สหรัฐยืนหยัดสร้างสรรค์ “ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง”

(VOVWORLD) -เมื่อเร็วๆนี้ ทางการของประธานาธิบดี โจ ไบเดนได้ประกาศยุทธศาสตร์ใหม่เกี่ยวกับการผลักดันภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเพื่อยืนยันความสำคัญของภูมิภาคนี้ ซึ่งสารของสหรัฐและกลุ่ม 4 ฝ่ายแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการสร้างสรรค์ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างในหลายด้าน รวมถึงความมั่นคงและเศรษฐกิจ

สหรัฐยืนหยัดสร้างสรรค์ “ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง” - ảnh 1ประธานาธิบดี โจ ไบเดน (Photo: global.chinadaily.com.cn)

สหรัฐประกาศยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกใหม่ในสภาวการณ์ที่กำลังพยายามเพิ่มอิทธิพลในภูมิภาค ซึ่งแสดงให้เห็นผ่านการเยือนญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลีและบางประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกของรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ แอนโทนี บลิงเคน

เนื้อหาหลักของยุทธศาสตร์ใหม่

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ทำเนียบขาวได้ประกาศยุทธศาสตร์รวม 12 หน้า  โดยย้ำถึงคำมั่นยืนหยัด “ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง”ผ่านการสร้างสรรค์พันธมิตรที่เข้มแข็งมากขึ้น ผลักดันความสัมพันธ์หุ้นส่วนใหม่และลงทุนมากขึ้นในภูมิภาค ในแผนการที่จะได้รับการปฏิบัติในอีก 1- 2ปีข้างหน้า ทางการประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดนได้เผยว่า จะผลักดันการสกัดกั้นมาตรการทางทหารที่มุ่งเป้ามายังสหรัฐฯและกลุ่มประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯในภูมิภาค พร้อมทั้งส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคอื่นๆ

การประกาศยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีขึ้นประจวบกับโอกาสการเยือนประเทศต่างๆในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกของรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐเพื่อย้ำถึงประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆของสหรัฐต่อภูมิภาคนี้ โดยเจตนารมณ์เพื่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างยังถูกระบุอย่างชัดเจนในแถลงการณ์ร่วมหลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่ม 4 ฝ่าย ณ เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์   โดยมีการเข้าร่วมของนาง มาริส เพย์น  รัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลีย นาย แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ นาย สุพรหมณยัม ชัยศังกระ รัฐมนตรีต่างประเทศอินเดียและนาย โยชิมาสะ ฮายาชิ รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น 

ในแถลงการณ์ร่วมนี้ กลุ่ม 4 ฝ่ายได้ยืนยันถึงความตั้งใจผลักดันความร่วมมือกับหุ้นส่วนต่างๆในภูมิภาคผ่านการเพิ่มทักษะความสามารถ การช่วยเหลือด้านเทคนิค การค้ำประกันเสรีภาพในการเดินเรือและการบิน การรับมือกับความท้าทายต่างๆ เช่น การจับปลาอย่างผิดกฎหมาย ผลักดันการรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงของสายการสื่อสารทางทะเล

 การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์และความท้าทายต่อภูมิภาค

ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกมีสามเศรษฐกิจรายใหญ่ที่สุดของโลกคือสหรัฐ จีนและญี่ปุ่น มี  7ตลาดในจำนวน 8 ตลาดที่พัฒนาอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก เช่นอินเดีย จีน บังกลาเทศ ติมอร์เลสเตและปาปัวนิวกินี มี7 ประเทศใน 10 ประเทศที่มีกองทัพเข้มแข็งที่สุดในโลกคือสหรัฐ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ปากีสถานและออสเตรเลีย นอกจากนี้ ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกยังเป็นภูมิภาคที่มีการแข่งขันทางยุทธศาสตร์ด้านภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ จึงมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นจุดร้อน เนื่องจากภูมิภาคนี้นับวันมีสถานะสำคัญเชิงภูมิศาสตร์  ประเทศมหาอำนาจในโลกต่างมีการปรับปรุงยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มอิทธิพลและปกป้องผลประโยชน์ในภูมิภาค

การประกาศยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของทางการประธานาธิบดีโจ ไบเดน เพื่อย้ำถึงบทบาทที่สำคัญด้านภูมิศาสตร์เศรษฐศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมืองของภูมิภาคนี้   ควบคู่กันนั้น ในเวลาที่ผ่านมา ได้เกิดภัยคุกคามต่างๆ เช่น การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19  การชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน ภัยคุกคามด้านความมั่นคง การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งทำให้บทบาทของภูมิภาคได้รับความสนใจมากขึ้น

บรรดาผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า บรรดาประเทศมหาอำนาจในโลกกำลังเสริมสร้างความร่วมมือพหุภาคีเพื่อค้ำประกันผลประโยชน์ร่วมของประชาคมโลก เปิดโอกาสเพื่อเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค แต่อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์นี้ก็สร้างความท้าทายต่อทุกประเทศในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก รวมทั้ง ประเทศที่กำลังพัฒนา ดังนั้น เมื่อเข้าร่วมความร่วมมือในภูมิภาค ต้องมียุทธศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่อใช้โอกาสและค้ำประกันผลประโยชน์ของประเทศ ลดผลกระทบจากการแข่งขันด้านผลประโยชน์ระหว่างประเทศมหาอำนาจ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด