การส่งตัวนักรบไอเอสต่างชาติกลับประเทศ - ปัญหาที่ไม่ง่าย

(VOVWORLD) - วันที่ 14 พฤศจิกายน ตุรกีได้ส่งตัวนักโทษไอเอสต่างชาติที่กำลังถูกคุมขังในตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรียกลับประเทศบ้านเกิด นี่เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 3 วันที่ผ่านมา ซึ่งในกลุ่มนักโทษไอเอส มีหลายคนเป็นพลเรือนยุโรป การตัดสินใจดังกล่าวของตรุกีทำให้หลายประเทศยุโรปแสดงความกังวลและทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปกับตุรกีตึงเครียดมากขึ้น
การส่งตัวนักรบไอเอสต่างชาติกลับประเทศ - ปัญหาที่ไม่ง่าย - ảnh 1นักรบไอเอสในซีเรียเมื่อปี 2014 (Photo AP)

ตุรกีถือว่า ยุโรปกำลังเรียกร้องให้ตุรกีต้องทำหน้าที่ซ้อนกันคือต้องรับผิดชอบต่อผู้อพยพซีเรีย รวมทั้งนักโทษไอเอสในขณะที่บางประเทศได้ถอดถอนสัญชาติของพวกเขาไปแล้วเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบต่อนักรบเหล่านี้ ดังนั้นตุรกีได้ยืนยันอย่างหนักแน่นว่า ประเทศเขาไม่ใช่โรงแรม และจะทำทุกอย่างเพื่อส่งตัวนักโทษไอเอสกลับประเทศ

ปฏิกิริยาที่ระมัดระวังจากบรรดาประเทศยุโรป

ตุรกีอาจส่งตัวนักรบไอเอสต่างชาติกว่า 1,200 คนในเรือนจำต่างๆของตุรกีและอีก 287 คนที่ถูกกองทัพตุรกีจับกุมตัวในยุทธการณ์ในซีเรียเมื่อเร็วๆนี้กลับประเทศ ไม่ว่าประเทศต่างๆจะตกลงรับหรือไม่ก็ตาม แต่ขณะนี้มีเพียงประเทศยุโรปไม่กี่ประเทศที่ตกลงรับพลเรือนของตนที่เคยเป็นนักรบไอเอสกลับประเทศ นั่นคือ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เยอรมนีและไอร์แลนด์ ก่อนที่ทำการเนรเทศนักรบไอเอสเหล่านี้ ตุรกีได้กล่าวหาหลายประเทศยุโรปมีความล่าช้าเกินไปในการรับพลเมืองของตนที่เป็นสมาชิกไอเอสในตะวันออกกลางกลับประเทศต้นแหล่ง

ก่อหน้านั้น เมื่อต้นปี 2019 ในการตอบคำเรียกร้องของประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ เกี่ยวกับเรื่องนี้ นาย Nicole Belloubet รัฐมนตรีว่าการกระทวงยุติธรรมของฝรั่งเศสได้ยืนยันว่า ฝรั่งเศสยังไม่มีนโยบายใหม่เกี่ยวกับการรับพลเมืองฝรั่งเศสที่เป็นสมาชิกของไอเอสในซีเรีย หากแต่คงการปฏิบัติตามนโยบายพิจารณาเป็นรายบุคคล ส่วนประเทศอังกฤษและสวีเดนได้ปฏิเสธ โดยเผยว่า นักรบไอเอสต่างชาติควรได้รับการลงโทษในประเทศที่พวกเขาทำความผิด ในขณะเดียวกัน ประเทศออสเตรียได้ย้ำถึงความยากลำบากต่างๆของกระบวนการนี้ ส่วนสหภาพยุโรปได้เผยว่า ยังไม่มีการตัดสินใจในระดับอียูเกี่ยวกับเรื่องนี้และนี่คือปัญหาที่อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลแต่ละประเทศ

จากสถานการณ์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 12 ที่ผ่านมา นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้เรียกร้องให้มีข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับชะตากรรมของนักรบไอเอสต่างชาติที่กำลังติดคุกในตะวันออกกลาง โดยถือว่า ซีเรียและอิรักไม่ต้องรับผิดชอบแก้ไขปัญหานี้แทนประเทศอื่น เพราะว่าปัญหานี้ต้องได้รับความร่วมมือและความสามัคคีระหว่างประเทศ ทุกฝ่ายไม่ควรเรียกร้องให้อิรักและซีเรียแก้ไขปัญหานี้เท่านั้น

สาเหตุของความกังวลดังกล่าว

ในหลายปีมานี้ บรรดาผู้นำยุโรปให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการที่สมาชิกของกลุ่มไอเอสจะถูกเนรเทศกลับประเทศ โดยไม่อยากรับพวกเขา รวมถึงครอบครัวเพราะมีความกังวัลว่า พวกเขาอาจเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคง โดยเฉพาะในขณะที่เหตุโจมตีก่อการร้ายได้เกิดขึ้นหลายครั้งในยุโรปและยังพบข้อมูลว่ากลุ่มไอเอสอาจวางแผนโจมตีก่อการร้ายในยุโรปอีก รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่กลุ่มไอเอสจะใช้เพื่อบริหารเครือข่ายระหว่างประเทศ การส่งสมาชิกเข้ามาในยุโรปและวางแผนการปล้นธนาคาร การก่อวินาศกรรมโดยขับรถยนต์ชนผู้บริสุทธิ์ ลอบสังหารและโจมตีทางอินเตอร์เน็ต สำนักความมั่นคงกลางรัสเซียหรือเอฟบีเอสเคยเตือนว่า แม้ได้รับความเสียหายอย่างหนักในซีเรียและอิรักแต่กลุ่มก่อการร้าย เช่น ไอเอสและอัลกออิดะห์และกลุ่มติดอาวุธที่มีความสัมพันธ์ยังคงเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงต่อยุโรป

ปัจจุบันนี้ ภัยคุกคามจากการก่อการร้ายในยุโรปยังคงเป็นภัยคุกคามใหญ่ต่อบรรดาผู้นำยุโรป ดังนั้นการส่งพลเมืองที่เคยเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการ้ายกลับประเทศยังคงสร้างความกังวลให้แก่บรรดาผู้นำประเทศยุโรปเป็นอย่างมาก แต่ยุโรปก็ยากที่จะบังคับตุรกีได้เพราะนอกจากนักโทษไอเอส 1 พันคน ตุรกียังเป็นที่อยู่อาศัยของผู้อพยพประมาณ 3.6 ล้านคน และนี่คือปัญหาที่ยุโรปกังวลมากกว่าเพราะผู้นำตุรกีเคยกล่าวอย่างชัดเจนว่า หากอียูเรียกยุทธการณ์ทางทหาร “ฤดูใบไม้ผลิแห่งสันติภาพ” ของตุรกีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรียคือการบุกยึด ตุรกีก็จะเปิดชายแดนปล่อยให้ผู้อพยพเข้ายุโรปได้อย่างสะดวก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด