การเลือกตั้งผู้แทนสภาแห่งชาติสมัยที่ 15 ค้ำประกันสิทธิความเสมอภาคระหว่างชนเผ่าต่างๆ

(VOVWORLD) -ผู้แทนที่เป็นชนกลุ่มน้อยเป็นสัดส่วนที่สำคัญของผู้แทนสภาแห่งชาติเวียดนามในทุกวาระ การดำเนินงานของสภาแห่งชาติในเวลาที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า ผู้แทนสภาแห่งชาติที่เป็นชนกลุ่มน้อยได้มีส่วนร่วมที่สำคัญในการสร้างสรรค์และปฏิบัตินโยบายด้านชาติพันธุ์ของพรรคและรัฐเป็นอย่างดี ในการเลือกตั้งผู้แทนสภาแห่งชาติสมัยที่ 15 ที่คาดว่า จะมีขึ้นในวันที่ 23 พฤษภาคมนี้ การคัดเลือกผู้แทนสภาแห่งชาติที่เป็นชนกลุ่มน้อยจะเน้นถึงคุณภาพและจำนวนเพื่อมีส่วนร่วมผลักดันการพัฒนาและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตเขาและเขตชนกลุ่มน้อย

การเลือกตั้งผู้แทนสภาแห่งชาติสมัยที่ 15 ค้ำประกันสิทธิความเสมอภาคระหว่างชนเผ่าต่างๆ - ảnh 1การประชุมใหญ่ผู้แทนชนกลุ่มน้อยเวียดนามทั่วประเทศครั้งที่ 2 (Photo: baosonla.org.vn)

เวียดนามมี 54 ชนเผ่า  ซึ่งปัญหาด้านชนเผ่าและงานด้านชนเผ่าได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากพรรคและรัฐผ่านการปฏิบัตินโยบายที่เสมอต้นเสมอปลายคือความสามัคคี ความยุติธรรม การช่วยเหลือจุนเจือกันระหว่างชนเผ่าต่างๆ สิทธิความเสมอภาคระหว่างชนเผ่าต่างๆได้แสดงให้เห็นในหลายด้าน เช่น เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคมและการเมือง ซึ่งในนั้น สิทธิความเสมอภาคด้านการเมืองได้รับการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนผ่านการปฏิบัติกลไกประชาธิปไตยแบบตัวแทนและประชาธิปไตยทางตรง  ซึ่งจำนวนผู้แทนสภาแห่งชาติที่เป็นชนกลุ่มน้อยในสมัยต่างๆนับวันเพิ่มมากขึ้น  โดยจำนวนผู้แทนสภาแห่งชาติสมัยที่ 2 วาระปี 1960 -1964 ที่เป็นชนกลุ่มน้อยคิดเป็นร้อยละ 16.5  ส่วนจำนวนผู้แทนสภาแห่งชาติสมัยที่ 10 ที่เป็นชนกลุ่มน้อยคิดเป็นร้อยละ 17.3

การสานต่อและการส่งเสริมผลงานที่ได้บรรลุ

ในวาระสภาแห่งชาติสมัยที่ 14 มีผู้แทนสภาแห่งชาติที่เป็นชนกลุ่มน้อย 83 คน คิดเป็นร้อยละ 17.3 ซึ่งบรรดาผู้แทนสภาแห่งชาติที่เป็นชนกลุ่มน้อยได้แสดงความรับผิดชอบ ความทุ่มเทและเข้าร่วมการจัดทำกฎหมาย การตรวจสอบและการตัดสินใจปัญหาที่สำคัญของประเทศ ซึ่ง 1 ในนิมิตหมายของวาระสภาแห่งชาติสมัยที่ 14 คือ นับเป็นครั้งแรกที่สภาแห่งชาติอนุมัติ 2 มติที่สำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมในเขตชนกลุ่มน้อยและเขตเขา ซึ่งเป็นการตัดสินใจครั้งประวัติศาสตร์ของสภาแห่งชาติ สิ่งที่น่าสนใจคือ มติที่ 88 กำหนดเป้ามายคือจนถึงปี 2030 รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรในเขตชนกลุ่มน้อยจะคิดเป็นครึ่งหนึ่งของรายได้เฉลี่ยของประชากรทั่วประเทศ  ลดอัตราครอบครัวที่ยากจนลงเหลือเป็นร้อยละ 10 ไม่มีตำบลและหมู่บ้านที่ยากจนพิเศษ ตำบลเขตชนกลุ่มน้อยที่ได้มาตรฐานชนบทใหม่คิดเป็นร้อยละ 70  นาย เหงวียนเลิมแถ่ง ผู้แทนสภาแห่งชาติสมัยที่ 14 ของจังหวัดหลางเซิน ได้เผยว่า

“สภาแห่งชาติได้อนุมัติมติใหญ่ที่กำหนดหลักการขั้นพื้นฐานในระบบนโยบายกลุ่มชาติพันธุ์และเป้าหมายที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบและน้ำใจต่อชนกลุ่มน้อย เป็นโอกาสเพื่อให้พวกเราแสดงความรับผิดชอบต่อเขตที่ยากจน ช่วยให้เขตนี้พัฒนาและค้ำประกันการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันระหว่างชนเผ่าต่างๆ”

ค้ำประกันทั้งสัดส่วนและคุณภาพ

เพื่อให้สภาแห่งชาติสมัยที่ 15 สานต่อและส่งแสริมผลงานที่ได้บรรลุ โดยเฉพาะในการจัดทำและปฏิบัตินโยบายกลุ่มชาติพันธุ์ โดยต้องการยกระดับคุณภาพของผู้แทนสภาแห่งชาติ คัดเลือกผู้แทนดีเด่นที่มีคุณสมบัติ นาย ฝามย้าว ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอำเภอดึ๊กโฝ จังหวัดกว๋างหงายได้เผยว่า

“การเพิ่มจำนวนผู้แทนของเขตที่ยากจน เขตที่ห่างไกลความเจริญและเขตชนกลุ่มน้อยจะช่วยเกาะติดสถานการณ์ในเขตชนกลุ่มน้อยมากขึ้น ซึ่งเป็นเขตที่เศรษฐกิจประสบอุปสรรคมากมายและประชาชนมีความรู้น้อย  จากการเข้าใจอุปสรรคและความปรารถนาของประชาชน บรรดาผู้แทนจะยื่นข้อเสนอต่อสภาแห่งชาติเพื่อมีนโยบายพิเศษต่อเขตนี้ ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่และแก้ไขอุปสรรคให้แก่ประชาชนชนกลุ่มน้อย”

เพื่อให้มีอัตราผู้แทนสภาแห่งชาติสมัยที่ 15 ที่เป็นชนกลุ่มน้อยอย่างน้อยร้อยละ 18 การคัดเลือกผู้แทนที่มีคุณสมบัติที่เป็นตัวแทนของชนกลุ่มน้อยต้องได้รับการปฏิบัติอย่างรอบคอบ  โดยเฉพาะ ต้องเน้นงานด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความหมาย ความสำคัญ เนื้อหา วิธีการเลือกตั้ง เข้าร่วมและรณรงค์ให้ญาติมิตรเข้ร่วมการเลือกตั้งเพื่อปฏิบัติสิทธิ์และความรับผิดชอบของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง นาย กว่างวันเฮือง ผู้แทนสภาแห่งชาติสมัยที่ 14 จังหวัดเซินลาได้ยืนยันว่า

“ต้องมีวิธีการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมเพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ทักษะความสามารถ โดยเฉพาะ ความทุ่มเทและความรับผิดชอบของผู้แทนที่ตนจะคัดเลือก ต้องประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลสำเร็จและบุคลิกภาพของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อให้ประชาชนชนกลุ่มน้อยเข้าใจได้ว่า  ถ้าหากคัดเลือกผู้แทนที่เป็นชนกลุ่มน้อยหรือผู้แทนที่อาศัยในเขตชนกลุ่มน้อย ซึ่งจะเป็นตัวแทนที่แสดงความปรารถนาของชนกลุ่มน้อยต่อสภาแห่งชาติ”

การดำเนินงานของสภาแห่งชาติสมัยต่างๆแสดงให้เห็นว่า การที่ประชาชนชนกลุ่มน้อยเข้าร่วมและคัดเลือกผู้แทนสภาแห่งชาติดีเด่นที่มีทักษะความสามารถ ความทุ่มเทและความรับผิดชอบได้มีส่วนร่วมต่อผลสำเร็จของสภาแห่งชาติ โดยเฉพาะในการจัดทำและปฏิบัตินโยบายด้านชนเผ่าของพรรคและรัฐและสิ่งนี้จะได้รับการสานต่อในการเลือกตั้งสภาแห่งชาติสมัยที่ 15 ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสนใจของพรรคและรัฐต่อชนกลุ่มน้อยและค้ำประกันความเสมอภาคระหว่างชนเผ่าต่างๆ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด