ผลักดันความพยายามควบคุมและขจัดอาวุธนิวเคลียร์

(VOVWORLD) -ในสภาวการณ์ที่สถานการณ์โลกมีความผันผวนอย่างซับซ้อนและยากที่จะคาดเดาได้ นับวันมีหลายประเทศและองค์การระหว่างประเทศเรียกร้องให้ผลักดันความพยายามในการควบคุม จำกัดและขจัดอาวุธนิวเคลียร์  ดังนั้น ทั่วโลกได้ตั้งความหวังว่า การประชุมครั้งที่ 10 เกี่ยวกับการตรวจสอบการปฏิบัติสนธิสัญญาไม่เผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์หรือ NPT ที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ณ สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐ จะบรรลุก้าวเดินใหม่ในกระบวนการปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในโลก

ผลักดันความพยายามควบคุมและขจัดอาวุธนิวเคลียร์ - ảnh 1การประชุมครั้งที่ 10 เกี่ยวกับการตรวจสอบการปฏิบัติสนธิสัญญาไม่เผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ (Photo: TTXVN)

สนธิสัญญา NPTได้รับการลงนามเมื่อปี 1968และมีผลบังคับใช้เมื่อปี 1970 โดยมีเป้าหมายคือป้องกันและจำกัดการเผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ในโลกและ จนถึงขณะนี้มี 190 ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติได้อนุมัติสนธิสัญญา NPT อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาของประเทศต่างๆเกี่ยวกับโลกที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์

ความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามนิวเคลียร์

การประชุม NPT ครั้งที่ 10 ถูกจัดขึ้นในสภาวการณ์ที่มีคำเตือนหลายครั้งเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามนิวเคลียร์  ในการกล่าวปราศรัยเปิดการประชุม นาย  อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้ชี้ชัดว่า โลกกำลังต้องเผชิญกับภัยคุกคามด้านนิวเคลียร์ที่รุนแรงนับตั้งแต่สงครามเย็น ดังนั้น การประชุมครั้งนี้เป็น “โอกาสเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของสนธิสัญญา NPT และปรับให้สนธิสัญญานี้สอดคล้องกับโลกที่ไร้เสถียรภาพในปัจจุบัน” พร้อมทั้ง กล่าวถึงการปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครน สถานการณ์ความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีและสถานการณ์ความไร้เสถียรภาพในภูมิภาคตะวันออกกลาง

ก่อนหน้านั้น ในการกล่าวปราศรัยกับสื่อมวลชนก่อนที่จะเข้าร่วมการประชุม  นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ ได้เตือนว่า ความพยายามเพื่อมุ่งสู่โลกที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์กำลังลดลง

ส่วนในจดหมายที่ส่งถึงฝ่ายๆต่างที่เข้าร่วมการประชุม  NPT  ครั้งที่ 10 ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน ได้ชี้ชัดว่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามนิวเคลียร์พร้อมทั้งยืนยันว่า จะไม่มีใครที่ชนะในสงครามนิวเคลียร์และต้องป้องกันไม่ให้เกิดสงครามนิวเคลียร์  จากการเป็นประเทศสมาชิกของสนธิสัญญา  NPT  และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง รัสเซียได้ปฏิบัตินโยบายและจิตใจของสนธิสัญญาดังกล่าวอย่างจริงจัง

ผลักดันความพยายามควบคุมและขจัดอาวุธนิวเคลียร์ - ảnh 2นาย  อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ (Photo: TTXVN)

ร่วมกันปฏิบัติเพื่อโลกที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์

เพื่อขจัดความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามนิวเคลียร์และมุ่งสู่การปลอดนิวเคลียร์อย่างสมบูรณ์ เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ อันโตนิโอ กูเตอร์เรส ได้เสนอ 5 ด้านประกอบด้วย เสริมสร้างสนธิสัญญา NPT  ขจัดอาวุธนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิง แก้ไขความตึงเครียดในภูมิภาคตะวันออกกลางและเอเชีย ผลักดันการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อเป้าหมายสันติภาพ มีส่วนร่วมปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและปฏิบัติคำมั่นต่างๆของสนธิสัญญาให้เกิดประสิทธิผลจริงจัง

ส่วนประธานาธิบดี วลาดีเมียร์ ปูติน ได้ย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องเสริมสร้างและปฏิบัติสนธิสัญญานี้เพราะสนธิสัญญานี้ได้กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญของระบบความมั่นคงระหว่างประเทศและเสถียรภาพยุทธศาสตร์ในตลอดกว่า 50 ปีที่ผ่านมา สนธิสัญญา NPT ชี้ชัดถึงภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้องถึงการไม่เผยแพร่และปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อเป้าหมายสันติภาพ ตอบสนองผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจด้านนิวเคลียร์และประเทศที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์  ส่วนนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ให้คำมั่นที่จะแสวงหาแนวทางที่ช่วยกระตุ้นความพยายามมุ่งสู่โลกที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์

จากการเป็นประเทศที่ลงนามสนธิสัญญา NPT  เวียดนามแสดงจุดยืนที่เสมอต้นเสมอปลายคือต้องขจัดอาวุธนิวเคลียร์ในทั่วโลก ในการกล่าวปราศรัยต่อที่ประชุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ห่ากิมหงอก ได้ยืนยันว่า แนวทางและนโยบายที่เสมอต้นเสมอปลายของเวียดนามคือผลักดันการปฏิบัติใน 3 เสาหลักของสนธิสัญญาคือ ไม่เผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์  เรียกร้องให้ประเทศต่างๆขจัดอาวุธนิวเคลียร์ ย้ำถึงสิทธิของประเทศต่างๆเกี่ยวกับการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อเป้าหมายสันติภาพ พร้อมทั้งเห็นว่า ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองมีความรับผิดชอบหลักในการส่งเสริมการปลอดอาวุธนิวเคลียร์  อีกทั้งยืนยันว่า เวียดนามได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ถูกระบุในสนธิสัญญา NPT อย่างจริงจังและมีความรับผิดชอบ คำมั่นระหว่างประเทศที่สำคัญในด้านนี้ รวมทั้งการส่งเสริมสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ SEANWFZและมติที่เกี่ยวข้องของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อมีส่วนร่วมรักษาสันติภาพในภูมิภาคและโลก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด