นักภูมิศาสตร์และนักเดินเรือตะวันตกเคยยืนยันว่า หมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลเป็นของเวียดนาม

(VOVworld) – แผนที่กว่า 140 แผ่นของนักภูมิศาสตร์ นักเดินเรือและนักวิชาการทำแผนที่ในประเทศตะวันตกในศตวรรษที่ 16-19 ได้บันทึกว่า หมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลอยู่ในอธิปไตยของเวียดนามซึ่งในวันนี้ ผู้สื่อข่าวของสถานีวิทยุเวียดนามขอแนะนำการวิจัยเกี่ยวกับเนื้อหานี้ของดร.เจิ่นดึ๊กแองเซิน รองหัวหน้าสถาบันวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจสังคมนครดานัง

(VOVworld) – แผนที่กว่า 140 แผ่นของนักภูมิศาสตร์ นักเดินเรือและนักวิชาการทำแผนที่ในประเทศตะวันตกในศตวรรษที่ 16-19 ได้บันทึกว่า หมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลอยู่ในอธิปไตยของเวียดนามซึ่งในวันนี้ ผู้สื่อข่าวของสถานีวิทยุเวียดนามขอแนะนำการวิจัยเกี่ยวกับเนื้อหานี้ของดร.เจิ่นดึ๊กแองเซิน รองหัวหน้าสถาบันวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจสังคมนครดานัง

นักภูมิศาสตร์และนักเดินเรือตะวันตกเคยยืนยันว่า หมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลเป็นของเวียดนาม - ảnh 1
ดร.เจิ่นดึ๊กแองเซิน รองหัวหน้าสถาบันวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจสังคมนครดานังแนะนำแผนที่โบราณที่ระบุว่า หว่างซาคือดินแดนส่วนหนึ่งของเวียดนาม

บนแผนที่เหล่านี้ พาราเซลถูกบรรยายว่าเหมือนใบมีดยาวเลียบตามทะเลที่อยู่อีกฟากของชายฝั่งทะเลเวียดนามโดยในส่วนปลายมีดที่อยู่ในเขตทิศเหนือของหมู่เกาะได้บันทึกเกาะต่างๆ อาทิ I.des baixos Cachina (ไอส์แลนด์ เด๊ แบ ซก กา ซี นา), I.da Pracell (ไอส์แลนด์ เดอ พราเซล), I.de Pracel (ไอส์แลนด์ เดอ พราเซล), Doa Tavaquero (โยอา ทาวา เกโร), Paracel Islands (พาราเซลไอส์แลนด์), Paracel (พาราเซล), Paracels (พาราเซลส์), Parcels (พาร์เซล) เป็นต้นและด้ามมีดที่อยู่ในเขตทิศใต้ได้บันทึกเกาะ Pullo Sissir do Mar (ปุยโล ซีเซีย โดมาร์) หรือกู่ลาวทูซึ่งอยู่ในเขตทะเลของจังหวัดบิ่งถ่วนในปัจจุบัน ส่วนเขตชายฝั่งทะเลที่ตรงข้ามหมู่เกาะนี้หรือเขตริมฝั่งภาคกลางเวียดนามในปัจจุบันถูกระบุว่า Costa da Paracel (โก๊ตสเตอ เดอ พาราเซล), Coste de Pracel หรือชายฝั่งหว่างซา
แผ่นที่ต้นฉบับมีความหมายเชิงวิทยาศาสตร์และประวัติศาสตร์

1คือแผนที่ Cabo Comrim (กาโบ กอมริม), Japao (จาปาว), Moluco e Note in Atlas (โมลูโก อี โน๊ต อิน แอตลาส) ที่อยู่ในแผนที่โลกรวม 18 แผ่นซึ่งนาย  Fernao Vaz Dourado (เฟอร์นาว วาย์ ดัวราโด) ชาวโปรตุเกสเป็นผู้วาดเมื่อปี 1571 โดยมีจุดเริ่มต้นที่ทิศเหนือของหมู่เกาะพาราเซลที่เรียกว่า I.des baixos (ไอส์แลนด์ เด่ เบซก) ซึ่งหมายความว่า เกาะสังกัดแนวปะการังหิน ยาวจี๋และจุดใต้สุดถูกระบุว่า Pulo Sissi (ปุยโล ซีเซียหรือก็คือกู่ลาวทู) ส่วนในระหว่างจุดเหนือสุดและใต้สุดนั้นก็มีเกาะเล็กๆที่เรียกว่า Pulo Campello (ปุยโลกัมเปลโลหรือกู่ลาวจ่าม) Pulo Catao (ปุยโล กาตาม-กู่ลาวแร๊) และPulo Cambi (ปุยโล กามบี-กู่ลาวแซง) เป็นต้น ส่วนเขตแผ่นดินใหญ่ที่ขนานกับพาราเซลถูกเรียกว่า Costa da Pracel (โก๊ตสเตอ เดอ พาราเซล)
2คือ แผนที่ที่นาย Fernao Vaz Dourado  (เฟอร์นาว วาย์ ดัวราโด) นักเดินเรือชาวโปรตุเกสเป็นผู้วาดเมื่อปี 1576 ถูกตีพิมพ์อีกครั้งเมื่อปี 1843 และ ปี1847โดยหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลถูกเรียกว่า I.da Pracell (ไอส์แลนด์ เดอ พาราเซล) ที่ครอบคลุมทั้งหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปตรลีย์แต่มีความแตกต่างกับเกาะต่างๆ เช่น P.Campello (ปุยโล กัมเปลโล- กู่ลาวจ่าม) P.Catao(ปุยโล โกตาว-กู่ลาวแร๊)และ P.Cambi (ปุยโล กัมบิย์-กู่ลาวแซง) เป็นต้น
3คือแผนที่ที่นักภูมิศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์คือ Van Langren (วัน ลานกรีน) เป็นผู้วาดเมื่อปี 1595 ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนที่ตะวันตกฉบับแรกๆที่วาดหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลอย่างละเอียดและสมบูรณ์โดยหมู่เกาะหว่างซาถูกตั้งชื่อว่า I.de Pracel (ไอส์แลนด์พาราเซล) ส่วนเขตชายฝั่งทะเลในภาคตะวัตตกที่ขนานกับหมู่เกาะหว่างซาถูกเขียนว่า Costa de Pracel (โก๊ตสเตอ เดอ พาราเซล)
4คือ แผนที่ India Orientalis (อินเดีย ออเรียนเตอลิส-อินเดียตะวันออก) ที่นาย Jodocus Hondius I (โจโดกุส โฮนดีเอิส ไอ) วาดเมื่อปี 1613 โดยระบุว่า หมู่เกาะหว่างซาเชื่อมต่อเจื่องซาเหมือนใบมีดและทั้งสองหมู่เกาะถูกเรียกรวมกันว่าพาราเซล ส่วนเขตชายฝั่งที่ตรงข้ามกับพาราเซลในภาคตะวันตกถูกตั้งชื่อว่า Costa de Pracel(โก๊ตสเตอ เดอ พาราเซล)
5คือ แผนที่ Partie de la Cochinchine (ป๊ากตีเด่อ ลาโกแซงซิน) ที่อยู่ในชุดแผนที่แอตลาสยูนิเวอร์แซล (Atlas Universel) มี 6 ตอนโดยนักภูมิศาสตร์ชาวเบลเยี่ยม Philippe Vandermaelen (ฟิลิปปี วันเดอร์มาเลน) เป็นผู้เรียบเรียงถูกตีพิมพ์เมื่อปี 1827ซึ่งอยู่ในแผนที่เอเชียตอนที่ 2 โดยวาดเขตชายฝั่งทะเลในภาคกลางเวียดนามจากเส้นขนานที่ 120บีถึงเส้นขนาน 160บี ประกอบด้วยเขตกิงกางหรือบิ่งคางซึ่งคือชื่อเดิมของจังหวัดแค๊งหว่าพร้อมกับสถานที่ต่างๆ เช่น Carmaigne havre (กามแรง อาวเรอหรือท่าเรือกามแรง Nhiatrang (ญาจาง) Qui-hone (กวีเญิน)
6คือ แผนที่อานามด่ายก๊วกหว่าโด่โดยบทหลวงชาวฝรั่งเศส Jean Louis Taberd (จีน ลูอิส ลาเบอร์ด) วาดเมื่อปี 1838 โดยชื่อของแผนที่ถูกเขียนเป็นภาษาฮั่น ภาษาเวียดนามและภาษาลาตินแต่สถานที่บนแผนที่นี้ถูกเขียนเป็นภาษาเวียดนามและภาษาลาตินซึ่งภาพวาดหมู่เกาะหว่างซาบนแผนที่นี้มีตำแหน่งที่ถูกต้องตามสภาพทางภูมิศาสตร์พร้อมข้อความที่ระบุว่า “Paracel seu Cát vàng-พาราเซลเซอ ก๊าตหว่าง-” ส่วนในบทความ Note on the Geography of CochinChina (โน๊ต ออน เดอ ยีโอกราฟฟี ออฟ โกแซงซิน)ของบทหลวง Taberd (ตาเบิร์ด) ที่บันทึกสภาพทางภูมิศาสตร์ของเวียดนามที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร The Journal of the Asiatic Society of Bengal (เดอ เจอร์เนล ออฟ เดอ เอเซียติก โซไซตี ออฟ เบลกัล) ที่มี 6 ตอนได้ระบุว่า “พาราเซลหรือหว่างซา-โก่นหว่างสังกัดโกแซงซินหรือก็คือเวียดนาม”
หว่างซาเป็นของเวียดนาม

วิธีบันทึกแผนที่โบราณของตะวันตกได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 นักภูมิศาสตร์ชาวโปรตุเกสได้ตีความสภาพทางภูมิศาสตร์ระหว่างเขตชายฝั่งทะเลภาคกลางกับหมู่เกาะหว่างซาและเกาะต่างๆเช่น กู่ลาวจ่าม กู่ลาวแร๊และกู่ลาวแซง เป็นต้น โดยเฉพาะในแผนที่ที่ถูกตีพิมพ์เมื่อปี 1827 ที่ด้านขวามือของหมู่เกาะพาราเซลคือรูปสี่เหลี่ยมที่คิดเป็น 1ใน3ของพื้นที่แผนที่โดยมีข้อความระบุว่า Empire d’An-nam (อัมเพีย เดอ อานนาม หรือหมายถึงอาณาจักร อานนาม) ซึ่งแนะนำโดยย่อเกี่ยวกับอาณาจักรอานนามทั้งสภาพภูมิศาสตร์ การเมือง ตัวเลขสถิติต่างๆและแร่ธาตุที่มี จากวิธีการตั้งชื่อแผนที่คือ Partie de la Cochinchine (ป๊ากตีเด่อลาโกแซงซิน) วิธีการระบุชื่อสถานที่บนแผ่นดินใหญ่ เกาะชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะพาราเซลในเขตทะเลที่อยู่นอกชายฝั่งของเวียดนาม การแนะนำเกี่ยวกับอาณาจักรอานนามในสมัยนั้น ตลอดจนการระบุแผนที่นี้ในกลุ่มแผนที่ที่บรรยายเกี่ยวกับรูปร่างและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของเวียดนามในปัจจุบันใน Atlas Universel (แอตลาส ยูนิเวอร์แซล) ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ผู้จัดทำแผนที่นี้ได้ยอมรับว่า พาราเซลหรือหมู่เกาะหว่างซาคือดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรอานนามในตอนนั้น
สิ่งที่ชัดเจนคือ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 นักเดินเรือตะวันตกได้วาดแผนที่ซึ่งระบุเขตทะเลหว่างซาและได้กำหนดชื่อพาราเซลบนแผนที่เพื่อระบุหมู่เกาะที่เวียดนามเรียกว่า ก๊าตหว่างหรือหว่างซา พร้อมทั้งกำหนดเขตชายฝั่งทะเลที่ตรงข้ามกับหมู่เกาะพาราเซลในภาคตะวันตกคือ Costa de Pracel หรือ Coste de Paracels (โก๊ตสเตอ เดอ พาราเซล-ชายฝั่งทะเลหว่างซา) เช่นเดียวกับการยอมรับหมู่เกาะแห่งนี้ว่า เป็นดินแดนของประเทศริมฝั่งทะเลตะวันตกคืออานนามหรือ CochinChine(โกแซงซิน)ซึ่งก็คือประเทศเวียดนาม./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด