(VOVWORLD) - การที่อิสราเอลและสองประเทศอาหรับคือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือ UAE และบาห์เรนลงนามข้อตกลงปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติ ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐเมื่อวันที่ 15 กันยายนได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากประชามติโลกมากกว่าวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเรื่องอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่นมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่หรือการประชุมสุดยอดจีน-อียูผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง โดยเหตุผลคือเหตุการณ์นี้ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงของภูมิรัฐศาสตร์ ในตะวันออกกลางเป็นอย่างมากซึ่งเป็นหนึ่งในจุดร้อนของโลกมาหลายทศวรรษ
ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ กับนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู รัฐมนตรีต่างประเทศบาห์เรน และรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในพิธีลงนามข้อตกลงปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติ (AP) |
พิธีลงนามข้อตกลงสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือ UAE และบาห์เรนมีผู้เข้าร่วมเกือบ 200 คนภายใต้อำนวยการของประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ณ ทำเนียบขาว โดยนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู ได้ลงนามข้อตกลงปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติ 2 ฉบับกับรัฐมนตรีต่างประเทศบาห์เรน Abdullatif Bin Rashid Al Zayani และรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เชค อับดุลลาห์ บิน ไซอิด อัล นะฮ์ยาน (Sheikh Abdullah Bin Zayed Al Nahyan) ซึ่งทำให้ UAE และบาห์เรนกลายเป็นประเทศอาหรับลำดับที่ 3 และ 4 ที่ลงนามข้อตกลงปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติกับอิสราเอล ต่อจากอียิปต์ที่ลงนามข้อตกลงปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติกับอิสราเอลเมื่อปี 1979 และจอร์แดนที่ลงนามข้อตกลงปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติกับอิสราเอลเมื่อปี 1994 ในการกล่าวปราศรัยในพิธี ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ชื่นชมว่า นี่คือก้าวเดินอันยิ่งใหญ่เพื่อมุ่งสู่อนาคตที่ประชาชนทุกคนจากทุกศาสนาและชาติพันธุ์จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติและมั่งคั่ง ผู้นำสหรัฐแสดงความเห็นว่า เหตุการณ์นี้จะเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางประวัติศาสตร์ เปิดรุ่งอรุณใหม่ให้ภูมิภาคตะวันออกกลางภายหลังต้องอยู่ในความแตกแยกและการปะทะมานานหลายทศวรรษ โดยเฉพาะ ประธานาธิบดีสหรัฐได้ยืนยันว่า ต่อจาก UAE และบาห์เรน จะมีอีกหลายประเทศอาหรับที่พร้อมปรับความสัมพันธ์กับอิสราเอลให้เป็นปกติ
ชัยชนะของหลายฝ่าย
ตามความเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ ความสำเร็จในการเป็นคนกลางของข้อตกลงปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติระหว่างอิสราเอลกับประเทศอาหรับนั้นถือเป็นชัยชนะทางการทูตที่สำคัญของนาย โดนัลด์ ทรัมป์ในฐานะผู้สร้างสันติภาพขณะที่เหลือเวลาอีกไม่ถึง 50 วันก็จะถึงวันจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ อีกทั้งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลและความสามารถในการระดมพลังของสหรัฐในภูมิภาคที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นและยืนยันถึงคำมั่นของวอชิงตันต่อการรักษาผลประโยชน์ของพันธมิตรในภูมิภาค
สำหรับอิสราเอล การมุ่งลงนามข้อตกลงกับประเทศในกลุ่มอาหรับที่เคยเป็นศัตรูนั้นก็หมายความว่า อิสราเอลนับวันยืนยันถึงสถานะและทำลายการถูกโดดเดี่ยวในภูมิภาค อีกทั้งอาจจะมีกำลังสนับสนุนมากขึ้น หรืออย่างน้อยก็จะไม่เพิ่มประเทศที่เป็นศัตรูในการเผชิญหน้ากับอิหร่าน ซึ่งเป็นประเทศมุสลิมที่เคยประกาศหลายครั้งว่า “จะไม่มีวันอยู่ร่วมกับอิสราเอล” และต้องการทำลายอิสราเอล
ในทำนองเดียวกัน สำหรับ UAE ซึ่งเป็นประเทศที่มีทั้งศักยภาพและความทะเยอทะยานในภูมิภาคนี้ การลงนามข้อตกลงปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติกับอิสราเอลไม่เพียงแต่เพื่อยืนยันถึงความสัมพันธ์ที่ดีงามกับสหรัฐเท่านั้น หากยังเพื่อสนับสนุนผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่อื่นๆด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ การเมืองและการทูตอีกด้วย
ก่อนและหลังจากข้อตกลงดังกล่าวได้รับการลงนาม หลายประเทศในภูมิภาคได้ชื่นชมและแสดงการสนับสนุน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาร่วมมือและแนวโน้มแห่งการไกล่เกลี่ยกำลังได้รับความสนใจในตะวันออกกลาง
ชาวปาเลสไตน์คัดค้านข้อตกลงระหว่างอิสราเอลกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือ UAE และเบห์ราน (AP) |
สถานการณ์ยากที่จะคาดเดาได้
แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ก็ไม่หมายความว่า ตะวันออกกลางจะมีสันติภาพและเสถียรภาพได้โดยเร็ว เพราะสถานการณ์ทางประวัติศาสตร์มีความผันผวนอย่างซับซ้อนพร้อมกับผลประโยชน์ที่มีการผสานกันและความผูกพันระหว่างองค์การและนิติบุคคลต่างๆในภูมิภาคและโลกคือปัญหาที่ประชาคมระหว่างประเทศไม่สามารถแก้ไขได้มานานหลายทศวรรษ
ขณะเดียวกัน การบรรลุข้อตกลงระหว่างอิสราเอลกับประเทศอาหรับก็ไม่ใช่สิ่งที่ทุกประเทศในภูมิภาคนี้รอคอย เพราะในหลายวันมานี้ ทางการรัฐปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลางได้ออกมาคัดค้านข้อตกลงอย่างต่อเนื่อง โดยถือว่า นี่คือการทรยศต่อภารกิจของชาวปาเลสไตน์ ส่วนอิหร่านและตุรกีก็ตำหนิข้อตกลงนี้อย่างรุนแรง และเตือนถึงผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสันติภาพในภูมิภาค ซึ่งสำหรับอิหร่านนั้นบรรดานักวิเคราะห์ได้แสดงความเห็นว่า ประเทศนี้จะระดมกองกำลังเพื่อต่อต้านแรงกดดันและการถูกโดดเดี่ยวจากสหรัฐ อิสราเอลและพันธมิตรในภูมิภาค ซึ่งจะทำให้การเผชิญหน้าในตะวันออกกลางอาจรุนแรงมากขึ้น
จนถึงขณะนี้ ซาอุดิอาระเบียยังคงยืนกรานทัศนะคือสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ ตลอดจนความพยายามต่างๆเพื่อบรรลุมาตรการที่ยุติธรรมและรอบด้านให้แก่ปัญหาของปาเลสไตน์ โดยรัฐบาลซาอุดิอาระเบียยืนยันว่า จะอยู่เคียงข้างกับชาวปาเลสไตน์และสนับสนุนทุกความพยายามเพื่อมุ่งสู่มาตรการที่ยุติธรรมและรอบด้านคือชาวปาเลสไตน์จะมีรัฐที่อิสระด้วยเส้นแบ่งพรมแดนเมื่อปี 1967 และมีเมืองหลวงคือเยรูซาเลมตะวันออก ซึ่งสอดคล้องกับมติที่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศและข้อคิดริเริ่มสันติภาพแห่งอาหรับ
ด้วยสถานการณ์ที่เป็นจริงนี้ บรรดาผู้สังเกตการณ์แสดงความเห็นว่า สถานการณ์ทางการเมืองในตะวันออกกลางในเวลาที่จะถึงจะยังคงมีการผันผวนอย่างซับซ้อนและยากจะคาดเดาได้./.