รายงานที่เต็มไปด้วยอคติและขาดภาวะวิสัยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในเวียดนาม

(VOVworld)-วันที่18เมษายน สภายุโรปได้ออกมติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของเวียดนามโดยเสนอข้อมูลและให้ข้อสังเกตุว่าเวียดนามละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ต่อจากนั้น รายงานประจำปีเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนปี2012ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐที่ประกาศหลังจากนั้นเพียง1วันก็ได้มีส่วนระบุข้อมูลที่ผิดพลาดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเวียดนาม ซึ่งนับเป็นเนื้อหาที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริงและมีลักษณะยัดเยียดในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไม่สอดคล้องกับแนวโน้มการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับสหรัฐและสหภาพยุโรป

(VOVworld)- วันที่18เมษายน สภายุโรปได้ออกมติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของเวียดนามโดยเสนอข้อมูลและให้ข้อสังเกตุว่าเวียดนามละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ต่อจากนั้น รายงานประจำปีเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนปี2012ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐที่ประกาศหลังจากนั้นเพียง1วันก็ได้มีส่วนระบุข้อมูลที่ผิดพลาดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเวียดนาม ซึ่งนับเป็นเนื้อหาที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริงและมีลักษณะยัดเยียดในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไม่สอดคล้องกับแนวโน้มการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับสหรัฐและสหภาพยุโรป
รายงานที่เต็มไปด้วยอคติและขาดภาวะวิสัยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในเวียดนาม - ảnh 1

ในมติยาว6หน้า สภายุโรปได้กล่าวว่าเวียดนามจับกุมคุมขังและเปิดศาลดำเนินคดีอย่างไม่ยุติธรรมต่อบล๊อคเกอร์เวียดนามหลายคนพร้อมยกตัวอย่างชื่อของเหงวียนวันหาย ตะฟองเติ่นหรือฟานแทงหาย เป็นต้น ซึ่งเป็นบุคคลที่ถูกตัดสินจำคุกข้อหาโฆษณาชวนเชื่อเพื่อต่อต้านรัฐเวียดนาม และว่าเวียดนามควบคุมสื่ออินเตอร์เนตและบล๊อคซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้สิทธิแสดงความเห็นอย่างเปิดเผยของประชาชน ส่วนในรายงานของกระทรวงการต่างประเทศนั้นก็มักเน้นสะท้อนให้เห็นถึงอคติทางการเมืองที่เกิดจากข้อมูลที่ถูกปั้นแต่งโดยเจตนาที่มุ่งยัดเยียดว่าเวียดนาม เป็นรัฐเผด็จการ ที่สิทธิทางการเมือง สิทธิเสรีภาพด้านศาสนาและแสดงความคิดเห็นถูกจำกัด แต่ในทางเป็นจริงขณะที่สหรัฐให้ตัวเองมีสิทธิวิจารณ์ตำหนิปัญหาสิทธิมนุษยชนของประเทศอื่นๆรวมทั้งเวียดนามนั้น ทางการสหรัฐกลับเมินเฉยต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงในประเทศตน เพราะใครๆก็เห็นได้ว่าในชีวิตสังคมสหรัฐสิทธิมนุษยชนก็เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ชาวอเมริกันต้องการแก้ไข โดยเฉพาะปัญหาอาชญากรรมที่ใช้อาวุธกำลังเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนสหรัฐ แต่เนื่องจากถูกคลอบงำด้วยอิทธิพลด้านผลประโยชน์ของกลุ่มการเมืองบางกลุ่มจึงไม่สามารถมีมาตรการควบคุมอาวุธปืนได้อย่างมีประสิทธิภาพและผลที่ตามมาก็คือจำนวนผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจากเหตุคนร้ายกราดยิงประชาชนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นได้เพิ่มขึ้นทุกปี ตามข้อมูลที่รวบรวมมาได้ สหรัฐจัดอยู่อันดับ1ด้านจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุใช้ความรุนแรงในกลุ่ม17ประเทศที่พัฒนา นอกจากนี้ สถานการณ์ความอดอยากยากจนในสหรัฐก็อยู่ในภาวะที่ย่ำแย่มากขึ้นนับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกปี2008โดยช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนก็นับวันขยายกว้างขึ้น ตลอดจนประเทศสหรัฐเองได้เป็นผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศอื่นๆโดยการแทรกแซงอธิปไตยด้านความมั่นคงแห่งชาติ ขอยกตัวอย่างเช่นสงครามต่อต้านการก่อการร้ายที่สหรัฐประกาศในอิรักและอัฟกานิสถานตั้งแต่ปี2001-2011 ได้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นหมื่นเป็นแสนคนต่อปีและเรื่องนี้ก็ถูกประเทศอื่นติติงคัดค้านจนทำให้สหรัฐถูกปลดออกจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในที่ประชุมครั้งที่57แห่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนที่จัดขึ้น ณ เมืองเจนีวาเมื่อปี2011

ทั้งนี้เมื่อกลับไปวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในเวียดนามที่ระบุในรายงานของสหรัฐและมติของสภายุโรปนั้น เราสามารถยืนยันได้ว่า ในเวลาที่ผ่านมาเวียดนามได้ประสบผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่และน่าภาคภูมิใจในการค้ำประกันการปฏิบัติสิทธิมนุษยชนในชีวิตทั้งด้านพลเรือน การเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมสังคม  นั่นคือการบรรลุเป้าหมายต่างๆแห่งสหสวรรษ การลดอัตราครอบครัวที่ยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกด้าน ปฏิบัติอนุสัญญาเกี่ยวกับการค้ำประกันสิทธิของสตรีและเด็กอย่างมีประสิทธิผล ตลอดจนดัชนีการพัฒนามนุษย์ของเวียดนามได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีมานี้  ในรายงานการพัฒนามนุษย์ปี2013ที่โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประกาศเมื่อวันที่17เมษายนก็ได้ระบุให้เวียดนามอยู่อันดับ3ในกลุ่มอาเซียนและอันดับ48ของโลกด้านดัชนีความเสมอภาคทางเพศ ส่วนภาคปฏิบัติ สิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆของพลเมืองเวียดนามไม่ว่าจะเป็นสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพสื่อมวลชน การแสดงความเห็น เป็นต้นต่างถูกระบุชัดและได้ค้ำประกันในกฎหมายและรัฐธรรมนูญของเวียดนาม ดังนั้นกรณีที่เป็นส่วนน้อยต่างๆที่รายงานและมติของสหรัฐกับสภายุโรปได้ยกตัวอย่างไม่สามารถถือเป็นตัวอย่างของปัญหาสิทธิมนุษยชนในเวียดนามและนี่คือข้อมูลที่ขาดภาวะวิสัย

ในทางเป็นจริงระหว่างเวียดนามกับสหรัฐและสหภาพยุโรปเช่นเดียวกันกับระหว่างสหรัฐและสหภาพยุโรปกับอีกหลายประเทศทั่วโลกกำลังมีช่องว่างด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งมาจากหลายสาเหตุด้วยกันทั้งความแตกต่างทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และระดับการพัฒนาและการปฏิบัติสิทธิมนุษยชนต้องอาศัยเงื่อนไขที่เป็นจริงในแต่ละประเทศ ดังนั้นหากมองปัญหาทั้งในกรอบของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือตามมุมมองอธิปไตยของแต่ละประเทศแล้ว จะไม่มีประเทศใดที่สามารถอ้างตนเป็นตัวอย่างด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับประเทศอื่น และในกรณีนี้ทั้งสหรัฐและสภายุโรปต่างมีความผิดพลาดเมื่อยัดเยียดมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศตนต่อเวียดนาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับกระบวนการกระชับการสนทนาเพื่อความเข้าใจในปัญหานี้ระหว่างเวียดนามกับฝ่ายต่างๆ ขัดขวางการพัฒนาความสัมพันธ์ในทุกด้านระหว่างเวียดนามกับสหรัฐและสหภาพยุโรป./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด