ซูดานใต้ ๑ ปีหลังการประกาศเอกราช

(VOVworld) – ซูดานใต้ซึ่งเป็นประเทศใหม่ล่าสุดของโลกในอัฟริกาตะวันออกเพิ่งฉลองครบรอบ๑ปีวันประกาศเอกราชซึ่งตรงกับวันที่๙กรกฎาคมแต่จนถึงปัจจุบันประเทศนี้กำลังเผชิญกับความยากลำบากทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

(VOVworld) – ซูดานใต้ซึ่งเป็นประเทศใหม่ล่าสุดของโลกในอัฟริกาตะวันออกเพิ่งฉลองครบรอบ๑ปีวันประกาศเอกราชซึ่งตรงกับวันที่๙กรกฎาคมแต่จนถึงปัจจุบันประเทศนี้กำลังเผชิญกับความยากลำบากทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

ซูดานใต้ ๑ ปีหลังการประกาศเอกราช - ảnh 1
ซูดานกำลังเผชิญกับความยากลำบากทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ( photo:Internet)

 เมื่อวันที่๙กรกฎาคมปี๒๐๑๑ ซูดานใต้ได้ประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการโดยแยกตัวออกจากซูดานเหนืออันเป็นการยุติสงครามกลางเมืองระหว่างสองภาคที่ยืดเยื้อมาเกือบครึ่งศตวรรษ  เมื่อหวนมองในประวัติศาสตร์ หลังจากที่ประกาศอิสระภาพจากแอกปกครองของอียิปต์เมื่อปี๑๙๕๖  ภาคเหนือของซูดานก็มีดินแดนที่มีความได้เปรียบทั้งทางภูมิศาสตร์และการเมืองโดยสิทธิผลประโยชน์ทางการเมือง และเศรษฐกิจในทุกด้านล้วนแต่เป็นของทางการรัฐต่างๆในภาคเหนือ ความแตกแยกในซูดานเริ่มขึ้น เมื่อบรรดาตัวแทนของทางการภาคใต้รู้สึกว่า ตนถูกกีดกันจากเวทีการเมืองและเห็นว่า จำเป็นที่จะต้องช่วงชิงฐานะทางการเมืองให้เท่าเทียมกับทางการภาคเหนือจนนำไปสู่การจัดตั้งขบวนการปลดปล่อยประชาชาติซูดาน หลังจากที่ตกเข้าสู่สงครามกลางเมืองมาหลายทศวรรษ ขบวนการปลดปล่อยประชาชาติซูดานสามารถช่วงชิงอำนาจการควบคุมเหนือดินแดนภาคใต้และในวันที่๙กรกฎาคมปี๒๐๑๑ ซูดานใต้ก็ได้ประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการโดยมีนครหลวงคือเมืองจูบา            ถึงกระนั้น แม้ความฝันเกี่ยวกับเอกราชจะได้กลายเป็นความจริงแต่ประเทศนี้ก็ยังคงประสบอุปสรรคและการท้าทายนานัปการโดยปัญหาการพิพาทด้านชายแดน และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจยังคงเป็นปัญหาที่ไม่อาจแก้ไขได้ระหว่างซูดานเหนือกับซูดานใต้ซึ่งทำให้ภูมิภาคนี้ตกอยู่ในความเสี่ยงที่อาจจะก้าวเข้าสู่สงครามโดยเฉพาะความขัดแย้งในการแบ่งปันผลประโยชน์จากแหล่งน้ำมัน ซูดานมีปริมาณการผลิตน้ำมัน๖พัน๗ร้อยล้านบาเรลต่อปี อยู่อันดับ๓ในอัฟริกา  แม้ว่า ภาคใต้จะมีบ่อน้ำมันขนาดใหญ่จำนวนมากแต่ภาคเหนือกลับควบคุมท่อส่งน้ำมันที่มีเพียงแห่งเดียวเพื่อส่งออกน้ำมันดิบไปยังประเทศต่างๆผ่านทะเลแดง ตามความในข้อตกลงเกี่ยวกับสันติภาพเพื่อยุติสงครามกลางเมืองระหว่างซูดานทั้งสองภาคที่ได้ลงนามเมื่อปี๒๐๐๕  ผลประโยชน์จากน้ำมันต้องได้รับแบ่งอย่างเท่ากัน อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ระดับสูงของภาคใต้มีความประสงค์ที่จะปรับปรุงข้อกำหนดผลประโยชน์ดังกล่าวด้วยการจ่ายค่าขนส่งแทนซึ่งนับตั้งแต่ลงนามข้อตกลงสันติภาพ เมื่อปี๒๐๐๕ มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งสองฝ่ายได้ทำการเจรจาเกี่ยวกับปัญหานี้มาหลายครั้งแล้วแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม     ก่อนที่ได้รับเอกราช สองภาคใต้และเหนือของซูดานได้แบ่งปันผลประโยชน์จากน้ำมันตามสัดส่วนร้อยละ๗๐และ๓๐ตามลำดับ อย่างไรก็ดี หลังจากแยกออกจากกัน ซูดานเหนือมีความประสงค์ว่า ซูดานใต้จะจ่ายเงินค่าขนส่งน้ำมันข้ามประเทศที่๓๖เหรียญสหรัฐต่อบาเรลแต่ซูดานใต้กลับจ่ายเพียง๑เหรียญสหรัฐเท่านั้น เมื่อเร็วๆนี้ ซูดานใต้ได้ปิดโรงงานผลิตน้ำมันหลังจากที่กล่าวหาว่า ซูดานเหนือได้โขมยน้ำมันคิดเป็นมูลค่ากว่า๘๐๐ล้านเหรียญสหรัฐ  ส่วนซูดานเหนือให้เหตุผลว่า พวกเขายึดน้ำมันดิบเพื่อชดเชยค่าขนส่งที่ซูดานใต้ไม่ยอมจ่ายซึ่งการถกเถียงนี้ได้ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะ ซูดานใต้ที่ต้องเสียรายได้หลักจากน้ำมันบวกกับการคอรัปชั่นที่ทำให้เศรษฐกิจซบเซา เงินเฟ้อเพิ่มสูงถึงร้อยละ๑๙ ราคาอาหารเพิ่มขึ้น๑๒๐%  ประชากรซูดานใต้ครึ่งหนึ่งมีชีวิตความเป็นอยู่ต่ำกว่าระดับยากจน ในเขตชนบทมีผู้ไม่รู้หนังสือถึงร้อยละ๙๐ การผลิตเกษตรต้องยุติแม้ว่าเคยได้รับการชื่นชมว่า เป็นอู่ข้าวอู่น้ำในอัฟริกาตะวันออกและ มีศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือเอฟเอโอได้เตือนเกี่ยวกับภัยหิวโหยที่กำลังคลืบคลานมาเยือนประเทศนี้ในอนาคตอันใกล้นี้    นอกจากนี้ การกำหนดเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างซูดานเหนือและซูดานใต้ยังคงเป็นปัญหาที่กำลังถกเถียงกันอยู่ จังหวัดAbyei ตั้งอยู่ที่หุบเขาMuglad Basin ซึ่งถือ เป็นแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่จนทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่ยอมละทิ้งผลประโยชน์ของตน  การปะทะขนาดเล็กในบริเวณชายแดน และการโจมตีต่างๆด้วยเครื่องบินได้ทำลายความพยายามเพื่อสันติภาพ  การปะทะที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ความหวังเกี่ยวกับสันติภาพและการแสวงหามาตรการแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายอย่างสันติหลุดลอยไป การพิพาททำให้ซูดานใต้ตกเข้าสู่วิกฤติมนุษยธรรมอย่างรุนแรง ชาวซูดานใต้นับแสนคนขาดแคลนอาหารต้องทิ้งบ้านเรือนเพื่ออพยพลี้ภัย รัฐซูดานใต้อยู่ในต้นแม่น้ำไนล์เต็มไปด้วยผู้อพยพจากซูดานเหนือ สำนักงานสงเคราะห์แห่งสหประชาชาติคาดว่า ปัจจุบันในซูดานใต้มีผู้อพยพจากซูดานเหนืออย่างน้อย๑แสน๕หมื่นคน     เมื่อ๑ปีก่อน ชาวซูดานใต้มีความปลื้มปิติยินดีเนื่องจากสามารถช่วงชิงเอกราชได้และ สงครามและความอดอยากหิวโหยกำลังจะกลายเป็นอดีต แต่ปัจจุบัน ประเทศนี้กำลังตกเข้าสู่สงครามอีกครั้ง วิกฤติอาหารและน้ำมันครั้งใหม่มิใช่มาจากการขาดแคลนทรัพยากรแต่มาจากความล้มเหลวทางการเมือง ประชาชนต้องดิ้นรนเพื่ออยู่รอด ต้องเผชิญกับภัยหิวโหย โรคระบาด กระสุนระเบิดและการใช้ความรุนแรง ประชามติกำลังรอคอยผลของการสนทนาระหว่างทางการจูบากับKhartoum ในวันที่๒สิงหาคมนี้ ที่สันนิบาตอัฟริกาได้กำหนดให้ทั้ง สองฝ่ายร่วมกันหาทางออกให้แก่ปัญหาซึ่งสิ่งที่ทุกฝ่ายรอคอยคือ เมื่อไหร่ ความหวังเกี่ยวกับประเทศซูดานใต้ที่เจริญรุ่งเรือง ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี เด็กทุกคนได้ไปโรงเรียนจะกลายเป็นความจริง? ./.

Ánh Huyền VOV5

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด