต้องมุ่งสู่เขตการค้าเสรีที่ก้าวหน้าให้มากขึ้น นำผลประโยชน์มาสู่ทั้งสองฝ่ายมากขึ้น ดังนั้น ไม่ควรจำกัดการบังคับใช้ในระยะสั้นเพราะ FTA มิใช่มีผลบังคับใช้ในปีสองปีหากจะมีผลในระยะยาวและมีลักษณะพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่ทั้งสองฝ่าย

FTA แนวทางใหม่ให้แก่ความสัมพันธ์เวียดนาม-อียู - ảnh 2
สินค้าสิ่งทอและเสื่อผ้าสำเร็จรูปคือสินค้าหลักที่เวียดนามส่งออกไปยังยุโรป

ศักยภาพสูงให้แก่ความร่วมมือทวิภาคี
ปี 2013 ถึงแม้เศรษฐกิจของอียูยังไม่ฟื้นตัว แต่มูลค่าการค้าต่างตอบแทนระหว่างเวียดนามกับอียูก็ยังคงบรรลุกว่า 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐโดยสินค้าส่งออกหลักของเวียดนาม ประกอบด้วย รองเท้าหนัง สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป กาแฟ สัตว์น้ำและเฟอร์นิเจอร์ ส่วนสินค้านำเข้าหลักจากอียูคือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น เครื่องจักรกล  อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องบิน รถยนต์ เภสัชภัณฑ์และเหล็ก จากแนวโน้มแห่งการลงนาม FTA ในปัจจุบัน สถานประกอบการกำลังมีโอกาสมากมายเพื่อผลักดันการส่งออกไปยังตลาดนี้ ท่าน ฝ่ามแซงโจว เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศเบลเยี่ยมได้แสดงความเชื่อมั่นว่าการแลกเปลี่ยนการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 ต่อปีในตลอดสองปีที่ผ่านมา นอกจากนั้น การถ่ายทอดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเป็นไปอย่างเข้มแข็งและที่สำคัญคือ เวียดนามสามารถธำรงแหล่งเงินโอดีเอได้ ปัจจุบัน หลายประเทศอียูอาจจะลดหรือมุ่งสู่การยุติแหล่งเงินทุนนี้แต่เงิน ODA ของสหภาพยุโรปยังคงเพิ่มขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับอียูได้ผ่านพ้นฐานะการอุปถัมภ์และช่วยเหลือทางการเงิน จากการลงนาม FTA จะช่วยให้เวียดนามส่งออกสินค้าไปยังตลาดยุโรปและหวังว่า จะเสร็จสิ้นการเจรจาข้อตกลงฉบับนี้ภายในปีนี้
หลังจากที่อนุมัติสนธิสัญญาลิสบอนเมื่อปี 2009 สหภาพยุโรปกำลังมุ่งสู่การเป็นรูปแบบสหพันธรัฐโดยมี 28 ประเทศเพื่อผลักดันการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกและในนโยบายด้านการต่างประเทศ อียูให้ความสนใจมากขึ้นต่ออาเซียน รวมทั้งเวียดนาม
สิ่งที่น่าสนใจคือ ประเทศในอียูได้ค่อยๆฟันฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ กลับเข้าสู่ภาวะมีเสถียรภาพ มีการขยายตัวและแก้ไขสถานการณ์การว่างงานได้ ดังนั้นปี 2014 จึงถูกคาดหวังว่า อียูจะกลับไปขยายตัวอย่างเข้มแข็ง บนพื้นฐานแห่งความสัมพันธ์ร่วมมือที่ดีงามที่กำลังมีอยู่ การเสร็จสิ้นการเจรจาและลงนาม FTA โดยเร็วจะสร้างพื้นฐานให้แก่การขยายตัวด้านการค้า-การลงทุนระหว่างเวียดนามกับอียูให้มากยิ่งขึ้นในปีต่อๆไป./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด