ยกระดับคุณภาพแหล่งบุคลากรเวียดนาม

(VOVWORLD) - แหล่งบุคลากรคือปัจจัยชี้ขาดต่อความสำเร็จและความก้าวหน้าของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะระดับการพัฒนาแหล่งบุคลากรคือปัจจัยชี้วัดสำคัญในการประเมินระดับความก้าวหน้าของสังคม ความเสมอภาคและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะปี 2011-2020 เวียดนามให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาแหล่งบุคลากร โดยถือเป็นก้าวกระโดดในกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ – สังคมของประเทศ เป็นพื้นฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในกระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกปัจจุบัน
ยกระดับคุณภาพแหล่งบุคลากรเวียดนาม - ảnh 1(Photo baonhandan)

แม้กำลังอยู่ในยุคทองของประชากรคือมีแหล่งแรงงานที่หลากหลายในระดับสูงและมีเสถียรภาพ แต่ในยุคแห่งการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก เวียดนามยังคงต้องรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ

ความได้เปรียบของเวียดนามคือมีแรงงานที่หลากหลาย มีสัดส่วนแรงงานรุ่นเยาว์สูง

ปัจจุบันนี้ ความได้เปรียบของเวียดนามคือมีแรงงานที่หลากหลายและมีสัดส่วนแรงงานรุ่นเยาว์สูง โดยตามข้อมูลจากทบวงสถิติเวียดนาม เมื่อปี 2018 เวียดนามมีประชากรประมาณ 94 ล้านคน โดยเป็นแรงงานในวัย 15 ปีขึ้นไปประมาณ 55 ล้านคน ผลิตภาพแรงงานของเวียดนามได้รับการยกระดับให้ดีขึ้นโดยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในหลายปีมานี้และมีอัตราการเพิ่มผลิตภาพแรงงานอยู่ในระดับสูงของอาเซียน ควบคู่กันนั้น คุณภาพของแรงงานเวียดนามก็ได้รับการยกระดับอย่างต่อเนื่อง แรงงานที่ได้รับการฝึกอบรมสามารถตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการและตลาดแรงงานได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะแรงงานด้านเทคนิคมีความสามารถในการเข้าถึงและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆและสามารถทำงานในด้านที่ต้องใช้ทักษะความสามารถสูงที่เวียดนาม ต้องพึ่งพาแรงงานต่างชาติเป็นหลักในเวลาที่ผ่านมา นาย บุ่ยแองต๊วน อธิการบดีมหาวิทยาลัยการค้าต่างประเทศเผยว่า“เราตระหนักได้ดีว่า การฝึกอบรมแห่งบุคลากรในยุคใหม่คือหน้าที่สำคัญและเร่งด่วนที่สุด การบริหารแหล่งบุคลากรในสภาวการณ์ใหม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงใหม่ ทั้งในการฝึกอบรม การวิจัยและการประยุกต์ใช้ เรามีความประสงค์ว่า จะผลักดันให้มหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมและพัฒนาแหล่งบุคลากร พร้อมทั้งขยายความร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ องค์กรระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยและสถานประกอบการเวียดนามเพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาแหล่งบุคลากรผ่านรูปแบบใหม่ๆ”

สร้างสรรค์แหล่งบุคลากรในสภาวการณ์ผสมผสานเข้ากับกระแสโลก

ในสภาวการณ์ที่การผสมผสานเข้ากับกระแสโลกต้องขยายไปอย่างกว้างลึก เวียดนามต้องเตรียมความพร้อมในด้านบุคลากรเพื่อตอบสนองและรับประโยชน์จากคำมั่นระหว่างประเทศต่างๆ ปัจจุบันนี้ เวียดนามมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 13 หรือ 14 ของโลก โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ เวียดนามติดอันดับที่ 37 หรือ 38 ของโลก แต่ยังไม่ติด1ใน 50 ประเทศนำหน้าของโลกในการฝึกสอนอาชีพ ในการสัมมนาระหว่างประเทศเอเชียครั้งที่ 18 ของสมาพันธ์พัฒนาแหล่งบุคลากรระหว่างประเทศหรือ AHRD ที่มีขึ้น ณ กรุงฮานอยเมื่อเร็วๆนี้ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม เหงียนซวนฟุ๊กได้เผยว่า การฝึกสอนอาชีพในเวียดนามต้องมีความมุ่งมั่นที่เข้มแข็งมากขึ้นเพื่อพัฒนาทัดเทียมกับประเทศที่ทันสมัยของโลกและภูมิภาค นำเศรษฐกิจพัฒนาในระดับห่วงโซ่มูลค่าที่สูงกว่า การฝึกสอนอาชีพต้องเกาะติดความต้องการของตลาด ส่วนการพัฒนาทักษะวิชาชีพต้องได้มาตรฐานสากลเพื่อตอบสนองความต้องการในระดับสูงของสถานประกอบการทั้งภายในและต่างประเทศ “ต้องสร้างสรรค์กลไกความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับสถานประกอบการและรัฐบาลในการฝึกสอนอาชีพหลัก โดยมีการเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาและคุณภาพของการฝึกอบรมแหล่งบุคลากรที่มีทักษะความสามารถสูงกับความต้องการของตลาดและเศรษฐกิจ โดยทั้งภาครัฐ มหาวิทยาลัยและสถานประกอบการควรมีนโยบายที่ชัดเจนมากขึ้นและสถานประกอบการควรเข้าร่วมการจัดทำเนื้อหาสำหรับการฝึกอบรม ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมกระบวนการฝึกอบรมหรือรับแรงงานมาฝึกอบรมในกรอบโครงการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับสถานประกอบการ นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัยควรอำนวยความสะดวกให้ครูอาจารย์ได้พัฒนาทักษะวิชาชีพและเข้าถึงความรู้ใหม่ๆของสถานประกอบการและโลกเพื่อยกระดับคุณภาพการสอนและนำอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัยมาใช้”

แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อพัฒนาแหล่งบุคลากรในเวลาข้างหน้า รัฐบาลและหน่วยงานการศึกษาได้จัดทำนโยบายที่เหมาะสมต่างๆ โดยเฉพาะการเสริมสร้างกลไกบริหารการพัฒนาแหล่งบุคลากรให้มีความสมบูรณ์ เปลี่ยนแปลงใหม่วิธีการบริหาร ยกระดับทักษะความสามารถ ประสิทธิภาพของกลไกการบริหารเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งบุคลากร ควบคู่กันนั้น รัฐบาลได้สร้างบรรยากาศและอำนวยความสะดวกมากขึ้นเพื่อดึงดูดครูอาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ชาวต่างชาติที่มีทักษะความสามารถและมีประสบการณ์ รวมทั้งชาวเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศให้เข้าร่วมกระบวนการฝึกอบรมแหล่งบุคลากรในมหาวิทยาลัยต่างๆและการวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตลอดจนมีนโยบายให้สิทธิพิเศษเพื่อดึงดูดความสนใจของมหาวิทยาลัยและโรงเรียนอาชีวะศึกษาระดับโลกให้เข้ามาเปิดดำเนินการในเวียดนาม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด