นิมิตหมายสำคัญในความสัมพันธ์อียู-พม่า

(VOVworld)- วันที่22เมษายน ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปซึ่งจัดขึ้น ณ ประเทศลักเซมเบิร์กได้เห็นพ้องยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและการค้าแก่พม่ารวมไปถึงการคว่ำบาตรต่อคณะบุคคลต่างๆของพม่า ซึ่งนับเป็นการกระตุ้นเพื่อเปิดระยะแห่งการพัฒนาใหม่ในความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปกับพม่า
(VOVworld)- วันที่22เมษายน ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปซึ่งจัดขึ้น ณ ประเทศลักเซมเบิร์กได้เห็นพ้องยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและการค้าแก่พม่ารวมไปถึงการคว่ำบาตรต่อคณะบุคคลต่างๆของพม่า ซึ่งนับเป็นการกระตุ้นเพื่อเปิดระยะแห่งการพัฒนาใหม่ในความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปกับพม่า
นิมิตหมายสำคัญในความสัมพันธ์อียู-พม่า - ảnh 1
ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปซึ่งจัดขึ้น ณ ประเทศลักเซมเบิร์กได้เห็นพ้องยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและการค้าแก่พม่า(Photo AP)

การตัดสินใจยกเลิกคำสั่งคว่ำบาตรต่อพม่าครั้งนี้ของสหภาพยุโรปหรืออียูมีขึ้นหลังจากที่มีการผ่อนปรนมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจและการค้ายกเว้นอาวุธครบ1ปี โดยตามนั้นอียูจะยุติมาตรการลงโทษบริษัท800แห่งที่ประกอบการด้านเหมื่องแร่และป่าไม้ อนุญาตการลงทุนเข้าบริษัทที่มีความสัมพันธ์กับรัฐบาลประมาณ50แห่งและยุติการจำกัดการเข้าเมืองและการเดินทางไปยังประเทศอียูของชาวพม่าเกือบ500คน ซึ่งเหตุผลที่ทำให้อียูออกมตินี้คือกระบวนการปฏิรูปที่น่าประทับใจของพม่าภายหลังผ่านระยะแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างลึกทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งนางแคทเธอริน แอสตัน หัวหน้าฝ่ายนโยบายต่างประเทศของอียูเผยว่า เป้าหมายของอียูคือให้การสนับสนุนความก้าวหน้าต่างๆในการปฏิรูปของพม่าและสิ่งนี้จะช่วยสร้างความพึงพอใจต่อรัฐบาลพม่ารวมทั้งเป็นการเปิดทางให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในพม่า

อาจกล่าวได้ว่า การยกเลิกคำสั่งคว่ำบาทเกือบทั้งหมดต่อพม่านอกจากสะท้อนให้เห็นถึงคำมั่นของอียูในการสนับสนุนกระบวนการปฏิรูปประชาธิปไตยแล้วยังเป็นการเอื้ออำนวยให้อียูไม่ล่าช้าในการเข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดนี้โดยเฉพาะเมื่อญี่ปุ่นได้ประกาศว่าจะยกหนี้ให้พม่ามูลค่า3.7พันล้านเหรียญสหรัฐอย่างค่อยเป็นค่อยไปและฟื้นฟูสัญญาด้านการอุปถัมภ์เพื่อการพัฒนาเพื่อสนับสนุนกระบวนการปฏิรูปเศรษฐกิจของพม่า ส่วนออสเตรเลียก็ประกาศยกเลิกคำสั่งคว่ำบาตรในการเดินทางเข้าเมืองและการเงินต่อประธานาธิบดีและพลเมืองพม่ากว่า200คน และก่อนหน้านั้นสหรัฐก็ประกาศผ่อนปรนมาตรการจำกัดทางการเงินต่อพม่าเช่นกัน  ดังนั้นก้าวเดินใหม่นี้ของอียูได้เป็นการอนุญาตให้บริษัทต่างๆในยุโรปเข้าลงทุนในพม่าซึ่งเป็นประเทศที่มีศักยภาพมากมายด้านทรัพยากรณ์ธรรมชาติโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหมืองแร่และพม่าก็ได้จัดการประมูลสิทธิการขุดเจาะเหมืองน้ำมันและก๊าซ30แห่งเมื่อไม่นานนี้ นอกจากนี้หน่วยงานธนาคารและโทรคมนาคมก็เป็นอีกแขนงงานที่ดึงดูดความสนใจของนักลงทุนยุโรป ซึ่งจะเห็นได้จากการที่บริษัทของอียุหลายแห่งได้แสดงความประสงจะเข้าลงทุนในพม่าทันทีที่คำสั่งคว่ำบาทถูกยกเลิกเช่นบริษัทเบียร์ Carlsberg ของเดนมาร์ค เป็นต้น

การตัดสินใจยุติมาตรการคว่ำบาตรพม่าของอียูยังได้รับการชื่นชมตอบรับอย่างเข้มแข็งจากผู้ประกอบการพม่า โดยนาย มี อินต์ ซู รองประธานสหพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมพม่าและประธานสมาพันธ์ผู้ผลิตด้านสิ่งทอเสื้อผ้าสำเร็จรูปพม่าได้แสดงความเห็นว่า การตัดสินใจของอียูจะเปิดตลาดที่เต็มไปด้วยศักยภาพสำหรับสินค้าเมดอินพม่า แต่ถึงอย่างไรก็ดี การยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงก้าวเดินแรกเพราะพม่ายังต้องพัฒนาเงื่อนไขต่างๆทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานและกรอบทางนิตินัยเพื่อรองรับและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน นอกจากนั้นปัจจัยด้านความโปร่งใสในการบริหารของพม่าก็เป็นสิ่งที่นักลงทุนมีความกังวลเมื่อพม่าถูกจัดอยู่อันดับที่172/174ประเทศที่มีปัญหาด้านความโปร่งใสและคอร์รับชั่นรวมไปถึงปัญหาการใช้ความรุนแรงเนื่องจากความขัดแย้งด้านชาติพันธุ์

ทั้งนี้ถึงแม้จะต้องใช้เวลาสักระยะเพื่อที่จะได้เห็นผลจากการตัดสินใจของอียูในการยกเลิกคำสั่งคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและการค้าต่อพม่า แต่ก็ถือเป็นการเปิดระยะใหม่ในความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่าย อันเป็นการวางพื้นฐานให้แก่การสร้างสรรค์ความสัมพันธ์หุ้นส่วนที่ยั่งยืนระหว่างอียูกับพม่าในอนาคต./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด