ประชาคมโลกให้การสนับสนุนมาตรการต่างๆของเวียดนามในปัญหาทะเลตะวันออก

(VOVWORLD) -ในเวลาที่ผ่านมา การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและละเมิดอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 หรือ UNCLOS ของจีนที่คุกคามต่อความเป็นระเบียบและเสถียรภาพในภูมิภาคได้สร้างความไม่พอใจต่อประชามติทั้งภายในและต่างประเทศ  เวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการกระทำดังกล่าวของจีนได้แสดงจุดยืนและยืนหยัดแก้ไขปัญหาการพิพาทอย่างสันติผ่านช่องทางต่างๆ  ซึ่งแนวทางการเมืองของเวียดนามได้รับการสนับสนุนจากประชาคมโลกเนื่องจากเห็นว่า จุดยืนของเวียดนามแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ที่ดีของประเทศสมาชิกที่มีความรับผิดชอบของ UNCLOS ปี 1982 

ประชาคมโลกให้การสนับสนุนมาตรการต่างๆของเวียดนามในปัญหาทะเลตะวันออก - ảnh 1การสัมมนาระหว่างประเทศเกี่ยวกับทะเละตะวันออกครั้งที่ 11  มีขึ้น ณ กรุงฮานอย   

จุดยืนที่เสมอต้นเสมอปลายซึ่งถูกระบุในมติของสภาแห่งชาติว่าด้วยการให้สัตยาบัน UNCLOS เมื่อวันที่ 23 มิถุนายนปี 1994คือ “แก้ไขปัญหาการพิพาทด้านอธิปไตยและความขัดแย้งต่างๆที่เกี่ยวข้องถึงทะลตะวันออกผ่านการเจรจาอย่างสันติบนเจตนารมณ์แห่งความเสนมอภาค ความเข้าใจและการเคารพกัน ปฏิบัติตามกฎหมายสากล โดยเฉพาะ อนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982”           

จุดยืนที่เสมอต้นเสมอปลายของเวียดนามคือให้ความเคารพกฎหมายสากลในทะเลตะวันออก

  เพื่อปฏิบัติแผนการ “ครอบครองทะเลตะวันออก” จีนได้เพิกเฉยกฎหมายสากล ไม่ปฏิบัติตามคำมั่นทางการเมืองอย่างสมบูรณ์กับเวียดนาม อาเซียนและประเทศมหาอำนาจต่างๆ รวมทั้ง UNCLOSและแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออก หรือ DOC ที่จีนได้ลงนามกับอาเซียนเมื่อปี 2002

ต่อการกระทำที่ละเมิดกฎหมายของจีนเมื่อส่งเรือรุกล้ำเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนาม ฝ่ายเวียดนามได้ส่งตัวแทนไปพบปะหลายครั้งกับฝ่ายจีนผ่านช่องทางต่างๆพร้อมส่งหนังสือคัดค้านและยืนหยัดเรียกร้องให้จีนยุติการกระทำดังกล่าวและถอนเรือทั้งหมดออกจากเขตทะเลของเวียดนาม ให้ความเคารพอำนาจอธิปไตยและสิทธิอำนาจศาลของเวียดนามเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ เพื่อเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาค โดยเวียดนามได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะใช้วิธีการต่อสู้ทางการเมือง นิตินัยและทางสื่อต่างๆที่เหมาะสม  ซึ่งจุดยืนนี้ของเวียดนามได้รับการสนับสนุนจากบรรดานักการเมือง นักวิชาการและนักวิจัยกฎหมายสากล ในการสัมมนาระหว่างประเทศเกี่ยวกับทะเละตะวันออกครั้งที่ 11 ที่มีขึ้น ณ กรุงฮานอย  นาย Bill Hayton ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงของโครงการเอเชีย-แปซิฟิกสังกัดสถาบันวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอังกฤษได้ให้ข้อสังเกตว่า “ในปีนี้ โดยเฉพาะ ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา เวียดนามได้รับผลกระทบจากการกระทำต่างๆของจีนในทะเลตะวันออก ฝ่ายเวียดนามก็ได้รับการสนับสนุนจากประชาคมโลกเพราะทุกคนต่างอยากให้ประเทศต่างๆปฏิบัติตามกฎหมายสากลเพื่อไม่สร้างเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้แก่ภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งเวียดนามได้รับการสนับสุนนทางการเมืองและกำลังรอปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม”

บรรดาผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ความพยายามของเวียดนามจะไม่ประสบความสำเร็จถ้าหากไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาคมโลก โดยเฉพาะ ประเทศอาเซียน  นาย Satnley Weeks ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงของเครือบริษัทการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศได้เผยว่า “ผมคิดว่า ประเทศต่างๆทั้งในภูมิภาคและโลก รวมทั้ง เยอรมนี อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐและอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับผลประโยชน์จากเสรีภาพในการเดินเรือต้องแสดงจุดยืนของตน 1 คือ ประเทศต่างๆต้องตำหนิการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจีน 2 คือ ส่งเสริมความสามัคคีและความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับจุดยืนร่วมและที่สำคัญที่สุดคือต้องทำให้ประเทศต่างๆในภูมิภาค โดยเฉพาะ อาเซียนมีความเข้าใจว่า พวกเขาจะได้อยู่ในบรรยากาศที่สันติภาพถ้าหากเขตทะเลตะวันออกมีเสถียรภาพ ดังนั้น ต้องส่งเสริมความสามัคคีและความเป็นเอกภาพของอาเซียนเพื่อแก้ไขความท้าทายนี้”

ส่วนดอกเตอร์โทโมทากะ โชจิ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยด้านกลาโหมสังกัดกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้แสดงทัศนะในแนวทางเดียวกันว่า “เวียดนามต้องการความร่วมมือที่แน่นแฟ้นกับประเทศต่างๆทั้งในและนอกภูมิภาค อาทิเช่น ญี่ปุ่น สหรัฐ อินเดียและอีกหลายประเทศ   ซึ่งญี่ปุ่นให้การสนับสนุนการปฏิบัติตามกฎหมายทางทะเลและย้ำถึงความสำคัญในการแสวงหามาตรการสันติภาพบนพื้นฐานของกฎหมายสากล เวียดนามอาจผลักดันความร่วมมือในหลายด้านกับหลายประเทศรวมทั้งญี่ปุ่นเช่น การเพิ่มทักษะความสามารถของกองกำลังป้องกันชายฝั่ง”

  การสนับสนุนการปฏิบัติตามกฎหมายสากลในทะเลตะวันออก

    หลังจากที่โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามประกาศจุดยืนของเวียดนามต่อการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจีน  หลายประเทศก็แสดงความวิตกกังวลและคัดค้านการกระทำที่ละเมิดกฎหมายสากลของจีนในทะเลตะวันออก พร้อมทั้ง เห็นว่า เวียดนามมีจุดยืนและทัศนะที่ชัดเจน ให้การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการพิพาทด้านอธิปไตยในทะเลตะวันออกอย่างสันติ และไม่ใช้หรือข่มขู่ที่จะใช้กำลัง ปฏิบัติบนพื้นฐานของกฎหมายสากล รวมทั้ง อนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 มุ่งสู่การจัดทำร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือCOC ที่มีลัษณะบังคับใช้ทางนิตินัยโดยเร็ว

  จุดยืนของเวียดนาม ซึ่งก็เป็นข้อสังเกตการณ์ร่วมของประชาคมโลกเห็นว่า ไม่ควรเข้าใจปัญหาทะเลตะวันออกเป็นเพียงการพิพาทด้านอธิปไตยและทรัพยากรทางทะเลระหว่างประเทศต่างๆเท่านั้นหากต้องตระหนักว่า  นี่เป็นเขตทะเลที่เชื่อมโยงระหว่างมหาสมุทรต่างๆ เป็นจุดรวมด้านผลประโยชน์ระหว่างประเทศต่างๆในภูมิภาคและนอกภูมิภาค เป็นเขตที่ประเทศต่างๆอยากให้ทุกฝ่ายต้องเคารพกฎหมายสากล ต้องมีปฏิบัติการในเชิงการสนทนาและความร่วมมือย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนั้น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล การใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรอย่างยั่งยืน การปกป้องกฎหมายทางทะเลกำลังเป็นปัญหาที่ต้องการความพยายามร่วมและมาตรการร่วม ตลอดจนเป็นความรับผิดชอบของทุกประเทศทั้งในและนอกภูมิภาค.


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด