สหประชาชาติส่งเสริมเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศให้แก่การประชุม COP29

(VOVWORLD) - ในระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 13 มิถุนายน สหประชาชาติได้จัดการประชุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี โดยมีผู้แทนประมาณ 6,000 คนจาก 198 ประเทศและดินแดน พร้อมผู้แทนขององค์กรระหว่างประเทศและสมาคมประชาสังคมหลายแห่งเข้าร่วม นี่คือการประชุมระยะกลางเพื่อประเมินการปฏิบัติตามคำมั่นเกี่ยวกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในโลกปัจจุบัน อีกทั้ง จัดทำเป้าหมายที่ทะเยอทะยานใหม่ให้แก่การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ UNFCCC ครั้งที่ 29  - COP29 ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ ณ ประเทศอาเซอร์ไบจาน
สหประชาชาติส่งเสริมเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศให้แก่การประชุม COP29 - ảnh 1การประชุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี (Euronews)

การประชุมครั้งนี้มีความหมายสำคัญต่อความพยายามในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกเพราะ เป็นเวทีประจำปีเพียงเวทีเดียวเกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าวที่จัดโดย UNFCCCนอกจากการประชุมสุดยอด COP ประจำปี  

เน้นประเด็นการเงินเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ในการประชุม ฯ ที่มีขึ้นเป็นเวลา 10 วัน บรรดาผู้แทนได้ประเมินความคืบหน้าในการปฏิบัติตามคำมั่นด้านสภาพภูมิอากาศที่ได้รับการอนุมัติในการประชุม COP28 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้วที่ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือ UAE และระบุเนื้อหาที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ และการจัดทำระเบียบวาระการประชุมเพื่อเจรจาในการประชุม COP29 ในปลายปีนี้ ณ กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน โดยหนึ่งในหัวข้อหลักในการประชุม ณ เมืองบอนน์ คืองบประมาณด้านสภาพภูมิอากาศ โดยกำหนดเป้าหมายและตัวเลขการสนับสนุนทางการเงินของประเทศที่พัฒนาแล้วให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนกลไกของการสนับสนุนเหล่านี้ภายใต้รูปแบบการอุดหนุนหรือการช่วยเหลือด้านเงินกู้ การกำหนดเป้าหมายและกลไกนี้อย่างชัดเจนในการประชุมดังกล่าวจะช่วยเพิ่มโอกาสในการบรรลุข้อตกลงฉบับใหม่ที่มีลักษณะเป็นก้าวกระโดดด้านการเงินเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ การประชุม COP29 ในสภาวการณ์ที่มีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการขาดคำมั่นด้านการเงินสำหรับการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในช่วงหลังปี 2025 นาย ไซมอน สติลล์  กรรมการบริหาร UNFCCC เผยว่า

“เงินอุดหนุนใหม่และรูปแบบการจัดสรรเงินทุนด้วยดอกเบี้ยต่ำให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาต้องมีความผูกพันกับการปฏิรูประบบการเงินโลก ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระหนี้ให้แก่ประเทศต่างๆ จัดสรรเงินทุนที่เหมาะสมและแสวงหาแหล่งเงินทุนใหม่ๆ ที่มีความคิดสร้างสรรค์มากกว่ากระบวนการแบบเดิมๆ เรายังต้องสร้างตลาดคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากสามารถสร้างรายได้ให้แก่โครงการด้านสภาพภูมิอากาศของประเทศต่างๆ มากขึ้น”

สำหรับปัญหาการเงิน การหารือเกี่ยวกับกองทุนชดเชยความเสียหายและความสูญหายก็เป็นหนึ่งในเนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆ โดย กองทุนนี้เริ่มมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในการประชุม COP28 แต่ปัจจุบัน กลไกการดำเนินงานยังคงเป็นเรื่องที่สร้างความถกเถียงกันอยู่ เพราะธนาคารโลกหรือ WB ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารกองทุน ส่วนประเทศพัฒนาแล้วกลับไม่จำเป็นต้องมีหน้าที่สนับสนุนเงินทุนภาคบังคับ โดยประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศแสดงความเห็นว่า การดำเนินการนี้จะทำให้กองทุนฯไม่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ในกรอบการประชุมบอนน์ยังมีการจัดการเจรจารอบสุดท้ายของ “การสนทนากลาสโกว์”เกี่ยวกับการป้องกัน ลดและการแก้ไขความสูญเสียและความเสียหายเนื่องจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเริ่มดำเนินการในการประชุม COP26 เมื่อปี 2021 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ ดังนั้น ทุกฝ่ายยังตั้งความหวังที่จะอนุมัติข้อตกลงใหม่เกี่ยวกับการระดมทุนและการดำเนินงานของกองทุนตามแนวทางที่ครอบคลุมและมีข้อผูกมัดทางนิตินัยที่เข้มงวดมากขึ้น

อีกประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆ ในการประชุม ณ เมืองบอนน์ คือการแปรคำมั่นในการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งถือเป็นผลงานที่โดดเด่นที่สุดของการประชุม COP28 ต่อกลไกการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดหรือ NDC ของประเทศต่างๆ ซึ่งจะต้องยื่น NDC ใหม่ให้แก่สหประชาชาติในต้นปีหน้า

สหประชาชาติส่งเสริมเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศให้แก่การประชุม COP29 - ảnh 2นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ (THX)

เร่งผลักดันการยกเลิกการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

ถึงแม้ว่าประเด็นการเงินด้านสภาพภูมิอากาศได้รับการคาดการณ์ว่า จะเป็นหัวข้อหลักในการประชุม COP29 ในปลายปีนี้ ณ ประเทศอาเซอร์ไบจาน แต่ในการประชุม ณ เมืองบอนน์ และกิจกรรมต่างๆด้านสภาพภูมิอากาศเมื่อเร็ว ๆ นี้ แรงกดดันในการเร่งยกเลิกการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลก็ปรากฎเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่มีการเผยแพร่รายงานทางวิทยาศาสตร์ใหม่หลายฉบับที่แสดงให้เห็นว่า อุณหภูมิโลกยังคงเพิ่มขึ้นจนอยู่ในอัตราที่น่าตกใจ ตัวอย่างคือเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกหรือ WMO ได้ประกาศรายงานที่แสดงให้เห็นว่า ในช่วง 5 ปีข้างหน้า มีความเป็นไปได้สูงถึงร้อยละ 80 ที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะสูงกว่าปกติอย่างน้อย 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม ซึ่งสูงเกินกว่าเป้าหมายที่ประเทศต่างๆ กำหนดไว้ในข้อตกลงปารีสปี 2015 ที่มุ่งป้องกันไม่ให้โลกร้อนเกิน 1.5 องศาเซลเซียสภายในปลายศตวรรษนี้ ในขณะเดียวกันหน่วยงานติดตามสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัสของสหภาพยุโรปยังเผยว่า เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเป็นเดือนที่ร้อนที่สุด และเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกันที่สร้างสถิติใหม่ อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่แล้วถึงเดือนพฤษภาคมปีนี้เพิ่มขึ้น 1.63 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม จากสถานการณ์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้เรียกร้องให้โลกยุติการโฆษณาเชื้อเพลิงฟอสซิล และเร่งกระบวนการกำจัดเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปฎิกิริยาเรือนกระจกและทำให้โลกร้อนขึ้น และย้ำว่าเป้าหมายในการปกป้องโลกไม่ให้ร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสเป็นปัจจัยมีความหมายชี้ขาดต่อหลายประเทศและชุมชน

“ความแตกต่างระหว่าง 1.5 องศาเซลเซียสและ 2 องศาเซลเซียสอาจหมายถึงการทำลายล้างหรือการอยู่รอดของประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ และชุมชนชายฝั่ง เป็นความแตกต่างระหว่างการลดภัยพิบัติทางสภาพอากาศ หรือการฟันฝ่าภาวะที่เป็นอันตราย ดังนั้น ตัวเลข 1.5 องศาเซลเซียสจึงไม่ใช่เป้าหมาย หากต้องถือเป็นขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก”

ตามความเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศ แม้ว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบันจะเป็นศูนย์ แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะยังคงสร้างความเสียหายอย่างน้อย 38 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีภายในปี 2050 ซึ่งตัวเลขความเสียหายนี้มากกว่างบประมาณ 2 ล้าน 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับให้ประเทศกำลังพัฒนายุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและปรับตัวเข้ากับภาวะโลกร้อนภายในปี 2030.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด