ยูโรโซนส่อเค้าเกิดวิกฤติระลอกใหม่

(VOVWorld) –  ยูโรโซนกลับมาเป็นที่สนใจของประชามติอีกครั้ง ความชะงักงันทางการเมืองจากการเลือกตั้งที่ผ่านมาในประเทศอิตาลีซึ่งได้ สร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤติหนี้สาธารณะของประเทศนี้ที่คาดว่าอาจจะ ยืดเยื้อต่อไปและจะส่งผลกระทบไปยังหลายประเทศในภูมิภาคซึ่งขัดกับความคาด หวังว่า  การเลือกตั้งเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาจะเป็นโอกาสเพื่อให้อิตาลี แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศในปัจจุบัน ส่วนยุโรปก็กำลังรอคอยเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศนี้เพื่อสร้างเสถียรภาพ และฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่กำลังเกิดขึ้นทำให้ความหวังที่เริ่มจุดประกายขึ้นหลุด ลอยไป

(VOVWorld) –  ยูโรโซนกลับมาเป็นที่สนใจของประชามติอีกครั้ง ความชะงักงันทางการเมืองจากการเลือกตั้งที่ผ่านมาในประเทศอิตาลีซึ่งได้สร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤติหนี้สาธารณะของประเทศนี้ที่คาดว่าอาจจะยืดเยื้อต่อไปและจะส่งผลกระทบไปยังหลายประเทศในภูมิภาคซึ่งขัดกับความคาดหวังว่า  การเลือกตั้งเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาจะเป็นโอกาสเพื่อให้อิตาลีแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศในปัจจุบัน ส่วนยุโรปก็กำลังรอคอยเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศนี้เพื่อสร้างเสถียรภาพและฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่กำลังเกิดขึ้นทำให้ความหวังที่เริ่มจุดประกายขึ้นหลุดลอยไป

ยูโรโซนส่อเค้าเกิดวิกฤติระลอกใหม่ - ảnh 1
ยูโรโซนส่อเค้าเกิดวิกฤติระลอกใหม่ (Photo:Internet)

การเลือกตั้งครั้งนี้ได้รับการจัดขึ้นเร็วกว่ากำหนดหลังจากที่พรรคประชาชนเสรีหรือPDLสายกลางของอดีตนายกรัฐมนตรี Silvio Berlussconi ยกเลิกการสนับสนุนรัฐบาลชั่วคราวที่เป็นกลางของนายกรัฐมนตรีMario Monti จนทำให้เขาต้องลาออกจากตำแหน่งเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา การเลือกตั้งไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่ออิตาลีเท่านั้นหากต่อทั้งยุโรปอีกด้วยเพราะเป็นการชี้ขาดนโยบายรัดเข็มขัดและกระบวนการปฏิรูปเศรษฐกิจโดยนายกรรัฐมนตรีMario Monti เป็นผู้ริเริ่มและได้รับการสนับสนุนจากผู้นำหลายประเทศ เช่น ประธานาธิบดีสหรัฐบารัก โอบามา และนายกรัฐมนตรีเยอรมนีAngela Merkel   หวนมองดู๑ปีที่ผ่านมา เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี๒๐๑๑ นายMario Monti รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ประเทศอิตาลีกำลังเผชิญกับวิกฤติซึ่งระดับหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือGPDอยู่ที่กว่า๑๒๐% อยู่อันดับ๒รองจากกรีซซึ่งเป็นประเทศที่เริ่มต้นของวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป  หลังจากที่รับตำแหน่ง นายMario Monti ได้ตอบสนองความรอคอยของบรรดาผู้สนับสนุนในวงการการเงินยุโรป เมื่อดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดและเพิ่มภาษีเพื่อลดหนี้สาธารณะที่กำลังอยู่ในระดับสูงซึ่งทำให้อัตราการขาดดุลย์งบประมาณต่อGPDของอิตาลีลดจากร้อยละ๓.๙ในปี๒๐๑๑ลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ๓ในปี๒๐๑๒ซึ่งเป็นอัตราที่สหภาพยุโรปอนุญาติ  ในตลอด๑๕เดือนภายใต้การบริหารประเทศของนายMario Monti ดอกเบี้ยพันธบัตร๑๐ปีของอิตาลีลดลงกว่า๒๐๐จุด อย่างไรก็ดี นโยบายรัดเข็มขัดทำให้เศรษฐกิจอิตาลีตกเข้าสู่วิกฤติมาเป็นเวลานานที่สุดในรอบ๒๐ปี ปี๒๐๑๒ อัตราการขยายตัวของอิตาลีอยู่ที่ติดลบร้อยละ๒.๒

ยูโรโซนส่อเค้าเกิดวิกฤติระลอกใหม่ - ảnh 2
ชาวอิตาลีประท้วงนโยบายรัดเข็มขัด (Photo:Internet)

รัฐบาลอิตาลีคาดการณ์ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจจะลดลงอีกร้อยละ๐.๒ในปี๒๐๑๓และเศรษฐกิจจะฟื้นตัวในปี๒๐๑๔โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ๑.๑เนื่องจากเศรษฐกิจถดถอย อัตราคนว่างงาน และยากจนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเมื่อเดือนธันวาคมปี๒๐๑๒ อัตราคนว่างงานอยู่ที่ร้อยละ๑๑.๒ซึ่งทำให้ชาวอิตาลีจำนวนมากประท้วงนโยบายรัดเข็มขัดของทางการMontiซึ่งจากผลเบื้องต้นที่กระทรวงมหาดไทยอิตาลีได้ประกาศเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาปรากฏว่า ไม่มีพรรคใดสามารถครองเสียงข้างมากทั้งในสภาสูงและสภาล่างได้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการประท้วงของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอิตาลีต่อนโยบายรัดเข็มขัดของนายMario Monti เพราะชาวอิตาลีเห็นว่า ถ้ารัฐบาลอนุมัติแผนการรัดเข็มขัด บวกกับแผนการลดรายจ่ายที่อดีตนายกรัฐมนตรีSilvio  Berlussconi ได้ลงนามอนุมัติ  พวกเขาจะต้องแบกรับหนี้๓แสนล้านยูโรในช่วงปี๒๐๑๐ถึงปี๒๐๑๔ ด้วยเหตุนี้ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งร้อยละ๙๐ได้ประท้วงให้นายMario Monti เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป เป็นอันว่า ในเวลาข้างหน้า รัฐสภาอิตาลีจะเป็นรัฐสภาที่ไม่สามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ บรรดาผู้สันทัดกรณีเห็นว่า  ในรัฐสภาที่มีความแตกแยกเช่นนี้ นโยบายใดก็มาจากความตกลงนอกห้องประชุมซึ่งหมายความว่า ความเชื่อมั่นของนักลงทุนจะลดลงและการเมืองของอิตาลีในอนาคตจะไม่ชัดเจนและทำให้ประเทศนี้ตกเข้าสู่ภาวะไร้เสถียรภาพครั้งใหม่

ยูโรโซนส่อเค้าเกิดวิกฤติระลอกใหม่ - ảnh 3
นาย Mario Monti (Photo:Internet)
ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในอิตาลีความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในอิตาลีมีส่วนทำให้การกู้ยืมเงินของประเทศยูโรโซนอื่นๆ เช่น สเปน โปตุเกส และกรีซเพิ่มขึ้นจนต้องขอความช่วยเหลือ โดยเฉพาะ  สเปนที่เพิ่งได้รับความช่วยเหลือด้านธนาคาร ประชามติเห็นว่า นี่เป็นผลจากการประท้วงอย่างรุนแรงของประชาชนยุโรป โดยเฉพาะ ชาวอิตาลีต่อนโยบายรัดเข็มขัดที่รัฐบาลหลายประเทศในยูโรโซนกำลังดำเนินอยู่และยังมีความวิตกกังวลว่า การลาออกจากตำแหน่งของนายMario Montiจะทำให้อิตาลี่ซึ่งเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ๓จากทั้งหมด๑๗ประเทศที่ใช้เงินยูโรและเป็นหนึ่งในประเทศก่อตั้งยูโรโซนเดินไม่ตรงเส้นทางปฏิรูปในปัจจุบันและทำให้วิกฤติหนี้สาธารณะในทวีปนี้มีความรุนแรงมากขึ้น อีกทั้งส่งผลกระทบต่อความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในยุโรป ปัจจุบัน ตามรัฐธรรมนูญอิตาลี รัฐสภาชุดใหม่จะจัดการประชุมนัดแรกภายใน๒๐วัน หลังการเลือกตั้งและหลังจากนั้น ประธานาธิบดีอิตาลีจะพบปะกับพรรคการเมืองและพันธมิตรต่างๆเพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ อย่างไรก็ดี วงการผู้สันทัดกรณีเห็นว่า แม้ว่า รัฐบาลผสมฝ่ายใดจะได้รับการจัดตั้ง แต่เศรษฐกิจของอิตาลีจะยังคงซบเซาต่อไปเพราะรัฐบาลชุดใหม่ไม่มีความเข้มแข็งเพียงพอเพื่อดำเนินการปฏิรูปแบบรัดเข็มขัดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจประเทศ./.

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด