การลอบสังหารนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์อิหร่านทำให้ตะวันออกกลางเกิดความตึงเครียด

(VOVWORLD) - เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา บรรยากาศที่เงียบสงบภายในเวลาสั้น ๆ ที่หายากในตะวันออกกลางหลังการลงนามข้อตกลงสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มประเทศอาหรับเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ถูกทำลายลงเมื่อนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ชั้นนำของอิหร่าน มอห์เซน ฟาครีซาเดห์ (Mohsen Fakhrizadeh) ถูกลอบสังหารในการโจมตีในภาคตะวันออกของอิหร่านเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน เหตุการณ์นี้ได้ทำให้ประชามติและบรรดานักวิเคราะห์มีความวิตกกังวลว่า อาจนำไปสู่ความไร้เสถียรภาพและความตึงเครียดที่รุนแรงครั้งใหม่ในภูมิภาค  
การลอบสังหารนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์อิหร่านทำให้ตะวันออกกลางเกิดความตึงเครียด - ảnh 1เหตุลอบสังหารนักวิทยาศาสตร์ด้านนิวเคลียร์ชั้นนำของอิหร่าน Mohsen Fakhrizadeh  (Times Of Israel)

ก่อนถูกลอบสังหาร นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ มอห์เซน ฟาครีซาเดห์  ไม่ค่อยปรากฏตัวต่อสื่ออิหร่านและโลก แต่เขาได้รับการถือว่า เป็นบุคคลสำคัญแถวหน้าในโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของอิหร่าน

บุคคลพิเศษ    

ตามแหล่งข่าวจากตะวันตกหลายแห่ง นาย มอห์เซน ฟาครีซาเดห์  เป็นนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์แถวหน้าของอิหร่านและเป็นผู้ดูแลโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของอิหร่านมาหลายปี ซึ่งทางสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือไอเออีเอและหน่วยข่าวกรองของตะวันตกประเมินว่า เขาเป็นหัวหน้าโครงการนิวเคลียร์ลับของอิหร่านก่อนที่โครงการนี้ถูกระงับเมื่อปี 2003 ในขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู ได้กล่าวถึงนายมอห์เซน ฟาครีซาเดห์ ด้วยความสนใจเป็นพิเศษในการนำเสนอเกี่ยวกับโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของอิหร่านเมื่อปี 2018 โดยเฉพาะ นาย โฮล์ลี ดาก์เรส ผู้เชี่ยวชาญจากสภาแอตแลนติก ประเทศสหรัฐ ได้เรียกนาย มอห์เซน ฟาครีซาเดห์  ว่าเป็น เจ โรเบิร์ท ออพเพนไฮเมอร์ (J.Robert Oppenheimer)  ของอิหร่าน ซึ่งสื่อให้เห็นว่ามีบทบาทที่สำคัญเทียบเท่ากับนักวิทยาศาสตร์ที่เป็น “บิดาแห่งระเบิดปรมาณู"  ที่พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์คนแรกของโลกให้แก่สหรัฐ

ตามสื่อต่างประเทศ นาย ฟาครีซาเดห์  ได้เข้าร่วมการปฏิวัติอิสลามของอิหร่านเมื่อปี 1979 และเข้าร่วมกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านเทคนิกนิวเคลียร์และเคยสอนที่มหาวิทยาลัยทหารอิมามฮุเซน และเป็นหนึ่งใน 8 พลเมืองของอิหร่านที่ถูกจำกัดในการเดินทางระหว่างประเทศและการทำธุรกรรมทางการเงินตามมติปี 2007 ของสหประชาชาติด้วยข้อกล่าวหาว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัยด้านนิวเคลียร์หรือขีปนาวุธข้ามทวีป ซึ่งบทบาทและสถานะที่สำคัญพิเศษของนักวิทยาศาสตร์คนนี้ก็เป็นการอธิบายได้ว่า ทำไมทางการอิหร่านจึงมีท่าทีที่โกรธเกรี้ยว ในขณะที่ประชาคมโลกมีความวิตกกังวลถึงอันตรายที่อาจตามมา  

การลอบสังหารนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์อิหร่านทำให้ตะวันออกกลางเกิดความตึงเครียด - ảnh 2พิธีศพนักวิทยาศาสตร์ด้านนิวเคลียร์ชั้นนำของอิหร่าน Mohsen Fakhrizadeh (กระทรวงกลาโหมอิหร่าน)

ตะวันออกกลางร้อนแรงมากขึ้น

บรรดานักวิเคราะห์หลายคนแสดงความเห็นว่า เหตุลอบสังหารนักวิทยาศาสตร์ มอห์เซน ฟาครีซาเดห์  ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อสถานการณ์ภายในของอิหร่านเหมือนกับเหตุการณ์กองทัพอากาศสหรัฐสังหารนายพลคาเซ็ม ซูลีมานี (Qasem Soleimani) ผู้บัญชาการ Quds ของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามของอิหร่านในอิรักเมื่อต้นปีนี้ โดยเพื่อตอบโต้การสังหารนายพล ที่ทรงอิทธิพลของอิหร่านได้บุกโจมตีฐานทัพหลายแห่งที่มีกองกำลังทหารสหรัฐประจำการในอิรัก แต่ไม่ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิต ดังนั้นถ้าหากสามารถระบุตัวผู้ก่อเหตุลอบสังหารนักวิทยาศาสตร์ มอห์เซน ฟาครีซาเดห์ อิหร่านจะต้องมีปฏิบัติการตอบโต้แม้การตอบโต้นั้นอาจมีลักษณะเป็นพิธีการ แต่ในเหตุการณ์นี้ อิสราเอลกำลังถูกสงสัยว่า เป็นผู้ก่อเหตุ โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อิหร่านได้ประกาศหลายครั้งว่า อยากทำลายอิสราเอลในขณะที่อิสราเอลก็มีท่าทีที่แข็งกร้าวต่ออิหร่าน

ในความเป็นจริง ภายหลังการลอบสังหารเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน นาย Ali Khamenei ผู้นำสูงสุดทางจิตวิญญาณของอิหร่านได้ประกาศว่า อิหร่านจะตอบโต้ต่อการลอบสังหารนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ มอห์เซน ฟาครีซาเดห์ ในขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีอิหร่าน ฮัสซัน โรฮานี ได้กล่าวหาว่าอิสราเอลมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารนาย มอห์เซน ฟาครีซาเดห์ และให้คำมั่นว่า จะตอบโต้ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว "ในเวลาที่เหมาะสม" ล่าสุด ในงานศพของนาย มอห์เซน ฟาครีซาเดห์ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอิหร่าน อามีร์ ฮาตามี ได้ยืนยันว่า อิหร่านกำลังเตรียมตอบโต้อย่างรุนแรงต่อการลอบสังหารนาย มอห์เซน ฟาครีซาเดห์

จากสถานการณ์ดังกล่าวหลายประเทศและองค์กรระหว่างประเทศต่างได้แสดงความวิตกกังวลและเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ทำให้ตะวันออกกลางตกเข้าสู่ภาวะไร้เสถียรภาพ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จอร์แดนและรัสเซียได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ภูมิภาคตะวันออกกลางตกเข้าสู่ความไร้เสถียรภาพ ก่อนหน้านั้น นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติยังเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้น หลีกเลี่ยงการมีปฏิบัติการที่อาจทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคทวีความตึงเครียด  ส่วนกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้น หลีกเลี่ยงการทำให้สถานการณ์ทวีความตึงเครียดเพราะอาจส่งผลกระทบต่อการเจรจาเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ในขณะเดียวกัน กระทรวงต่างประเทศตุรกีได้เรียกร้องให้นำคนที่เกี่ยวข้องกับการลอบสังหารมาลงโทษและเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้นอย่างเต็มที่

ส่วนอดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐจอห์น เบรนแนน  ได้เตือนว่า การลอบสังหารครั้งนี้อาจนำไปสู่การปะทะในตะวันออกกลาง ในขณะที่ ส.ส ของพรรคเดโมแครต คริส เมอร์ฟีย์ สมาชิกคณะอนุกรรมการตะวันออกกลางของวุฒิสภาสหรัฐได้ยืนยันว่า การลอบสังหารนักวิทยาศาสตร์ของอิหร่าน มอห์เซน ฟาครีซาเดห์ "ไม่ได้ทำให้สหรัฐ อิสราเอลหรือโลกปลอดภัยมากขึ้น" ./.  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด