สหรัฐและความพยายามแต่เพียงฝ่ายเดียวในปัญหานิวเคลียร์อิหร่าน

(VOVWORLD) - ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้ ปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านได้กลับมาเป็นประเด็นที่สร้างความสนใจจากประชาคมโลกอีกครั้ง เพราะเหตุผลมาจากการเยือนอิหร่านของผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือไอเออีเอ ราฟาเอล มาริโน กร็อซซี(Rafael Mariano Grossi) โดยเฉพาะการเพิ่มแรงกดดันแต่เพียงฝ่ายเดียวของสหรัฐต่ออิหร่าน
สหรัฐและความพยายามแต่เพียงฝ่ายเดียวในปัญหานิวเคลียร์อิหร่าน - ảnh 1นาย ไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนหลังการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับการคว่ำบาตรอิหร่านเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ณ นครนิวยอรค์ ประเทศสหรัฐ (REUTERS - MIKE SEGAR) 

ประเด็นที่สำคัญของปัญหานี้คือ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ไมค์ ปอมเปโอ ได้ไปยังสำนักงานของสหประชาชาติในนครนิวยอร์คเพื่อมอบจดหมายเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติใช้กลไก “Snapback” เพื่อรื้อฟื้นมาตรการคว่ำบาตรของสหประชาชาติต่ออิหร่านอีกครั้งด้วยข้อกล่าวหาว่า อิหร่านไม่ปฏิบัติตามคำมั่นเกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์ ซึ่งเป็นก้าวเดินที่อาจทำให้ข้อตกลงนิวเคลียร์ที่ได้รับการลงนามระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี 5+1 หรือที่ยังเรียกว่าแผนปฏิบัติการร่วมในทุกด้านหรือ JCPOA เมื่อปี 2015 ประสบความล้มเหลว

“Snapback” และความพยายามแต่เพียงฝ่ายเดียวของสหรัฐ

“Snapback” คือกลไกที่อนุญาตให้ทุกประเทศของกลุ่มพี 5+1 ประกอบด้วย 5 ประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเยอรมนีมีสิทธิเสนอให้รื้อฟื้นทุกมาตรการคว่ำบาตรของสหประชาชาติต่ออิหร่านถ้าหากอิหร่านไม่ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้ในข้อตกลง หลังจากได้รับข้อเสนออย่างเป็นทางการ ประเทศสมาชิกอื่นๆในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีเวลา 10 วันเพื่อตัดสินใจ ซึ่งในกรณีที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติไม่สามารถมีการตัดสินใจได้ตามกรอบเวลาที่กำหนด การคว่ำบาตรอิหร่านจะถูกดำเนินการโดยอัตโนมัติหลังจากนั้น 20 วันและตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ มีความเป็นไปได้สูงที่เรื่องจะเกิดขึ้นตามแนวทางนี้ เพราะสหรัฐมีสิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ที่สามารถปิดปฏิเสธทุกร่างมติที่ไม่อยู่ในเจตจำนงของวอชิงตัน

สหรัฐตัดสินใจมีก้าวเดินดังกล่าวภายหลัง 1 สัปดาห์หลังจากไม่สามารถอนุมัติมติเพื่อขยายระยะเวลาคว่ำบาตรอาวุธต่ออิหร่านในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า วอชิงตันตั้งใจใช้มาตรการที่แข็งกร้าวต่ออิหร่าน แต่ความพยายามแต่เพียงฝ่ายเดียวของสหรัฐในปัญหานิวเคลียร์อิหร่านขัดกับทัศนะของประเทศอื่นๆ รวมทั้งพันธมิตรของสหรัฐ

ท่าทีที่เข้มแข็งของประเทศต่างๆ

ภายหลังที่สหรัฐเสนอให้เปิดใช้กลไก “Snapback” หลายประเทศได้ออกมาคัดค้านทันที โดยในจดหมายที่ส่งถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกคัดค้านการกระทำของสหรัฐ โดยย้ำว่า วอชิงตันไม่มีสิทธิ์ใช้กลไก “Snapback” เพื่อคว่ำบาตรอิหร่าน

โดยเฉพาะ 3 ประเทศพันธมิตรเก่าแก่ของสหรัฐคืออังกฤษ เยอรมนีและฝรั่งเศสได้ออกแถลงการณ์ร่วมโดยยืนยันว่า จะไม่สนับสนุนข้อเรียกร้องดังกล่าวของสหรัฐ เนื่องจากวอชิงตันไม่มีอำนาจทางนิตินัยเพื่อเปิดใช้กลไก “Snapback” เพราะสหรัฐได้ถอนตัวออกจากข้อตกลง JCPOA เมื่อปี2018 และก่อนหน้านั้น กลุ่มพันธมิตรในยุโรปนี้ก็เป็นประเทศที่คัดค้านอย่างเข้มแข็งการตัดสินใจถอนตัวจาก JCPOA ของวอชิงตัน สถานการณ์ที่เป็นจริงนี้แสดงให้เห็นว่า สหรัฐยากที่จะโน้มน้าวให้พันธมิตรยุโรปสนับสนุนคำสั่งคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่ออิหร่านแม้กระทั้งในกรณีที่มีการใช้ “Snapback” ตามความตั้งใจของวอชิงตัน มิหนำซ้ำยังอาจทำให้ยุโรปและอิหร่านกระเถิบเข้าใกล้กันมากขึ้น ซึ่งจะทำลายแผนการโดดเดี่ยวเตหะรานของวอชิงตัน ตลอดจนเกิดผลลัพธ์ที่คาดเดาไม่ได้อื่น ๆ

เรื่องนี้อธิบายได้ว่า ทำไมแม้แต่ในสหรัฐก็ยังมีความคิดเห็นคัดค้านมาตรการแต่เพียงฝ่ายเดียวที่วอชิงตันกำลังดำเนินการในประเด็นนิวเคลียร์ของอิหร่าน โดยนาง Wendy R. Sherman หัวหน้าคณะเจรจาของสหรัฐในสมัยประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า ได้เตือนว่า วอชิงตันอาจทำให้อำนาจของตนอ่อนแอลงถ้าหากยึดมั่นท้าทายประเทศมหาอำนาจอื่น รวมทั้งพันธมิตรในปัญหานิวเคลียร์

สถานการณ์ในปัจจุบัน ทำให้บรรดานักวิเคราะห์ได้แสดงความเห็นว่า ยุโรปและประเทศอื่นๆจะยังคงธำรงการเจรจากับอิหร่านเพื่อค้ำประกันไม่ให้ข้อตกลงนิวเคลียร์ 2015 ล้มเหลวก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในเดือนพฤศจิกายนนี้ ด้วยความหวังว่า นโยบายของสหรัฐเกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านจะมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกหลังเหตุการณ์นี้./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด