ประสิทธิภาพของกลไกความร่วมมืออาเซียนบวก1

(VOVworld) บนเส้นทางของการพัฒนาและผสมผสานเข้ากับกระแสโลก สมาคมอาเซียนยังได้เสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีกับหุ้นส่วนต่างๆผ่านการจัดตั้งกลไกและร่างเอกสารข้อตกลงต่างๆ โดยปัจจุบัน กรอบความร่วมมืออาเซียนบวก1คือกรอบความร่วมมือที่บรรลุผลงานหลายด้านและเป็นกลไกความร่วมมือนอกกลุ่มที่มีประสิทธิภาพที่สุดของอาเซียน

(VOVworld) บนเส้นทางของการพัฒนาและผสมผสานเข้ากับกระแสโลก สมาคมอาเซียนยังได้เสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีกับหุ้นส่วนต่างๆผ่านการจัดตั้งกลไกและร่างเอกสารข้อตกลงต่างๆ โดยปัจจุบัน กรอบความร่วมมืออาเซียนบวก1คือกรอบความร่วมมือที่บรรลุผลงานหลายด้านและเป็นกลไกความร่วมมือนอกกลุ่มที่มีประสิทธิภาพที่สุดของอาเซียน

ประสิทธิภาพของกลไกความร่วมมืออาเซียนบวก1 - ảnh 1
รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและสหรัฐ (vietnamplus)

อาเซียนบวก1คือกรอบความร่วมมือทวิภาคีของอาเซียนกับหุ้นส่วนภายนอกที่ได้รับการจัดตั้งเป็นอันดับแรกก่อนกลไกความร่วมมืออื่นๆของอาเซียน นับตั้งแต่ได้รับการก่อตั้ง อาเซียนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศ องค์การต่างๆในภูมิภาคและโลกเพื่อเสริมสร้างสถานะ โดยปัจจุบัน อาเซียนได้ธำรงความสัมพันธ์กับ 10 หุ้นส่วน ประกอบด้วยจีน สาธารณรัฐเกาหลี แคนาดา ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย สหรัฐ สหภาพยุโรปหรืออียู รัสเซียและนิวซีแลนด์
ผลักดันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน
ในเวลาที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนต่างๆในกรอบอาเซียนบวก 1 ได้รับการผลักดันและยกระดับให้สูงขึ้น โดยนอกจากการดำเนินนโยบายการต่างประเทศที่เปิดกว้างแล้ว อาเซียนยังคงให้ความสำคัญต่อการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนต่างๆบนพื้นฐานการให้ความเคารพระหว่างกันและเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน ธำรงบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในการสร้างสรรค์โครงสร้างภูมิภาคให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์และผลประโยชน์ของภูมิภาค บนพื้นฐานกลไกที่อาเซียนเป็นผู้นำ ซึ่งได้รับความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในระดับสูงจากหุ้นส่วนต่างๆ
คำมั่นสนับสนุนของหุ้นส่วนต่างๆในเวลาที่ผ่านมาคือพลังขับเคลื่อนเพื่อให้อาเซียนสร้างสรรค์และเสริมสร้างประชาคมที่คล่องตัวและพัฒนา โดยเฉพาะกลไกการสนทนาอาเซียนบวก 1 หลังปี 2015 มีความหมายสำคัญต่อสถานะของกลุ่มและนี่ก็คือนโยบายที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆของอาเซียน ปัจจุบัน อาเซียนได้บรรลุผลงานที่สำคัญที่สุดในการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจ นั่นคือได้จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีเมื่อปลายปี 2015 ดังนั้น ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าในกรอบอาเซียนบวก1จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากประเทศสมาชิกและถือเป็นเนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆ ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งได้ให้การช่วยเหลือเป็นอย่างมากต่อกระบวนการสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียน โดยให้คำมั่นที่จะลดช่องว่างการพัฒนา ปฏิบัติกระบวนการ “การขยายตัวที่มีคุณภาพ” ในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงให้เป็นรูปธรรม รวมทั้งยุทธศาสตร์โตเกียวปี 2015 ปัจจุบัน ทั้งสองฝ่ายได้ส่งเสริมการสรุป 10 ปีความร่วมมือหุ้นส่วนเศรษฐกิจในทุกด้านอาเซียน-ญี่ปุ่น มุ่งสู่แผนความร่วมมือระยะใหม่ 2016-2025 สำหรับหุ้นส่วนออสเตรเลีย  ข้อตกลงการค้าเสรี-อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์หรือ AANZFTA ที่ลงนามเมื่อปี 2012 กำลังเกิดประสิทธิผล โดยเมื่อเร็วๆนี้ ออสเตรเลียได้ขยายระยะเวลาการปฏิบัติโครงการช่วยเหลือร่วมมือด้านเศรษฐกิจถึงปี 2018 และโครงการร่วมมือพัฒนาอาเซียน-ออสเตรเลียระยะที่ 2 จนถึงปี 2019 โดยให้คำมั่นที่จะสนับสนุนเงิน 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการประชุมอาเซียน-ออสเตรเลียที่มีขึ้นในกรอบการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 49 ณ ประเทศลาว ออสเตรเลียได้ให้คำมั่นที่จะสนับสนุนเงินกว่า 100 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียภายในเวลา 5 ปีให้แก่แผนการโคลอมโบใหม่เพื่อให้การช่วยเหลือการขยายความร่วมมือด้านการศึกษาและการเชื่อมโยงประชาชนระหว่างออสเตรเลียกับอาเซียน ส่วนทางด้านความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับรัสเซียในหลายปีมานี้ก็ได้รับการผลักดันผ่านการปฏิบัติกระบวนการร่วมมือลงทุนและการค้าอาเซียน-รัสเซีย ปฏิบัติแผนปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การเกษตร พลังงานและความมั่นคงด้านอาหาร ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมกันจัดงานฉลอง 20 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนในปีนี้ อีกทั้งปฏิบัติแผนปฏิบัติการในช่วงปี 2016-2020 อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อใช้ศักยภาพความร่วมมือในด้านที่ต่างให้ความสนใจให้เป็นรูปธรรม
ประสิทธิภาพของกลไกความร่วมมืออาเซียนบวก1 - ảnh 2
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-อียู (vietnamplus)

ให้การช่วยเหลืออาเซียนรับมือกับปัญหาความมั่นคงในโลก
ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนใหญ่ๆ เช่น สหรัฐ จีน สาธารณรัฐเกาหลีและอียูต่างได้บรรลุก้าวกระโดด โดยนอกจากการผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนแล้ว หุ้นส่วนดังกล่าวยังให้การช่วยเหลือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามต่างๆ เช่นการก่อการร้าย ลัทธิหัวรุนแรง ความมั่นคงในการเดินเรือ อาชญากรรมบนอินเตอร์เน็ต การลักลอบค้าสัตว์ป่าและการค้ามนุษย์
ดังนั้น สามารถเห็นได้ว่า กลไกความร่วมมือในกรอบอาเซียนบวก1คือกลไกความร่วมมือที่รอบด้านที่สุด และบรรลุผลงานที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดของอาเซียนและหุ้นส่วน ประเทศหุ้นส่วนได้ให้คำมั่นที่จะสนับสนุนและให้การช่วยเหลืออาเซียน นำประชาคมอาเซียนพัฒนา ลดช่องว่างการพัฒนาและธำรงบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในกระบวนการพัฒนาของภูมิภาคและให้การช่วยเหลือด้านการเงินในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งสิ่งนี้ได้ยืนยันถึงผลสำเร็จและประสิทธิภาพของอาเซียนบวก1 อำนวยความสะดวกเพื่อให้อาเซียนและหุ้นส่วนต่างๆได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้างความไว้วางใจ ขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้า ควบคู่กันนั้นความร่วมมือด้านความมั่นคงในกรอบอาเซียนบวก1ยังช่วยให้อาเซียนรับมือกับปัญหาความมั่นคงในโลก เช่นการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ พร้อมกับการพัฒนาของอาเซียนและแนวโน้มแห่งการผสมผสานของโลก อาเซียนบวก1นับวันยิ่งยืนยันถึงบทบาทของตนมากขึ้น และแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของความร่วมมือทวิภาคีกับหุ้นส่วนต่างๆในทุกด้าน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด