รัฐบาลตุรกีพยายามนำเสถียรภาพมาสู่ประเทศ

(VOVworld)หลังการทำรัฐประหารประสบความ ล้มเหลวเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ทางการตุรกีกำลังเน้นปฏิบัติทุกความพยายามเพื่อนำเสถียรภาพมาสู่ประเทศ จากคำประกาศที่ว่า ไม่มีอำนาจหรือความแข็งแกร่งใดที่ยิ่งใหญ่กว่าพลังของประชาชน นาย รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน ประธานาธิบดี ตุรกีได้รับการประเมินว่า เป็นบุคคลที่เฉลียวฉลาด เพราะรู้จักอาศัยพลังของประชาชนในการเสริมสร้างอำนาจและปฏิรูปกลไกการบริหาร อย่างเข้มแข็ง ถึงแม้จะเป็นหน้าที่ที่เต็มไปด้วยความยากลำบากในระยะปัจจุบันก็ตาม

(VOVworld)หลังการทำรัฐประหารประสบความล้มเหลวเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ทางการตุรกีกำลังเน้นปฏิบัติทุกความพยายามเพื่อนำเสถียรภาพมาสู่ประเทศ จากคำประกาศที่ว่า ไม่มีอำนาจหรือความแข็งแกร่งใดที่ยิ่งใหญ่กว่าพลังของประชาชน นาย รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน ประธานาธิบดีตุรกีได้รับการประเมินว่า เป็นบุคคลที่เฉลียวฉลาด เพราะรู้จักอาศัยพลังของประชาชนในการเสริมสร้างอำนาจและปฏิรูปกลไกการบริหารอย่างเข้มแข็ง ถึงแม้จะเป็นหน้าที่ที่เต็มไปด้วยความยากลำบากในระยะปัจจุบันก็ตาม

รัฐบาลตุรกีพยายามนำเสถียรภาพมาสู่ประเทศ - ảnh 1
ประธานาธิบดีตุรกีและบรรดานายทหาร (AFP)

เมื่อค่ำวันที่ 15 กรกฎาคม ทั่วโลกต้องตกตะลึกเมื่อเห็นภาพจากสื่อต่างๆที่รายงานสถานการณ์ความวุ่นวายในกรุงอังการาและเมืองอิสตันบูล โดยการก่อกบฎเริ่มขึ้นด้วยเหตุการณ์ที่รถถังปิดล้อมสะพานชื่อดัง บอสฟอรัส ในเมืองอิสตันบูล ในขณะที่เฮลิคอปเตอร์ได้ปรากฎเหนือน่านฟ้ากรุงอังการาและทหารกลุ่มกบฎได้บุกยึดสำนักข่าว สถานีตำรวจ อาคารรัฐสภาและทำเนียบประธานาธิบดี แต่อย่างไรก็ตาม ทางการอังการาก็สามารถขัดขวางแผนการดังกล่าวได้ ถึงแม้การก่อรัฐประหารนั้นไม่สำเร็จ แต่ก็ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 300 คนและมีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 2 พันคน นอกจากนั้น การทำรัฐประหารได้ทำให้เศรษฐกิจตุรกีได้รับความเสียหายประมาณ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
ปฏิรูปกลไกการบริหารอย่างเข้มแข็ง

หลังจากประสบความสำเร็จในการขัดขวางการทำรัฐประหาร ประธานาธิบดีตุรกี รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทั่วประเทศทันทีโดยมีผลบังใช้เป็นเวลา 3 เดือน และให้คำมั่นว่า ระบอบประชาธิปไตยของตุรกี สิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิเสรีภาพของประชาชนจะไม่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะภายหลังการก่อกบฎ นาย รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน ได้ปรับเปลี่ยนกลไกการบริหารครั้งประวัติศาสตร์ โดยจนถึงขณะนี้ มีผู้ต้องสงสัยกว่า 7,500 คนถูกจับกุม ซึ่งเป็นนายทหารและเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูง 103 นาย ทหารกว่า 2,800 นาย ผู้พิพากษาเกือบ 2,800 คนและตำรวจ 8 พันนายถูกไล่ออกจากงาน  นาย รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน ยังประกาศว่า จะไม่ยกเว้นโทษประหารชีวิตต่อผู้ทรยศ
อย่างไรก็ตาม การกระทำนี้ของทางการตุรกีได้ทำให้พันธมิตรตะวันตกมีความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก ถึงแม้ก่อนหน้านั้น พวกเขาได้สนับสนุนนาย เออร์โดกัน เมื่อเกิดการทำรัฐประหาร โดยสหรัฐและสหภาพยุโรปได้ออกคำเตือนต่อประธานาธิบดี รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน ที่เกี่ยวข้องถึงการไล่ล่าฝ่ายตรงข้ามหลังจากเกิดเหตุก่อกบฎ แต่นาย รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน ได้ยืนหยัดจุดยืน “ระบอบประชาธิปไตยที่ไม่ประนีประนอม” และนี่คือสิ่งที่จำเป็นเพื่อนำสันติภาพมาให้แก่ประชาชน และเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดความสับสนและความวิตกกังวลในหมู่ประชาชน เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม รองนายกรัฐมนตรีตุรกี Numan Kurulmus ได้ประกาศปลอบใจประชาชนผ่านทางสถานีโทรทัศน์ โดยยืนยันว่า รัฐบาลจะไม่ประกาศคำสั่งเคอร์ฟิว กลไกตลาดเสรีจะไม่ได้รับผลกระทบและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนจะไม่ถูกละเมิด

รัฐบาลตุรกีพยายามนำเสถียรภาพมาสู่ประเทศ - ảnh 2
ความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับตะวันตกกำลังมีความแตกร้าว (Sputnik)

ผลกระทบหลังการทำรัฐประหาร
จนถึงขณะนี้ คำถามที่ว่า ใครอยู่เบื้องหลังการก่อกบฎยังคงเป็นข้อถกเถียง โดยทางการของประธานาธิบดี รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกันได้กล่าวหาว่า อิหม่าม เฟต ฮูลเลาะห์ กูเลน ผู้นำอิสลามิสต์ชาวตุรกี อายุ 77 ปีซึ่งลี้ภัยในสหรัฐเป็นผู้บงการ แต่ฝ่ายอิหม่าม กูเลน ซึ่งเคยเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับประธานาธิบดี รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน ก่อนที่จะกลายเป็นศัตรูกันกลับยืนหยัดปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวและโต้กลับว่า ประธานาธิบดี รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน เป็นผู้จัดฉากการก่อรัฐประหารเพื่อเสริมสร้างอำนาจ  เพราะการทำรัฐประหารได้ช่วยให้นาย เออร์โดกัน ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน หลังจากที่ผ่านมาได้ถูกประชาชนตำหนิอย่างหนัก
ทั้งนี้ สิ่งสิ่งที่น่าวิตกกังวลมากที่สุดในปัจจุบันก็คือความวุ่นวายหลังการก่อกบฎได้ยุติลงแล้วหรือไม่ หรืออาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของความไร้เสถียรภาพระยะยาวในประเทศที่ถูกถือว่า มีเสถียรภาพในภูมิภาค
หลังการทำรัฐประหาร หนึ่งในความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดของประธานาธิบดี รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน คือต้องพิจารณาและทบทวนใหม่นโยบายบริหารประเทศถ้าอยากรักษาเสถียรภาพของทางการต่อไป ในเวลาที่จะถึง ทางการตุรกีจะต้องเผชิญการคัดค้านอย่างรุนแรงจากพรรคกรรมกรชาวเคิร์ตหรือ PKK นอกจากนั้น การที่นาย รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน ตั้งใจฟื้นฟูโทษประหารชีวิตและเดินหน้ายุทธนาการกวาดล้างฝ่ายตรงข้ามจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับฝ่ายตะวันตกจะเลวร้ายต่อไป นาย รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน จะต้องเผชิญกับกระแสตำหนิว่า เขาได้ใช้อำนาจเกินกว่าขอบเขต ซึ่งหมายความว่า เส้นทางเพื่อให้ตุรกีเข้าเป็นสมาชิกของอียูจะไม่เป็นไปอย่างราบรื่น
หลังการก่อกบฎ ตุรกีจะสามัคคีมากขึ้นหรือถูกแบ่งแยกมากขึ้น คำตอบของคำถามนี้ยังอยู่ในมือของผู้นำตุรกี ตุรกีจะต้องถอดบทเรียนจากการก่อกบฎครั้งที่ผ่านมา และประชาคมโลกกำลังรอดูว่า นาย รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน จะใช้โอกาสนี้เพื่อสมานรอยแผลทางการเมือง สร้างความสามัคคีประชาชาติอย่างไรเพื่อยกระดับบทบาทของตุรกีให้ยิ่งใหญ่มากขึ้นในภูมิภาค.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด