พัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชน-ความต้องการที่เร่งด่วนของเศรษฐกิจ

(VOVWORLD) - หนึ่งในเนื้อหาสำคัญของการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามครั้งที่ 5 ซึ่งเปิดขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคม ณ กรุงฮานอยคือการหารือเกี่ยวกับมาตรการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชน
พัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชน-ความต้องการที่เร่งด่วนของเศรษฐกิจ - ảnh 1ภายหลังกว่า 30 ปีทำการเปลี่ยนแปลงใหม่ เศรษฐกิจภาคเอกชนได้พัฒนาทั้งด้านจำนวนและคุณภาพ 

เวียดนามกำลังผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลกอย่างกว้างลึก แต่เศรษฐกิจยังคงเผชิญกับความท้าทายต่างๆ การส่งเสริมการลงทุนจากภาคเอกชนและการพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนคือความท้าทายที่ยิ่งใหญ่และความต้องการที่เร่งด่วนสำหรับเวียดนามในเวลาที่จะถึง

เศรษฐกิจภาคเอกชนและส่วนร่วมต่อเศรษฐกิจเวียดนาม

ภายหลังกว่า 30 ปีทำการเปลี่ยนแปลงใหม่ เศรษฐกิจภาคเอกชนได้พัฒนาทั้งด้านจำนวนและคุณภาพ โดยจากการมีสถานประกอบการภาคเอกชน 5 หมื่น 5 พัน 2 ร้อยแห่งเมื่อปี 2002 จนถึงปี 2015 เวียดนามมีสถานประกอบการภาคเอกชนกว่า 4 แสน 9 หมื่น 5 พันแห่ง สร้างงานทำให้แก่แรงงานกว่าร้อยละ 85 ในเศรษฐกิจ การพัฒนาของเครือเอกชนในด้านการก่อสร้าง การบิน การผลิตอุตสาหกรรมและการเกษตรได้มีส่วนร่วมสร้างโฉมใหม่ให้แก่เศรษฐกิจ นำผลประโยชน์มาสู่ประชาชนและมีส่วนร่วมไม่น้อยต่อการขยายตัวจีดีพี ควบคู่กันนั้น แถวขบวนนักธุรกิจของเวียดนามก็พัฒนาอย่างเข้มแข็ง ในการประเมินเกี่ยวกับการพัฒนาของสถานประกอบการภาคเอกชน นาย เจืองดิ่งเตวี๋ยน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมได้แสดงความเห็นว่า “สถานประกอบการภาคเอกชนมีจุดแข็งคือ มีแหล่งแรงงานที่อยู่ในวัยทำงาน ซึ่งมีความขยัน ใฝ่การศึกษา เรียนรู้และปรับตัวได้เร็ว สถานประกอบการภาคเอกชนรุ่นใหม่มีความได้เปรียบมากมาย เช่นมีความคล่องตัว มียุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ในระยะยาวเพื่อก้าวรุดหน้าไป รัฐบาลให้ความสำคัญต่อเศรษฐกิจภาคเอกชน ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่เศรษฐกิจ”

พัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชน-ความต้องการที่เร่งด่วนของเศรษฐกิจ - ảnh 2

สร้างโอกาสพัฒนาให้แก่เศรษฐกิจภาคเอกชน

แม้เศรษฐกิจภาคเอกชนจะพัฒนา ในสถานการณ์ที่เป็นจริง เศรษฐกิจภาคนี้ยังมีข้อจำกัด เพราะสถานประกอบการภาคเอกชนร้อยละ 97 เป็นสถานประกอบการขนาดเล็ก ใช้เทคโนโลยีที่ล้าสมัย ความสามารถด้านเงินทุน กำลังการผลผลิตและประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจยังอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะความสามารถในการเข้าร่วมห่วงโซ่คุณค่าทั้งภายในและต่างประเทศยังมีข้อจำกัด อัตราสถานประกอบการภาคเอกชนที่ประกอบธุรกิจขาดทุนและล้มละลายในช่วงปี 2007-2015 อยู่ในระดับสูงคือ เฉลี่ยร้อยละ 45 นาย เหงียนดึ๊กเถาะ ประธานสภาบริหารและผู้อำนวยการใหญ่เครือบริษัทอานติ๊นได้แสดงความเห็นว่า“สำหรับประเทศต่างๆ เฉลี่ยมีนักธุรกิจ 100 คนต่อจำนวนประชากร 1 พันคน ส่วนที่เวียดนามมีนักธุรกิจ 6 คนต่อประชากร 1 พันคน ในกระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลก ต้องให้กำลังใจและส่งเสริมจิตใจแห่งการทำธุรกิจ start up ส่วนนโยบายก็ต้องมีความเหมาะสามารถเช่วยให้สถานประกอบการภาคเอกชนพัฒนา เช่นการปฏิรูประเบียบราชการ การแก้ไขอุปสรรคด้านเงินทุน ที่ดิน เทคโนโลยีและการฝึกอบรมแหล่งบุคลากรเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนให้สมกับการเป็นพลังขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ”

นาย ด่าวซวนเซิม ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและอดีตหัวหน้าคณะบดีสาขาวิชาบริหารเศรษฐกิจของสถาบันการเมืองแห่งชาติโฮจิมินห์ได้แสดงความเห็นว่า เพื่อผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชน ปัญหาใหญ่ที่สุดคือการสร้างความเป็นเอกภาพในกลไกเศรษฐกิจเชิงตลาด ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนกัน เพราะถ้าไม่มีตลาดที่สมบูรณ์ก็จะไม่มีเศรษฐกิจภาคเอกชนที่กว้างขวาง“พรรคและรัฐตั้งเป้าหมายในระดับสูงเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสถานประกอบการ ซึ่งความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงใหม่นโยบายและกลไกเพื่อให้ประชาชนทำธุรกิจ start up อย่างเข้มแข็ง พรรคก็ต้องกล้าเปิดทางให้แก่เศรษฐกิจภาคเอกชนอย่างเข้มแข็ง ถ้าอยากพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนต้องแก้ไขปัญหาการแปรสถานประกอบการภาครัฐเป็นบริษัทหุ้นส่วนและการประกอบธุรกิจตามกลไกเศรษฐกิจเชิงตลาด”

เป้าหมายที่เวียดนามวางไว้คือจนถึงปี 2020 จะมีสถานประกอบการ 1 ล้านแห่งเป็นสิ่งที่ไม่ง่าย เพราะในตลอดกว่า 30 ปีที่ทำการเปลี่ยนแปลงใหม่ ถึงแม้เศรษฐกิจภาคเอกชนได้พัฒนาอย่างเข้มแข็งแต่มีแค่สถานประกอบการแค่ 5 แสนแห่งเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ ในอีก 3 ปีข้างหน้า ขอบเขตของสถานประกอบการจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า ดังนั้นเป้าหมายนี้กำลังต้องเผชิญกับความท้าทายไม่น้อย ซึ่งต้องมีการมองและประเมินอย่างถูกต้องมากขึ้นเกี่ยวกับบทบาทของเศรษฐกิจภาคเอกชนและกำหนดแนวทางผ่านมาตรการที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนให้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด