การลงนามปฏิญญาแอตแลนติกระหว่างอังกฤษกับสหรัฐ: โอกาสกระชับความสัมพันธ์พิเศษ

(VOVWORLD) - การเยือนสหรัฐครั้งแรกของนาย Rishi Sunak ในฐานะนายกรัฐมนตรีอังกฤษในระหว่างวันที่ 7-8 มิถุนายนได้ประสบผลเป็นที่น่าสนใจด้วยการลงนามในปฏิญญาแอตแลนติก ซึ่งไม่เพียงช่วยกำหนดกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศในเวลาที่จะถึงเท่านั้น หากยังพิสูจน์ให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศยังคงมีความใกล้ชิดแม้ได้รับผลกระทบจากนโยบายการต่างประเทศในยุคของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ
การลงนามปฏิญญาแอตแลนติกระหว่างอังกฤษกับสหรัฐ: โอกาสกระชับความสัมพันธ์พิเศษ - ảnh 1นายกรัฐมนตรีอังกฤษ Rishi Sunak และประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน (The Guardian)

สหรัฐกำลังเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่ที่สุดของอังกฤษ โดยมูลค่าคิดเป็นร้อยละ 16.3 ของการค้ากับต่างประเทศ ส่วนอังกฤษเป็นหุ้นส่วนการค้าอันดับที่ 7 ของสหรัฐ มูลค่าการค้าต่างตอบแทนในปี 2022 บรรลุเกือบ 2 แสน 8 หมื่นล้านปอนด์หรือ 3 แสน 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ข้อตกลงทางเศรษฐกิจขนาดเล็ก

ภายใต้ปฏิญญาแอตแลนติก อังกฤษและสหรัฐได้เห็นพ้องกันที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าในด้านที่สำคัญๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์  ระบบโทรคมนาคม 5G และ 6G คอมพิวเตอร์ควอนตัม เซมิคอนดักเตอร์และเทคโนโลยีชีวภาพ รวมทั้งคำมั่นที่จะผ่อนคลายกำแพงการคุ้มครองและกระชับความสัมพันธ์ด้านกลาโหมและความร่วมมือในการปกป้องข้อมูล นอกจากนี้ ปฏิญญาแอตแลนติกยังกล่าวถึงการลดผลกระทบจากกฎหมายลดอัตราเงินเฟ้อที่ลงนามโดยประธานาธิบดี โจ ไบเดน เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ซึ่งถือว่าเป็นการผ่อนปรนของฝ่ายสหรัฐ โดยสหรัฐอนุญาตให้ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของอังกฤษสามารถใช้แบตเตอรี่หรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยอังกฤษหรือจากประเทศที่สหรัฐมีข้อตกลงเกี่ยวกับแร่ธาตุสำคัญ โดยรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละคันจะได้รับเครดิตภาษีมูลค่า 3,750 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของอังกฤษ นอกจากนี้ ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน ยังให้คำมั่นที่จะขอความร่วมมือจากวุฒิสภาสหรัฐอนุมัติให้อังกฤษได้รับสิทธิ์เป็น "แหล่งผลิตภายในประเทศ" ตามกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างด้านกลาโหมของสหรัฐ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีทางทหารอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นักวิเคราะห์หลายคนแสดงความคิดเห็นว่า ปฏิญญาแอตแลนติกเปรียบเสมือนเป็นข้อตกลงทางเศรษฐกิจขนาดเล็กต่างๆ และมีความหมายสำคัญในเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งนาย Sunak นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ชื่นชมปฏิญญานี้ว่า เป็น "กรอบความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจใหม่สำหรับยุคใหม่ และเป็นรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน" พร้อมทั้งยืนยันว่า จะอำนวยความสะดวกให้แก่บริษัทต่างๆของอังกฤษ ซึ่งตอบสนองทั้งโอกาสและความท้าทายที่อังกฤษต้องเผชิญทั้งในปัจจุบันและอนาคต

โอกาสเปลี่ยนแปลงใหม่ความสัมพันธ์พิเศษ

ปฏิญญาแอตแลนติกถูกมองว่า เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะเป็นหัวเลี้ยวหัวเพื่อต่อช่วยให้อังกฤษสามารถเข้าถึงระบบเศรษฐกิจของสหรัฐและถือเป็นนิมิตรหมายแห่งการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทวิภาคี ปฏิญญานี้ได้รับการประกาศหลังจากที่อังกฤษไม่สามารถบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีอย่างรอบด้านกับสหรัฐ โดยเจ้าหน้าที่อังกฤษเผยว่า วิธีการเข้าถึงใหม่นี้มีเป้าหมายเพื่อให้อังกฤษสามารถรับมือความท้าทายทางเศรษฐกิจโลกได้ดีขึ้น พร้อมทั้งชื่นชมว่าเป็นชัยชนะด้านการต่างประเทศของรัฐบาล

ผลการเยือนสหรัฐครั้งนี้ก็ถือเป็นคำยืนยันของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ  Rishi Sunak ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเป็นความสัมพันธ์พันธมิตรที่ขาดไม่ได้ในขณะที่ทั้งสองประเทศต่างก็มีความเชื่อมั่นในการยืนหยัดเป้าหมายเดียวกัน สหรัฐเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของอังกฤษและทั้งสองประเทศต่างเป็นหุ้นส่วนที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆ ของกันในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการรักษาความมั่นคงไปจนถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยผู้นำอังกฤษแสดงความเชื่อมั่นว่า การร่วมกันระหว่างสหรัฐกับอังกฤษจะช่วยให้ทั้งสองประเทศพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างงานทำและค้ำประกันความปลอดภัยอย่างยั่งยืนให้แก่ประชาชน ส่วนประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน ได้ยืนยันว่า ความสัมพันธ์พิเศษนี่กำลังดำเนินไปอย่างดีงามและไม่มีประเทศใดที่ใกล้ชิดกับสหรัฐมากกว่าอังกฤษ

ความสัมพันธ์พันธมิตรระหว่างสหรัฐกับอังกฤษเคยผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากในยุคของประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ และการถอนตัวออกจากอียูของอังกฤษ แต่ด้วยผลสำเร็จจากการเยือนสหรัฐของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ Rishi Sunak ทั้งสองฝ่ายได้พิสูจน์ให้โลกรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับอังกฤษยังคงจะมีก้าวพัฒนาใหม่ต่อไปในโลกที่นับวันมีความผันผวนมากขึ้น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด