ข้อตกลงฉบับสมบูรณ์เกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน:เป้าหมายที่ยากจะบรรลุ

(VOVworld)-ตามแผนการ วันที่18กุมภาพันธ์การประชุมเจรจาว่าด้วยปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านเพื่อมุ่งบรรลุข้อตกลงในทุกด้านระยะยาวได้เริ่มขึ้น ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการประชุมนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า การเจรจาระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี5+1จะซับซ้อนและยืดเยื้อโดยไม่มีอะไรประกันว่าจะประสบผลดั่งความคาดหวังของทุกฝ่าย
(VOVworld)-ตามแผนการ วันที่18กุมภาพันธ์การประชุมเจรจาว่าด้วยปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านเพื่อมุ่งบรรลุข้อตกลงในทุกด้านระยะยาวได้เริ่มขึ้น ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการประชุมนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า การเจรจาระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี5+1จะซับซ้อนและยืดเยื้อโดยไม่มีอะไรประกันว่าจะประสบผลดั่งความคาดหวังของทุกฝ่าย
ข้อตกลงฉบับสมบูรณ์เกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน:เป้าหมายที่ยากจะบรรลุ - ảnh 1
โรงงานนิวเคลียร์ อารัค (AFP)

นี่เป็นการเจรจาระดับสูงรอบแรกระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี5+1นับตั้งแต่การลงนามข้อตกลงชั่วคราวเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี2013และจะดำเนินการเป็นเวลาหลายวันภายใต้อำนวยการของนาง แคทเธอรีน แอชตัน  หัวหน้าตัวแทนพิเศษดูแลด้านการต่างประเทศของสหภาพยุโรปหรืออียู

ความไม่มั่นใจเป็นเงามืดที่ปกคลุมการเจรจา

ก่อนที่การประชุมเจรจาจะเริ่มขึ้นฝ่ายต่างๆได้แสดงความสงสัยต่อความเป็นไปได้ที่จะสามารถบรรลุผลงานที่เข้มแข็งเพื่อคลี่คลายความกังวลของประชาคมโลกต่อปัญหาที่ว่าอิหร่านกำลังพยายามผลิตอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งเป็นเรื่องที่อิหร่านไม่เคยยอมรับ ส่วนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐได้ยอมรับว่า การแสวงหาข้อตกลงระยะยาวเพื่อจำกัดโครงการนิวเคลียร์ที่สร้างความถกเถียงมานานหลายสิบปีของอิหร่านไม่ใช่เรื่องง่าย ในขณะเดียวกันฝ่ายอิหร่านก็ไม่ค่อยเชื่อมั่นในกระบวนการเจรจานี้โดยผู้นำทางจิตวิญญาณของอิหร่านอาลีคาเมนัยได้พยากรณ์ว่าการเจรจากับประเทศมหาอำนาจเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านจะไม่สามารถไปถึงจุดหมายได้ ซึ่งนับเป็นคำเตือนเกี่ยวกับความล้มเหลวของการเจรจาที่ส่งถึงวอชิงตันและว่าปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านเป็นเพียงเหตุผลเพื่อให้สหรัฐดำเนินนโยบายที่เป็นอริต่อเตหรานต่อไป ส่วนรัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน จาวาด ซาริฟได้กล่าวว่าความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดคือการขาดความไว้วางใจกันระหว่างฝ่ายต่างๆ
บรรดานักวิเคราะห์ระหว่างประเทศได้แสดงความเห็นในทำนองเดียวกันกับทั้งสองฝ่ายและย้ำว่าโอกาสเพื่อลงนามข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ระยะยาวมีน้อยมากคิดว่าไม่ถึง10% แถมยังเห็นว่าปัจจุบันนี้ ข้อตกลงชั่วคราวยังคงเป็นมาตราการที่มีความเป็นไปได้สูงในการปฏิบัติที่ฝ่ายตะวันตกสามารถบรรลุได้ในปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน

การเจรจาด้านนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี5+1เริ่มขึ้นตั้งแต่วัน ที่18กุมภาพันธ์ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ภายหลังทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงชั่วคราวเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี2013 ส่วนนับตั้งแต่วันที่20มกราคมที่ผ่านมาอิหร่านและประเทศมหาอำนาจเริ่ม ปฏิบัติตามข้อตกลงนี้โดยอิหร่านได้ลดหรือระงับกิจกรรมบางส่วนเกี่ยวกับ นิวเคลียร์เป็นเวลา6เดือนเพื่อแลกกับการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตของประเทศ ตะวันตก.

ความขัดแย้งในจุดยืน-ปัญหาหลักที่ส่งผลกระทบต่อผลการเจรจา

ความขัดแย้งที่ลึกซึ้งระหว่างเตหรานและประเทศตะวันตกบวกกับการคัดค้านของฝ่ายต่อต้านถือเป็นภัยคุกคามที่อาจจะปะทุขึ้นได้ทุกเมื่อในระหว่างการเจรจา
ตามความเห็นของนักเจรจาฝ่ายอิหร่าน ฮามิด บาอีดีเนจาด เนื้อหาการเจรจาครั้งนี้เน้นเรื่องเครื่องหมุนเหวี่ยงที่ทันสมัยและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์อารัคที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างโดยฝ่ายตะวันตกห่วงว่านี่จะเป็นสถานที่ผลิตสารพลูโตเนี่ยมเพื่อผลิตระเบิดนวิเคลียร์ แต่นายบาอีดีเนจาดได้ยืนยันว่า อิหร่านจะไม่ยอมสละสิทธิในการเปลี่ยนเครื่องหมุนเหวี่ยงเก่าที่กำลังใช้งานเป็นเครื่องใหม่ที่ทันสมัย
ในขณะเดียวกันหนึ่งสัปดาห์ก่อนการเจรจา เจ้าหน้าที่อิหร่านได้เตือนว่าพวกเขาจะไม่ยอมผ่อนปรนในบางปัญหาที่ซับซ้อนที่สุด โดยนาย มาจิด ตาเก ราวานจี เจ้าหน้าที่คณะเจรจาของอิหร่านยืนยันว่าประเทศตนจะไม่ปิดโรงงานนิวเคลียร์ใดๆทั้งสิ้นส่วนทางฝ่ายประเทศตะวันตกก็ไม่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงจุดยืนของตนที่ต้องการให้อิหร่านยกเลิกขึ้นตอนที่ถือว่าอันตรายที่สุดในโครงการนิวเคลียร์ของตน
ต่อความขัดแย้งดังกล่าวหลังจากได้เดินทางถึงออสเตรียเพื่อเตรียมให้แก่การเจรจา รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่านได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมแสดงความตั้งใจทางการเมืองเพื่อให้การเจรจาประสบความสำเร็จโดยข้อตกลงชั่วคราวที่ได้บรรลุเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วคือก้าวเดินที่เข้มแข็งและต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดแม้จะยังมีบางปัญหาที่ทั้งสองฝ่ายต้องทำความกระจ่างแจ้งในที่ประชุมเจรจา
เป็นที่ชัดเจนว่า ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและฝ่ายตะวันตกจะส่งผลเสียต่อผลการเจรจาซึ่งทำให้ข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับสมบูรณ์ในระยะยาวยังคงอยู่ไกลเอื้อมถ้าหากทุกฝ่ายไม่ยอมเปลี่ยนแปลงจุดยืนและวิธีการเข้าถึงปัญหาและไม่ยอมประนีประนอมกัน./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด