มนุษย์เป็นศูนย์กลาง และเป็นเป้าหมายของการพัฒนา

(VOVworld) – “ในเวียดนาม มนุษย์ถือเป็นศูนย์กลาง และเป็นเป้าหมายของการพัฒนา ”นี่คือคำแถลงของท่านเหงวียนเติ้นหยุงนายกรัฐมนตรีเวียดนาม ในฟอรั่มสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ค เมื่อวันที่๒๗กันยายนที่ผ่านมาเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าเวียดนามได้ระบุเป้าหมายพัฒนาแห่งสหัสวรรษไว้ในยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศซึ่งตามแนวทางนี้ เวียดนามให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการลงทุนด้านสาธารณสุข การศึกษาและการสื่อสารให้แก่ประชาชนทุกคน โดยเฉพาะ ในเขตยากจนและเขตชนกลุ่มน้อยเพื่อค้ำประกันสิทธิมนุษยชน

(VOVworld) – “ในเวียดนาม มนุษย์ถือเป็นศูนย์กลาง และเป็นเป้าหมายของการพัฒนา ”นี่คือคำแถลงของท่านเหงวียนเติ้นหยุงนายกรัฐมนตรีเวียดนาม ในฟอรั่มสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ค เมื่อวันที่๒๗กันยายนที่ผ่านมาเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าเวียดนามได้ระบุเป้าหมายพัฒนาแห่งสหัสวรรษไว้ในยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศซึ่งตามแนวทางนี้ เวียดนามให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการลงทุนด้านสาธารณสุข การศึกษาและการสื่อสารให้แก่ประชาชนทุกคน โดยเฉพาะ ในเขตยากจนและเขตชนกลุ่มน้อยเพื่อค้ำประกันสิทธิมนุษยชน

มนุษย์เป็นศูนย์กลาง และเป็นเป้าหมายของการพัฒนา - ảnh 1
เด็กในเขตเขาสูงไปโรงเรียน (Photo:dulichmocchau.net)

นโยบายที่ถูกต้อง

ในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจโภายในประเทศประสบความลำบาก แต่รัฐบาลเวียดนามยังคงให้ความสำคัญต่อการรักษาสวัสดิการสังคม และสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองทุกคนโดยนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนามขณะนี้คือ“รักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค สวัสดิการสังคมและแก้ปัญหาความยากจน” นับตั้งแต่ปี๒๐๐๕ เวียดนามได้ปฏิบัติยุทธศาสตร์ในทุกด้านเกี่ยวกับการขยายตัวและการแก้ปัญหาความยากจนให้สอดคล้องกับเป้าหมายพัฒนาแห่งสหัสวรรษหรือMDGของสหประชาชาติ ตั้งแต่ปี๒๐๐๓ถึงปี๒๐๑๒ เวียดนามได้จัดสรรงบประมาณแผ่นดินร้อยละ๕๑ให้แก่งานด้านสวัสดิการสังคมอยู่เสมอ เฉพาะช่วงปี๒๐๐๖ถึงปี๒๐๑๒ รัฐบาลได้ลงทุนผ่านพันธบัตรรัฐบาล๗ร้อยล้านล้านด่งให้แก่โครงการคมนาคม ชลประทาน สาธารณสุข และการศึกษาเกือบ๓พันโครงการเพื่อช่วยแก้ปัญหาความยากจน รวมทั้งกว่า๕๔ล้านล้านด่งให้แก่เขตชนกลุ่มน้อยและเขตเขา ทุกปี รัฐให้ความช่วยเหลือทางสังคมให้แก่ประชากรร้อยละ๒และช่วยเหลือฉุกเฉินให้แก่เขตที่ประสบภัยธรรมชาติประมาณร้อยละ๐.๕ถึงร้อยละ๐.๖ของจีดีพี ระดมทั้งระบบการเมืองและประชาคมปฏิบัติเป้าหมายแก้ปัญหาความยากจนและถือเอาวันที่๑๗ตุลาคมทุกปีเป็นวันเพื่อคนจนและส่งเสริมให้ทุกคนในสังคมเข้าร่วมขบวนการเพื่อคนจนทั่วประเทศ

ตัวเลขพิสูจน์นโยบาย

            ในทางเป็นจริง เวียดนามได้ปฏิบัติโครงการต่างๆ นโยบายลงทุน ให้กู้เงินทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สร้างงาน ช่วยเหลือครอบครัวที่ยากจนและครอบครัวชนกลุ่มน้อยทำการผลิต และประกอบธุรกิจ จัดกิจกรรมชุมชนให้ความช่วยเหลือจุนเจือกัน กิจกรรมการกุศลและการตอบแทนบุญคุณซึ่งได้ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการบริการสังคมซึ่งหนึ่งในดัชนีเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในเวียดนามได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นโดยจนถึงปลายปี๒๐๑๒ คนจนกว่าร้อยละ๙๐ได้ใช้ไฟฟ้าจากเครือข่ายไฟฟ้าแห่งชาติ ประชาชนในชนบทกว่าร้อยละ๘๕มีน้ำสะอาดเพื่อบริโภค ตำบลทุกแห่งมีสถานีอนามัยและเส้นทางคมนาคม บ้านธารน้ำใจนับพันหลังพร้อมโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยนับร้อยโครงการที่ได้รับการปฏิบัติทั่วประเทศซึ่งมีส่วนร่วมตอบสนองความต้องการด้านที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้ที่อยู่ในเป้านโยบายนับล้านคน จนถึงปี๒๐๑๐ ทั้งประเทศได้เสร็จสิ้นการศึกษาภาคบังคับระดับประถมศึกษาและตำบลทุกแห่งมีโรงเรียน ในด้านการศึกษา ทุกปี เวียดนามมีแรงงาน๑ล้าน๘แสนคนได้รับการฝึกสอนอาชีพผ่านโรงเรียน และศูนย์ศึกษาชุมชน๑หมื่นแห่ง และศูนย์การศึกษาประจำเกือบ๗๐๐แห่ง นักเรียนที่ยากจนได้รับการยกเว้นหรือลดค่าเล่าเรียน ได้รับความช่วยเหลืออาหารกลางวัน  ในด้านสาธารณสุข ผู้ยากจน  ผู้ที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ผู้เคราะห์ร้ายจากสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินได้รับสิทธิผลประโยชน์อย่างครบถ้วน และทันการณ์ตามข้อกำหนด เฉพาะในช่วงปี๒๐๑๑ถึงปี๒๐๑๒ รัฐได้แจกบัตรประกันสุขภาพฟรีให้แก่ผู้ยากจน ชนกลุ่มน้อย เด็กอายุต่ำกว่า๖ขวบและผู้ใกล้ยากจน๒๙ล้านคน รวมมูลค่า๒๒ล้านล้านด่ง

            จากนโยบายสวัสดิการสังคมที่ดีนี้ทำให้อายุขัยเฉลี่ยของชาวเวียดนามในปัจจุบันคือ๗๓ถึง๗๔ปี อัตราครอบครัวที่ยากจนลดลงอย่างต่อเนื่อง เหลือเกือบร้อยละ๙.๖๔เมื่อปลายปี๒๐๑๒ เมื่อเทียบกับปี๒๐๐๖ที่ร้อยละ๒๒ รายได้เฉลี่ยของครอบครัวที่ยากจนเมื่อปี๒๐๑๐ เพิ่มขึ้น๒.๓เท่าเมื่อเทียบกับปี๒๐๐๕ รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรเพิ่มจาก๑,๐๒๔เหรียญสหรัฐต่อคนเมื่อปี๒๐๐๘ขึ้นเป็น๑,๕๔๐เหรียญสหรัฐต่อคนเมื่อ๒๐๑๒ ซึ่งผลสำเร็จนี้ได้ช่วยให้เวียดนามบรรลุเป้าหมายพัฒนาแห่งสหัสวรรษก่อนกำหนดที่วางไว้คือปี๒๐๑๕ ดังนั้น เวียดนามจึงได้รับรางวัลผลงานยอดเยี่ยมในการแก้ปัญหาความยากจนจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ  เมื่อปี๒๐๑๒ สหประชาชาติได้ถือเวียดนามเป็นหนึ่งใน๘ประเทศที่ได้ปฏิบัติเป้าหมายMDG๔เกี่ยวกับการลดอัตราการเสียชีวิตของเด็ก และเป็นหนึ่งใน๙ประเทศที่ได้ปฏิบัติเป้าหมายMDG๕เกี่ยวกับการลดอัตราการเสียชีวิตของแม่ตามแผนที่วางไว้ และอยู่อันดับ๒๗จาก๑๐๑ประเทศกำลังพัฒนาเกี่ยวกับทักษะการแก้ปัญหาความยากจน

มุ่งสู่เป้าหมายสวัดิการสังคมให้แก่ทุกคน

            เวียดนามจะไม่หยุดอยู่แค่ในผลงานที่ได้รับการรับรองจากนานาชาติเท่านั้นแต่กำลังปฏิบัติยุทธศาสตร์พัฒนาอย่างยั่งยืนในช่วงปี๒๐๑๑ถึงปี๒๐๒๐โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการแก้ปัญหาความยากจนหลายมิติอย่างยั่งยืน เข้าถึงการบริการต่างๆและสวัสดิการสังคมอย่างยุติธรรม  ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อผู้ยากจนและชนกลุ่มน้อยในเขตยากจน ปลูกฝังจิตสำนึกของชุมชน ช่วยเหลือด้านนิตินัย และยกระดับทักษะของสำนักงานบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน จากนโยบายต่างๆ และแผนปฏิบัติการที่เป็นจริงได้แสดงให้เห็นว่า พรรคและรัฐเวียดนามถือมนุษย์เป็นเป้าหมายและเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา./.


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด