การเยือนเพื่อรับฟังความคิดเห็นแต่มีความสำคัญ

( VOV5)-นายจอห์น เคร์รี รมว.ต่างประเทศคนใหม่ของสหรัฐอเมริกากำลังเยือน ๙ ประเทศยุโรปและตะวันออกกลางเป็นเวลา ๑๑ วัน ซึ่งเป็นการเยือนต่างประเทศครั้งแรกของนายเคร์รีในฐานะรมว.ต่างประเทศ อันเป็นการแสดงให้เห็นว่า สหรัฐอเมริกาให้ความสนใจต่อทวีปที่เก่าแก่แห่งนี้ อีกทั้งเป็นการยืนยันบทบาทของสหรัฐในการแสวงหามาตรการแก้ไขปัญหาตะวันออกกลางอย่างสันติ  อย่างไรก็ตาม วงการวิเคราะห์สถานการณ์เห็นว่า การเยือนยุโรปและตะวันออกกลางครั้งนี้ของนายจอห์น เคร์รีเป็นเพียงการรับฟังความคิดเห็นเท่านั้น โดยยังไม่ประสบก้าวกระโดดที่เป็นรูปธรรมแต่อย่างใด

( VOV5)-นายจอห์น เคร์รี รมว.ต่างประเทศคนใหม่ของสหรัฐอเมริกากำลังเยือน ๙ ประเทศยุโรปและตะวันออกกลางเป็นเวลา ๑๑ วัน ซึ่งเป็นการเยือนต่างประเทศครั้งแรกของนายเคร์รีในฐานะรมว.ต่างประเทศ อันเป็นการแสดงให้เห็นว่า สหรัฐอเมริกาให้ความสนใจต่อทวีปที่เก่าแก่แห่งนี้ อีกทั้งเป็นการยืนยันบทบาทของสหรัฐในการแสวงหามาตรการแก้ไขปัญหาตะวันออกกลางอย่างสันติ  อย่างไรก็ตาม วงการวิเคราะห์สถานการณ์เห็นว่า การเยือนยุโรปและตะวันออกกลางครั้งนี้ของนายจอห์น เคร์รีเป็นเพียงการรับฟังความคิดเห็นเท่านั้น โดยยังไม่ประสบก้าวกระโดดที่เป็นรูปธรรมแต่อย่างใด

การเยือนเพื่อรับฟังความคิดเห็นแต่มีความสำคัญ - ảnh 1
นายจอห์น เคร์รี รมว.ต่างประเทศคนใหม่ของสหรัฐอเมริกา
เยือนยุโรปและตะวันออกกลาง( รอยเตอร์ )

การเยือนเป็นเวลา ๑๑ วันของนายจอห์น เคร์รีเริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ ๒๔ เดือนนี้ ต่อจากนั้นคือ เยอรมนี  ฝรั่งเศส อิตาลี่ ตุรกี อียิปต์ ซาอุดิ อาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และกาตาร์ เพื่อปฏิบัตินโยบายการทูตใหม่ของนายบารัค โอบามาประธานาธิบดีในสมัยที่สองคือ ธำรงความสัมพันธ์กับประเทศพันธมิตรที่สำคัญในยุโรปและปรับความสัมพันธ์กับประเทศอาหรับ  ซึ่งแสดงให้เห็นชัดจากการพบปะกับนายกฯเดวิด คาเมรอนและนายวิลเลี่ยม ฮาครมว.ต่างประเทศอังกฤษ  โดยนอกจากเน้นหารือกับอังกฤษถึงปัญหาการถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานและการประสานการปฏิบัติเพื่อเพิ่มพลังของกองทัพพันธมิตรให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้นแล้ว วอชิงตันยังอยากทราบความคิดเห็นของลอนดอนเกี่ยวกับการลงประชามติว่าด้วยการที่อังกฤษควรออกจากสหภาพยุโรปหรือไม่  ซึ่งสิ่งที่แน่ชัดคือ จากการเป็นพันธมิตรที่สนิทมาเป็นเวลาช้านาน สหรัฐไม่อยากให้อังกฤษออกจากสหภาพยุโรป โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่วิกฤตหนี้สาธารณะกำลังมีสัญญาณที่ดีขึ้นและสหรัฐกับสหภาพยุโรปเริ่มหารือเรื่องข้อตกลงการค้าเสรี  โดยเมื่อต้นเดือนนี้ นายบารัค โอบามาได้แสดงความสนใจต่อศักยภาพในความร่วมมือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยประกาศแผนเกี่ยวกับการเจรจาว่าด้วยการค้าข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกและความสัมพันธ์ลงทุนหุ้นส่วนซึ่งอาจจะนำไปสู่เขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก  ดังนั้น ประเด็นเหล่านี้ก็จะได้หยิบยกขึ้นมาหารือในการเจรจากับผู้นำประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศสเพื่อขยายความสัมพันธ์และร่วมมือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก

อย่างไรก็ดี ประเด็นหลักในนโยบายด้านการต่างประเทศของสหรัฐที่ได้ระบุในการเยือนของรมว.ต่างประเทศจอห์น เคร์รีคือ ปัญหาตะวันออกกลางไม่ว่าจะเป็นปัญหาสงครามกลางเมืองในซีเรีย โครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านและสันติภาพระหว่งอิสราเอลกับปาเลสไตน์  โดย ณ กรุงโรม อิตาลี่ วันที่ ๒๘ เดือนนี้ นายจอห์น เคร์รี่จะเข้าร่วมการประชุมนานาชาติกับตัวแทนของฝ่ายต่อต้านในซีเรียเพื่อหารือและแสวงหามาตรการแก้ไขวิกฤตของประเทศนี้ที่ยืดเยื้อมา ๒๓ เดือน  แต่ก่อนการเยือนครั้งนี้ของนายจอห์น เคร์รี กองกำลังฝ่ายต่อต้านในซีเรียได้ขู่ว่าจะไม่เข้าร่วมการประชุมโดยให้เหตุผลว่า สหรัฐยังไม่สนับสนุนพวกเขาผ่านการส่งอาวุธให้เท่าที่ควร  เมื่อรับตำแหน่งรมว.ต่างประเทศ นายจอห์น เคร์รีเคยเปิดเผยว่า ตนมีความคิดใหม่ๆเพื่อโน้มน้าวให้นาย บาซาร์ อัล-อาสซาดออกจากตำแหน่งประธานาธบดี และประชามติกำลังรอคอยว่าวอชิงตันจะมีมาตรการทางการทูตหรือส่งอาวุธให้แก่กองกำลังฝ่ายต่อต้านในซีเรียดังที่เคยทำมาแล้วกับลิเบียเพื่อหาลู่ทางแก้ไขวิกฤตให้แก่ประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางนี้หรือไม่   อีกประเด็นที่รมว.ต่างประเทศคนใหม่ของสหรัฐจะต้องแก้ไขในการเยือนครั้งนี้คือ การโน้มน้าวให้รัสเซียซึ่งเป็นพันธมิตรที่สนิทกับรัฐบาลของประธานาธิบดีซีเรีย

บาซาร์ อัล-อาสซาดเห็นด้วยกับสหรัฐในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน ซีเรีย ซึ่งถือเป็นหน้าที่ที่หนักมากเพราะว่า รัสเซียรักษาทัศนคติมาโดยตลอดว่า ปัญหาซีเรียต้องโดยคนซีเรียแก้ไขเองหากไม่ใช่การแทรกแซงจากภายนอก อีกประเด็นที่กำลังท้าทายวอชิงตันไม่น้อยก็คือ ปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน การเยือนยุโรปและตะวันออกกลางของนายจอห์น เคร์รี รมว.ต่างประเทศสหรัฐตรงกับช่วงที่มีการเจรจาว่าด้วยปัญหานิวเคลียร์ของกลุ่มพี๕บวก๑หรือระหว่างอิหร่านกับ ๕ ประเทศสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติซึ่งมีสัญญาณาว่าจะไม่ราบรื่น   ณ อียิปต์  นายจอห์น เคร์รีอยากแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลสหรัฐประสงค์ที่จะจับมือกับรัฐบาลชุดใหม่ แต่ดูเหมือนว่านี่ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะองค์การภราดรภาพมุสลิมที่ไม่ชอบสหรัฐกำลังบริหารประเทศ  ส่วนที่ซาอุดิ อาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และกาตาร์ ซึ่งเป็นประเทศที่ประสานงานของสหรัฐในตะวันออกกลาง นายจอห์น เคร์รีจะได้รับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขวิกฤตในซีเรียน อัฟกานีสถานและกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลาง

โดยไม่เลือกเยือนเอเชียในการเยือนต่างประเทศครั้งแรกเหมือนนางฮิลลารี่ คลินตั้น รมว.ต่างประเทศคนก่อน จุดหมายปลายทางของรมว.ต่างประเทศสหรัฐคนใหม่ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า  นอกจากเป้าหมายระยะยาวแล้ว วอชิงตันยังเน้นแทรกแซงปัญหาเฉพาะหน้า อเมริกาได้ปรับปรุงยุทธศาสตร์สำหรับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก แต่ก็ไม่ละเลยภูมิภาคที่มีผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของตนมาช้านาน  ซึ่งนโยบายการทูตนี้ของสหรัฐก็เพื่อเสริมสร้างสถานะและอิทธิพลของสหรัฐในยุโรปและตะวันออกกลาง  ดังนั้นการเยือนต่างประเทศเป็นเวลา ๑๑ วันของนายจอห์น เคร์รี ถือเป็นการเยือนเพื่อรับฟังความคิดเห็นแต่มีความสำคัญ เพราะเป็นการเริ่มต้นกระบวนการใหม่คือ สร้างสรรค์พื้นฐานกับประเทศพันธมิตรในยุโรปและตะวันออกกลาง อันเป็นการเปิดโอกาสให้สหรัฐปรับความสัมพันธ์กับโลกอาหรับ ./.


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด