การเลือกตั้งรัฐสภายุโรป การเปลี่ยนแปลงสถานการ์ทางการเมืองในยุโรป

(VOVWORLD) -ในการเลือกตั้งรัฐสภายุโรปปีนี้ที่มีขึ้นในระหว่างวันที่ 6 -9 มิถุนายน พรรคฝ่ายขวาต่างๆโดยเฉพาะพรรคขวาจัดได้รับชัยชนะ ซึ่งผลงานนี้อาจส่งผลกระทบต่อนโยบายที่สำคัญของสหภาพยุโรปหรืออียูและเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจทางการเมืองในหลายประเทศสมาชิก

การเลือกตั้งรัฐสภายุโรป การเปลี่ยนแปลงสถานการ์ทางการเมืองในยุโรป - ảnh 1นาย เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสไปลงคะแนน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน(Photo: AFP)

การเลือกตั้งรัฐสภายุโรปหรือ EP วาระปี 2024 -2029 ได้รับการประเมินว่า เป็นการเลือกตั้งที่สำคัญที่สุดต่อสหภาพยุโรปหรืออียูในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา โดยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งกว่าร้อยละ 51 จากจำนวนทั้งหมด 360 ล้านคนใน 27 ประเทศสมาชิกอียูได้ออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา

ชัยชนะของพรรคฝ่ายขวา

ผลการนับคะแนนเบื้องต้นที่ประกาศเมื่อวันที่ 11 มิถุนายนระบุว่า พรรคฝ่ายขวาประชาชนยุโรป  หรือ EPP ได้ 186 ที่นั่งและยังได้ที่นั่งมากที่สุดในรัฐสภายุโรปในวาระที่จะถึง ซึ่งนับรวมกับพรรคฝ่ายขวาและพรรคสายกลางอื่นๆ ประกอบด้วยพรรค EPP พันธมิตรก้าวหน้าแห่งสังคมนิยมและประชาธิปไตยหรือ S&D พรรคเปลี่ยนแปลงใหม่ยุโรปหรือ RE ปรากฎว่ากลุ่มพรรคฝ่ายขวาได้ 400 ที่นั่งจากจำนวนทั้งหมด 720 ที่นั่งใน EP  ซึ่งสูงกว่าจำนวนที่นั่งที่จำเป็นเพื่อรักษาบทบาทเป็นแกนหลักใน EP และตัดสินใจแต่งตั้งประธานคณะกรรมาธิการยุโรปหรือ EC ส่วนกลุ่มพรรคกรีนได้ 53 ที่นั่งเท่านั้น ซึ่งลดลง 19 ที่นั่งเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งเมื่อปี 2019

แต่ สิ่งที่ถือว่าน่าสนใจในการเลือกตั้งรัฐสภายุโรปปีนี้คือ การที่พรรคขวาจัดสามารถทำผลงานได้ดีเกินความคาดหมายโดยเฉพาะในสองประเทศมหาอำนาจของอียูคือฝรั่งเศสและเยอรมนี โดยที่ประเทศฝรั่งเศส พรรค  เนชันแนลแรลลี หรือ RN ภายใต้การนำของผู้นำรุ่นใหม่Jordan Bardella  ได้รับเสียงสนับสนุนกว่าร้อยละ 31 สูงกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับพรรคเรอเนซองส์ของประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครงคือร้อยละ 15.1  ส่วนที่ประเทศเยอรมนี พรรคทางเลือกเพื่อเยอรมนีหรือ AfD ซึ่งเป็นพรรคขวาจัดได้รับเสียงสนับสนุนร้อยละ 16  อยู่อันดับที่ 2 และแซงหน้า 3 พรรคที่พรรคร่วมรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเยอรมนี โอลัฟ ช็อลทซ์  ที่ประเทศออสเตรีย สเปน อิตาลี เบลเยียมและเนเธอร์แลนด์  พรรคฝ่ายขวาสุดได้ที่นั่งมากกว่าการเลือกตั้งเมื่อ 5 ปีก่อน แม้การที่พรรคฝ่ายขวา โดยเฉพาะพรรคขวาจัดและพรรคประชานิยมได้รับที่นั่งมากขึ้นเป็นสิ่งที่ได้รับการพยากรณ์ก่อนหน้านั้นแต่ผลการเลือกตั้งปีนี้ยังสร้างแรงสั่นสะเทือนและดุลอำนาจใหม่นี้อาจส่งผลกระทบต่อนโยบายที่สำคัญของอียู นาง Corina Stratulat ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยนโยบายยุโรปหรือ EPC ได้ให้ข้อสังเกตว่า 

“สิ่งแวดล้อมจะเป็นด้านที่ได้รับผลกระทบง่าย นอกจากนี้ ถ้าดูโครงสร้างของ EP ดิฉันคิดว่า ด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องถึงการปฏิรูปกลไกและขยายอียู รวมทั้งด้านกลาโหมอาจได้รับผลกระทบ”

บรรดาผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวว่า การแบ่งขั้วที่เข้มแข็งและการเพิ่มบทบาทที่สูงขึ้นของกลุ่มพรรคขวาจัดจะบังคับให้พรรค  EPP, RE, S&D ที่ได้ที่นั่งข้างมากต้องขึ้นอยู่กับฝ่ายขวาจัดเพื่ออนุมัติการปฏิรูปที่สำคัญ นาย Armida van Rij ผู้เชี่ยวชาญจาก Chatham Houseได้เผยว่า บทบาทที่มากขึ้นของพรรคฝ่ายขวาสุดจะส่งผลกระทบในทางลบต่อนโยบายผู้อพยพของยุโรป โดยจะบังคับให้ EC ยกเลิกหรือระงับการปฏิรูปที่ได้รับการอนุมัติ เช่น การควบคุมความมั่นคงในเขตชายแดน กลไกการจัดสรรคผู้อพยพ มีความเป็นไปได้ที่แผนการปฏิรูปสีเขียว จะได้รับผลกระทบ ในขณะที่ EP อาจระงับการอนุมัติข้อตกลงที่สำคัญด้านสภาพภูมิอากาศ ผ่อนปรนข้อกำหนดเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในด้านการเกษตรเหมือนที่เคยทำเมื่อเดือนเมษายนในสภาวการณ์ที่เกิดการชุมนุมของเกษตรกรในทั่วยุโรป แผนการห้ามขายรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในในยุโรปนับตั้งแต่ปี 2035 ที่อาจถูกยกเลิก พร้อมทั้งการผลักดันการลงทุนในด้านพลังงานหมุนเวียนอาจได้รับผลกระทบเนื่องจากความต้องการใช้เชื้อเพลิงที่มีราคาถูกกว่า เช่น ก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งและพลังงานนิวเคลียร์ สำหรับด้านความมั่นคงและกลาโหม พรรคฝ่ายขวาสุดต่างๆในยุโรปที่คัดค้านการเพิ่มงบประมาณด้านกลาโหม ดังนั้น สิ่งนี้อาจขัดขวางแผนการที่ทะเยอทะยานของอียูเกี่ยวกับการสร้างกองทุนด้านกลาโหมร่วมหรือการเพิ่มการสนับสนุนให้แก่ยูเครน

สถานการณ์ในฝรั่งเศส

 นอกจากผลกระทบในระยะยาวต่อนโยบายที่สำคัญของอียู การเลือกตั้งรัฐสภายุโรปปีนี้ยังส่งผลกระทบใหญ่ต่อสถานการณ์การเมืองของหลายประเทศสมาชิกอียู โดยเฉพาะฝรั่งเศส เมื่อค่ำวันที่ 9 มิถุนายน หลังจากที่ทราบชัยชนะของพรรค RN นาย เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ตัดสินใจยุบรัฐสภาและจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนดในวันที่ 30 มิถุนายนและวันที่ 7 กรกฎาคม นี่เป็นครั้งแรกภายหลัง 27 ปีที่รัฐสภาฝรั่งเศสถูกยุบเพื่อจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนด สำหรับการตัดสินใจดังกล่าว ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง เห็นว่า ประชาชนฝรั่งเศสมีสิทธิ์เลือกอีกครั้ง พร้อมทั้งแสดงความเชื่อมั่นต่อความฉลาดของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งฝรั่งเศสเพื่อป้องกันไม่ให้พรรคฝ่ายขวาจัด RN  ขึ้นดำรงตำแหน่ง แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครงกำลัง “เดิมพัน” ในสภาวการณ์ที่พรรค RN มีโอกาสชนะในการเลือกตั้งรัฐสภาฝรั่งเศส นาย  Anne Muxel  ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทางการเมืองสังกัดโรงเรียน Sciences Po Parisให้ข้อสังเกตว่า  

“การตัดสินใจดังกล่าวจะเปิดระยะที่ไม่มีเสถียรภาพในอีก 3 สัปดาห์ข้างหน้าเมื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งฝรั่งเศสต้องมีการคัดเลือกอื่น การตัดสินใจดังกล่าวมีความเสี่ยงมากเพราะมีความได้เปรียบที่นับเป็นครั้งแรกที่พรรคฝ่ายขวาจัดจะขึ้นบริหารประเทศ”

ถ้าหากพรรค RN ได้รับชัยชนะและได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากในรัฐสภายุโรปหลังการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครงจะมีโอกาสน้อยเพื่อคัดเลือก โดยต้องมอบอำนาจการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ให้แก่พรรค RN  นอกจากนี้ การเลือกตั้งยุโรปยังส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศยุโรปอื่น ที่ประเทศเบลเยียม หลังจากที่ได้ประสบความล้มเหลวในการเลือกตั้งยุโรปและการเลือกตั้งสหพันธรัฐ นาย Alexander De Croo  นายกรัฐมนตรีเบลเยียมต้องลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน  ส่วนที่เยอรมนีแม้นายกรัฐมนตรีเยอรมนี โอลัฟ ช็อลทซ์ประกาศว่า จะไม่จัดการเลือกตั้งก่อนกำหนดแต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ความล้มเหลวของพรรคร่วมรัฐบาลจะสร้างความอ่อนแอในการบริหารของรัฐบาลเยอรมนีในสภาวการณ์ที่สถานการณ์เศรษฐกิจของเยอรมนีประสบอุปสรรคมากมาย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด